ความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มาจำนวน 1 กลุ่ม จาก 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอด และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษา โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (the one group, pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  (t–test for Dependent)

     ผลการวิจัยพบว่า

  ความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
สตีมศึกษา สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และอยู่ในระดับดีมาก ( =36.79, คิดเป็น 91.98%, S.D.=1.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ทั้งด้าน 1) การบอกลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ( =8.86, คิดเป็น 88.60%, S.D.=0.86) 2) การจับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่าง ๆ ( =9.50, คิดเป็น 95.00%, S.D.=0.76) 3) การจำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ ( =9.36, คิดเป็น 93.60%, S.D.=0.63) และ 4) การเรียงลำดับสิ่งของและเหตุการณ์  ( =9.07, คิดเป็น 90.70%, S.D.=1.00)

อ่านต่อที่นี่