การพัฒนาความคิดเชิงบวก

การพัฒนาความคิดเชิงบวก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชลพร กองคำ
อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู
ผู้รับผิดชอบสาขาจิตวิทยาการปรึกษา
หลักสูตร วทม. คณะครุศาสตร์ มบส.
การสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยความคิดเชิงบวก มีเทคนิคคล้ายคลึงกับเทคนิคการสร้างความสุขด้วยตนเอง
โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดทางจิตวิทยาเชิงบวก ประกอบด้วย การพัฒนาจุดแข็งของบุคคล และปรับวิธีการคิดให้เป็น
บวกร่วมกับการดูแลตนเองด้านสุขภาพกาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (ดาวประกาย มีบุญ, 2552; สุภาพร เทพยสุวรรณ
, 2556; Darshan, 2014; Holmes, 2016 อ้างถึงใน ดวงกมล ปิ่นเฉลียว,2559) 1) การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ
เป็นส่วนที่สัมพันธ์กัน หากร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย จิตใจจะแจ่มใส และการดูแลสุขภาพทางกายควรทำควบคู่กับ
การสร้างความสุขทางใจ เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยอาจออกกำลังกายอย่างน้อย
สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 2) ฝึกทำ
สมาธิ ทำจิตใจให้ว่าง: การฝึกทำสมาธิเป็นการทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีสติ สามารถเข้าใจตนเองและปรับปรุงตนเองได้
เสมอ เมื่อมีปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ จะสามารถพิจารณา ได้อย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่ปล่อย จิต
ตนเองไปตามอารมณ์ มีการศึกษาพบว่า คนที่นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มเป็นคนมอง โลกในแง่ดีมากกว่าคนที่
ไม่เคยนั่งสมาธิ เพราะการนั่งสมาธิเป็นการฝึกจิตใจให้ปล่อยวางความคิด ฝึกสมองไม่ให้คิดฟุ้งซ่าน รู้ทันอารมณ์ของ
ตัวเองว่ากำลังสุขหรือทุกข์ และถ้านั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันร่างกายและจิตใจก็จะไม่เก็บอารมณ์ทางลบหรือ เรื่องราว
ไม่ดีมาจำฝังใจ ส่งผลให้มีความคิดเชิงบวก มีความสุข จิตใจแจ่มใส 3) คิดในมุมกลับ หลักการคือไม่คิดแต่เพียงมุมมอง
ของตัวเอง แต่คิดมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย จะทำให้ลดความโกรธหรือความคับข้องใจลง เพราะการอยู่ร่วมกันมัก
ทำให้บุคคล คาดหวังในตัวผู้อื่นเสมอ ซึ่งเป็นความคิดในมุมของแต่ละคน ถ้าไม่เป็นตามที่คาดหวัง อารมณ์โกรธ ไม่
พอใจก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น จึงควรมองในมุมของผู้อื่นด้วย 4)คิดหลายมุม ด้วยการมองให้รอบด้าน อย่ามองเพียงด้าน
เดียว วิเคราะห์ให้เห็นถึงสาเหตุ ปัจจัยต่าง ๆ โดยคำนึงถึงเวลา สถานที่และบริบทที่ เกิดปัญหาจะทำให้ได้คำตอบที่
หลากหลายแง่มุมมากขึ้น 5) หมั่นคุยกับตนเองด้วยความคิดเชิงบวก การคุยกับตัวเองด้วยความคิดเชิงบวกและการ
กล่าวยืนยันกับตนเองด้วยความคิดเชิงบวก จะช่วยเพิ่มระดับภูมิต้านทานในร่างกายและเสริมสร้างพลังในการรับมือ
กับปัญหาต่างๆ รวมทั้งควรพิจารณาตัวเองว่ามีความคิดเชิงลบกับเรื่อง อะไรบ้างในแต่ละวัน แล้วเรียงลำดับความคิด
เชิงลบเพื่อเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่และบอกกับตนเองเสมอว่า พรุ่งนี้ต้องมองโลกในแง่ดีมากขึ้นกว่าเดิม และฝึกพูด
ประโยคเชิงบวก เช่น ฉันคิดว่าปัญหานี้มีทางออก เป็นต้น 6) บันทึกสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นวิธีที่ช่วย
เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้นโดยบันทึกเหตุการณ์หรือนึกถึงเหตุการณ์ที่ตนเองคิดว่าดี น่า
ประทับใจในแต่ละวัน ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ เพราะการบันทึกประสบการณ์ที่ดี แสดงว่าสมองของ
เรามีการจดจำแต่สิ่งที่ดีแล้ว และถ้าจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน สมองจะสะสมเรื่องราวดี ๆ เอาไว้ ส่งผลให้สุขภาพจิต
ดี 7) มีความยืดหยุ่น การจะเปลี่ยนตัวเองให้ คิดบวกได้ ส่วนหนึ่งต้องเริ่มมาจากตัวเองก่อน คือ เปลี่ยนความคิดที่ว่า
