การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนานวัตกรรมอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (The Study of Ethnic Identity for Innovation Development of Woven Fabric, U-thong District, Suphanburi Province)

บทคัดย่อ
การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนานวัตกรรมจากผ้าทอในอำเภออู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและจำแนกอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อำเภออู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี 2) ส ารวจความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว และ 3)
วิเคราะห์ความเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยการสัมภาษณ์และจัดสนทนากลุ่มสมาชิกแต่ละชาติพันธุ์ลาวโซ่ง ลาว
เวียง และลาวครั่ง จ านวน 50 คน ในพื้นที่ตำบลบ้านโข้ง ตำบลอู่ทอง ตำบลดอนคา ตำบลบ้านดอน และ
ตำบลดอนมะเกลือ จากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จำแนกข้อมูลอัตลักษณ์และความ
เชื่อมโยงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของ
กลุ่มชาติพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า ลาวโซ่งหรือไทยทรงด ามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือการแต่งกายและทรงผม
ลาวเวียงและลาวครั่งมีอัตลักษณ์โดดเด่นคล้ายคลึงกันคือการแต่งกาย ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นตีนจก และพิธีกรรม
แสดงความเคารพบรรพบุรุษ ส่วนลาวเวียงมีประเพณี“ฮ่วม ฮุ่ม โฮม เฮียน” การแสดงดนตรีและประเพณี
บุญบั้งไฟ ชาติพันธุ์ลาวครั่งมีอัตลักษณ์ด้านการแต่งกาย ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่นตีนจกตัวซิ่นเป็นสีแดง สมาชิก
ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทของ
ใช้จากผ้าทอ ได้แก่กระเป๋าและหมอน หลังจากวิเคราะห์ความเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กับการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์
ต้องการความรู้ในการออกแบบและพัฒนาความสามารถในการตัดเย็บ รวมถึงอุปกรณ์ที่จ าเป็นในการแปร
รูปให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความประณีตมากกว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
คำสำคัญ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ นวัตกรรม สุพรรณบุรี

Abstract
The objective of this study was to 1) study and classify identity of ethnic groups in
U Thong District, Suphanburi Province, 2) explore readiness in the development of
innovative products to increase income for families, and 3) analyze the connection of
ethnic identity with the development of innovative products in line with the needs of
ethnic groups. The study was conducted by interviewing and organizing a discussion of 50
members of 3 ethnic groups; Lao Song, Laos Wiang and Laos Khrang in 5 sub-districts; Ban
Khong, U Thong, Don Kha, Ban Don, and Don Maklue. Content analysis by classifying
identity information and linking ethnic identity with the development of innovative
products in line with the needs of ethnic groups, it was found that Laos Song or Thai
Song Dam had distinctive characteristics which were dressing and hairstyle. Laos Wiang
and Laos Khrang had similar identities, namely dress code and rituals showing respect for
ancestors. Laos Wiang had a tradition of “Huom Hom Home Hian”, a musical performance
and the Bun Bang Fai tradition. Laos Khrang had identity in dressing, women wearing red
teenjok sarong. Members of all ethnic groups were ready to develop products from
woven fabrics including bags and pillows. After analyzing the connection between ethnic
identity and the development of innovative products in line with the needs of ethnic
groups, it was found that ethnic members needed knowledge in design and development
of sewing ability, including the equipment needed for processing to obtain a more refined
product than the equipment currently available.
Key words: Identity, Ethnic, Innovation, Suphanburi