แค่เปลี่ยนมุมมอง:แก้ปัญหาได้

แค่เปลี่ยนมุมมอง:แก้ปัญหาได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชลพร กองคำ
อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู
ผู้รับผิดชอบสาขาจิตวิทยาการปรึกษา
หลักสูตร วทม. คณะครุศาสตร์ มบส.
มนุษย์แต่ละคนมีความเป็นปัจเจกของตนเอง ที่แสดงให้เห็นว่าต่อเรามีเอกลักษณ์ลักษณะที่ไม่เหมือน
บุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตาก็จะได้รับการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ส่วนความคิด คุณธรรมจริยธรรม
พฤติกรรมการแสดงออก การมองโลก การมองตนเอง การมองบุคคลอื่น การแสดงออกทางอารมณ์การมี
ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและสังคม ล้วนก่อร่างสร้างตัวมาจากการอบรมเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่อยู่ทำให้
เกิดการเรียนรู้ที่จะปรับตัวในการดำเนินชีวิตในทุกช่วงวัยที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละช่วงของพัฒนาจะมีปัญหาอุปสรรคเข้า
มาขัดขวางทำให้บุคคลได้ใช้ศักยภาพความสามารถของตนเองมาแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลทางจิตใจ
แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกลมกลืนของสุขภาวะทางกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์ทุกคน ที่
ปรารถนาที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเอง และเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกคนที่จะนำพาความสุขให้เกิดขึ้นตามที่ตน
ต้องการ เมื่อมองเข้าไปในโลกภายใน(ภายใต้ภูเขาน้ำแข็งหรือ Ice berg) เข้าไปในตัวบุคคลจะพบเอกลักษณ์
บุคคลิกภาพ การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคาดหวัง ความต้องการ ความปรารถนา และตัวตน ถ้ามี
ความสอดคล้องกันก็จะเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากความทุกข์ใจที่ตนเองอาจก่อให้เกิดขึ้นจาก
ความคิด ความเชื่อ การปฏิบัติตนเอง ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเอง ซึ่งเป็นต้นเหตุของความทุกข์นั้น
แนวทางในการที่สร้างเกราะความสมดุลให้กับตนเองให้เป็นความสอดคล้องกันได้โดย
1. มีสติในการรับรู้ข้อเท็จจริง ความคิด ความรู้สึกอยู่กับปัจจุบัน รู้ทุกอิริยาบถที่ตนเองกำลังกระทำอยู่
2. มีการนำหลักศาสนาเข้ามาเป็นกรอบในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้หรือการเตือนตนเอง
ในการที่จะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่กระทำไปแล้วจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบทางด้านจิตใจตามมามีอิทธิพลต่อตนเอง
และบุคคลรอบข้าง ตัวอย่างเช่น หลักศาสนาพุทธที่ทุกคนควรจะนำมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาส่งเสริมตนเองให้อยู่ใน
หลักการและเป็นกรอบในการดำเนินชีวิตที่สมดุลจะทำให้ชีวิตมีสุขภาพจิตที่ดี โดยเฉพาะศีล 5 ประกอบไปด้วย ศีล
ข้อที่ 1 การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ศีลข้อที่ 2 การไม่ลักทรัพย์ผู้อื่น ศีลข้อที่ 3 ไม่ผิดในกาม ศีลข้อที่ 4 ไม่พูดเท็จ ศีลข้อ
ที่ 5 ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมา ซึ่งต้องมีการนำมาพิจารณาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของยุคสมัย เช่น
ศีลข้อ 5 นอกจากสุรายังมีสารเสพติด เกมส์ การพนัน ต่างๆ ที่ทำให้เกิดการมัวเมาลุ่มหลง จนขาดสติและทำให้
เกิดปัญหาตามมาทั้งด้านร่างกาย (เจ็บป่วย) จิตใจ (ป่วยทางจิตไม่สามารถควบคุมตนเองได้) สังคม เศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ในครอบครัว อันเนื่องมาจาก ขาดศีลข้อ 5 ซึ่งเมื่อพิจารณาจะพบว่าศีลทั้ง 5 ข้อเป็นการกระทำหรือ
ปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ทุกคนต้องเผชิญอยู่ ถ้าไม่มีหรือทำผิดกฎกติกาของสังคมจะส่งผลให้กลไกการทำงานทาง
จิตต้องปรับตัวให้จิตรู้สึกดี แต่ถ้าใช้กลวิธานทางจิตบ่อยเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะไม่สมดุลทางความคิด จิตใจ
อารมณ์และสังคม ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ใจเข้ามาครอบงำบุคคล ส่งผลให้เห็น จากการแสดงออกที่ผู้ผิดศีลธรรม
ประเพณีและกฎหมาย ซึ่งจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานของ Id, Ego, Superego ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
ซึ่งจะเด่นไปในลักษณะของการใช้Id หรือสัญชาตญาณ ความอยู่รอดของชีวิตไม่ได้คำนึงถึงบุคคลรอบข้าง ในความ
ส่วน Ego เป็นตัวตนตามความจริงมีเหตุผล ถ้า Ego ไม่แข็งแรงจะทำให้การปรับสมดุลระหว่าง Id, Ego, Superego
ได้ไม่เหมาะสม ก็จะขาดความเป็นตัวของตัวเอง สังคมไม่ยอมรับก่อให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้
ตัวอย่าง เมื่อบุคคลเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตจะพบว่าขาดความสอดคล้องกันในตนเอง จะมองเห็นคุณค่า
ในตนเองต่ำลง เกิดความทุกข์ใจ ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ไม่มีทางออก และมักจะคิดว่าตนเองหมดสิ้นหนทางแล้วที่จะ
แก้ปัญหาและขอจบชีวิตด้วยการคิดฆ่าตัวตาย แต่จริงๆแล้วถ้าบุคคลทุกคนที่อยู่ในภาวะเศร้าจะแสวงหาทางสว่าง
ได้โดยการปรับเปลี่ยนมุมมอง จากที่มองจุดๆเดียวที่เป็นปัญหาให้ย้ายไปมองบริบทสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างจะทำ
ให้ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นไปตามหลักทฤษฎีทางสติปัญญาของเกสตัล โดยใช้
หลักการภาพและพื้น (Figure and Ground) เมื่อเปลึ่ยนจุดที่มองก็จะทำให้ความคิด อารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนไป
จากเดิม
3. กรณีเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดที่บุคคลต้องรู้เท่าทันคือ การยอมรับปัญหานั้นๆ ก่อน จะทำ
ให้จิตใจสงบลง และมีสติมากขึ้นสมองจะทำหน้าที่หาข้อเท็จจริง หาเหตุผล และหาทางแก้ไขปัญหาได้
เอกสารอ้างอิง
อรทัย สงวนพรรค. (2561). การให้คำปรึกษาแบบเกสตัลท์. สระบุรี: โรงพิมพ์สระบุรี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). ประมวลสาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ มหาบัณฑิตการแนะแนว
หน่วยที่ 1-6. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.