ทุกอย่างต้องถูกต้องตามหลักการที่ถูกต้องเท่านั้น เปลี่ยนเป็นคิดยืดหยุ่นบ้าง เพราะความคาดหวังคือสิ่งอาจทำให้เรา
เสียใจ และมองโลกในแง่ร้ายได้ 8) ยิ้มและหัวเราะ การยิ้มและหัวเราะเป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ได้ดีว่ากำลังมีความสุข
หรือความทุกข์และยังเป็นการปรับอารมณ์ด้านลบให้ดีขึ้นด้วย 9) คบหาหรือเป็นมิตรกับเพื่อนที่ร่าเริง มีความคิดบวก
เพราะเพื่อนแท้ที่นิสัยร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่บวก จะช่วยให้เราเกิดความรู้สึกดีๆ ความคิดดี ๆ และมีการ
แลกเปลี่ยนความคิดด้านดี แต่หากอยู่กับคนที่เครียดกับชีวิตมากเกินไป หรือ มองโลกในแง่ร้าย จะทำให้ไม่สามารถ
พัฒนา ความคิดเชิงบวกได้ 10) รู้จักการปล่อยวางหรือละทิ้งเรื่องราว บางเรื่องหรือสถานการณ์บางอย่างที่ผ่านไป
แล้ว ไม่สามารถย้อนเวลาหรือย้อนเหตุการณ์กลับไป แก้ไขได้ ควรรู้จักการปล่อยวางและคิดว่าการที่เรา หมกมุ่นกับ
อดีตที่ผ่านมา เป็นการกระทำที่เปล่าประโยชน์ และการนำเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้น กลับมาคิดซ้ำๆ จะทำร้ายตนเอง
โดยไม่รู้ตัว ควรปรับความคิดของตนเองด้วยการเรียนรู้ที่จะนำอดีต มาเป็นบทเรียน และแสวงหาแนวทางการแก้ไข
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีกในครั้งต่อไป 11) ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่เห็นแก่ตัว เช่น อุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ของสังคม
หรือบริจาคเงิน ให้มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น (ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, 2559)
ประโยชน์การคิดเชิงบวก
ผลดีของความคิดเชิงบวกต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ (นิภา แก้วศรีงาม, 2547; Seligman, 1998 อ้างถึง
ใน ดวงกมล ปิ่นเฉลียว,2559) ดังนี้
1. สุขภาพกาย 1) ระบบไหลเวียนโลหิตปกติ การคิด บวกจะทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารสุขภาพ
อยากออกกำลังกาย และไม่เครียด ส่งผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นปกติลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับ
ระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความดันโลหิตสูง 2) มีไขมันดี(HDL) มากกว่าไขมัน
เลว (LDL) การคิดบวกช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย โดยเมื่อตรวจร่างกายจะพบว่า ระดับไขมันดีสูงกว่า ไขมันเลว
สาเหตุเป็นเพราะคนที่มีความสุขในชีวิต มักจะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มากกว่าคนที่มีความเครียด 3) มี
ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงขึ้น การคิดบวกช่วยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ทำงานเป็นปกติ เกิดการดูดซึม
สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ตลอดจนสามารถเผาผลาญสารอาหาร และนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น 4) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมดุล โดยคนที่
มองโลกในแง่ดีมักมีสุขภาพกายและจิตดีตามไปด้วย เพราะการทำตัวเองให้มีความสุขด้วยการหากิจกรรมทำไม่ปล่อย
ให้ตัวเองอยู่ว่าง ๆ เช่น ออกกำลังกาย การปลูกดอกไม้ การสนทนากับเพื่อนบ้าน ออกกำลังกาย เป็นต้น
2. สุขภาพจิต 1) สามารถเผชิญและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดี คนที่มองโลกในแง่ดีเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มักจะ
เผชิญปัญหาหรือรับมือได้ดีกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย มีสติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ไม่รีบร้อนตัดสิน
ปัญหาที่อยู่ตรงหน้า และไม่คิดฟุ้งซ่านเติมแต่งปัญหาให้ใหญ่โตขึ้น จึงสามารถค้นพบทางออกของปัญหาได้อย่าง
ง่ายดาย 2) ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3) มีอารมณ์ผ่องใส สร้างบรรยากาศ และความสุขให้กับตนเองและ
ผู้อื่นได้ 4) มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ดีกว่าคนมองโลกในแง่ลบ จะให้อภัยในความผิดของผู้อื่น เป็นการสร้าง
มิตรภาพในการปฏิบัติงาน
การประยุกต์ใช้การคิดเชิงบวก
การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวก สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนและขยายไปยังหน่วย
สังคมที่ใหญ่ขึ้น เช่น นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา เนื่องจากเป็นแนวคิดสมัยใหม่ที่ส่งเสริมสุขภาวะจิตที่ดีทั้ง
ต่อครูอาจารย์ผู้เรียน บุคลากรภายในสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง ส่งผลการลดลงของจำนวนการฆ่าตัวตาย การ
ทำร้ายตนเอง อาการป่วยทางจิต ภาวะซึมเศร้า และการกลั่นแกล้งรังแกกันภายในสถานศึกษา นอกจากนี้ยังเป็น
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในสถานศึกษาและจะทำให้เกิดการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ดีในสังคมแห่ง
การเรียนรู้สมัยใหม่อีกด้วย (Pawelski, J. O., 2020 อ้างถึงใน ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, 2559)
การประยุกต์ใช้จิตวิทยาทางบวกในบริบท ครอบครัว ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด และพัฒนา
จิตวิทยาทางบวกได้ง่ายที่สุด ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวที่สนิทชิดเชื้อ มีฐานเครือญาติที่แนบแน่น ย่อมเป็น
สายสัมพันธ์ ทางอารมณ์ที่มั่นคง เป็นประดุจวัคซีนใจหรือ ภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่ดีแก่เด็กตลอดชีวิต จิตวิทยาทางบวก
จะสามารถสร้างได้ในเด็กก็ต่อเมื่อแม่ พ่อและผู้เลี้ยงดูมีความมั่นคงทางจิตใจอย่างเป็นเอกภาพ สิ่งนั้นให้เป็นเสมือน
เกราะป้องกัน ให้เด็กมีความคิดที่ดีในจิตใจ เช่นเดียวกับการ ป้อนอาหาร ป้อนความคิดให้สมองทุกวันๆ เมื่อเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ก็มีร่างกายแข็งแรง มีมุมมองที่ดีต่อตนเองและต่อผู้อื่น ดังนั้นการเริ่มต้น ชีวิตด้วยการสอนแนวคิดและปรับ
วิธีคิดเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการดำรงชีวิต คิดอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งการมีจิตวิทยาทางบวก มี
ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแสดงออกทางกายและวาจา จิตวิทยาทางบวกเป็นจิตลักษณะของบุคคล ที่
สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ทุกฝ่ายในองค์กรทางสังคมต้องร่วมมือกันทั้งในสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา โดย
การประยุกต์ใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถม ศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อต่อยอดการพัฒนา
เยาวชนของสังคมในทุกๆ มิติ อาทิเช่น ด้านคุณค่า สุขภาพ การมีสติในการกระทำสิ่ง ใดๆ การมองโลกในแง่ดี การมี
ความสุข รวมทั้ง มีความหวังในชีวิต เพื่อพัฒนาจุดแข็งของมนุษย์ ให้เกิดการงอกงามรุ่งเรืองทางจิตใจ รู้คุณค่าชีวิต ทำ
ดีต่อกัน ยอมรับในความต่างและเปิดรับในความเหมือน มีจิตสำนึกอยู่ตลอดเวลา ตลอดจน มีส่วนร่วมกับสังคม (อริยา
คูหา,2552 อ้างถึงใน ดวงกมล ปิ่นเฉลียว,2559 )
บทสรุป
การนำแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในการปรับความคิดการมองโลก การนำวิธีการต่างๆมาใช้ใน
ชีวิตประจำวันจะทำให้มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี ส่งผลต่อบุคคลรอบข้างให้มีความสุข และเป็นประโยชน์ที่จะนำ
ชีวิตไปสู่ความสำเร็จ
เอกสารอ้างอิง
ดวงกมล ปิ่นเฉลียว.(2559).การสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยความคิดเชิงบวก.วารสาร
พยาบาลตำรวจ. 8(2), 223–230.
ดาวประกาย มีบุญ. (2552). ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิด
พิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อความคิดเชิงบวกของเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
(วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สุภาพร เทพยสุวรรณ. (2556). 13 วิธีสร้างสุขให้ทุกวันของชีวิต. สืบค้นได้จาก
http://manager.co.th/Family/ViewNews. aspx?NewsID=9560000051306
Seligman, M. E. (2012). Positive psychology in practice. New York: John
Wiley & Sons