เยาวชนไทยกับการเปลี่ยนแปลงภาษาไทย

บทนำ

ภาษาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารกันเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีระบบสมองแตกต่างจากสัตว์ทั่วไป ภาษาซึ่งเป็นกลไกสำคัญของมนุษย์จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงควบคู่กันไปกับสังคมมนุษย์

ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของสังคมไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน               การเปลี่ยนแปลงทางภาษาค่อย ๆ เกิดขึ้นและดำเนินไป จากปัจจัยและบริบทแวดล้อมต่าง ๆ และปัยจัยสำคัญหนึ่งที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอย่างรวดเร็วคือการใช้ภาษาของเยาวชนไทยนั่นเอง

เยาวชนไทยกับการเปลี่ยนแปลงภาษาไทย

ในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วย การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในกลุ่มคนต่าง ๆ ก็เช่นกันก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง  เห็นได้ชัด  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตมนุษย์  เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน  ทั้งยังจำเป็นในด้านการเรียนรู้ในหลายด้านอีกด้วย

          เยาวชนไทยในปัจจุบันเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมีความเปลี่ยนแปลง  ซึ่งส่งผลกระทบให้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม  ทั้งด้านภาษาเขียนและภาษาพูด  เยาวชนมีการปรุงแต่งการใช้คำเป็นของตนเองซึ่งอาจจะไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง แต่เน้นไปที่การสื่ออารมณ์ออกมาจากภาษาพูดหรือภาษาเขียนนั้น ๆ

          ปัญหาต่าง ๆ ในการใช้ภาษาในการสื่อสารเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เยาวชนไทยภาษาไทยผิดจนกลายเป็นความเคยชิน  ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และที่สำคัญกว่านั้นคืออาจเกิดปัญหา   การสื่อสารและเข้าใจความหมายที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม  อีกทั้งยังจะทำให้คุณค่าของภาษาไทยรวมถึงความสำคัญของภาษาไทยเริ่มน้อยลงไป

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน  แบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ 

1. วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ  ได้แก่  เสียงพูดของมนุษย์ที่อยู่ในกลุ่มสังคมเดียวกันที่ได้ตกลงใช้ภาษาร่วมกันเพื่อใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม 

2. อวัจนภาษา  หมายถึง  ภาษาเขียน และกริยาอาการต่าง ๆ ที่ปรากฏออกทางร่างกายของมนุษย์ และสามารถสื่อสารให้เป็นที่รู้จักและเข้าใจกัน  อาจเรียกว่า “กายภาษา” เป็นสิ่งที่มนุษย์สื่อออกมาเพื่อ       บ่งบอกความรู้สึก และบุคลิกลักษณะของผู้นั้น

 

 

 

กอบกาญจน์  วงศ์วิสิทธิ์ (2554, หน้า 28 – 29)  ได้กล่าวประเภทย่อยของอวัจนภาษาไว้  7  ประเภท

ได้แก่

               1. เทศภาษา (proxemics) เป็นภาษาที่ปรากฏจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสารกันอยู่รวมทั้งช่องระยะที่บุคคลทำการสื่อสารห่างจากกัน สถานที่และช่วงระยะ จะสื่อความหมายที่อยู่ในจิตสำนึกของผู้ที่กำลังสื่อสารกันได้ เช่น บุคคลต่างเพศสองคนนั่งชิดกันอยู่บนม้านั่งตัวเดียวกันย่อมเป็นที่เข้าใจว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ

2. กาลภาษา (chonemics) การใช้เวลาเป็นการสื่อสารเชิงอวัจนะ เพื่อแสดงเจตนาของผู้รับสาร เช่น การไปตรงเวลานัดหมาย แสดงถึง ความเคารพ การให้เกียรติ และเห็นความสำคัญของผู้ส่งสาร หรือการ       รอคอยด้วยความอดทน แสดงว่า ธุระของผู้รอคอยมีความสำคัญมาก

3. เนตรภาษา (oculesics) เป็นอวัจนภาษาที่ใช้ดวงตาสื่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์ และ ทัศนคติบางประการในตัวผู้ส่งสาร

4. สัมผัสภาษา (haptics) หมายถึงอวัจนภาษาที่ใช้อาการสัมผัส เพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึก ตลอดจน ความ ปรารถนา ที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร

5. อาการภาษา (kinesics) เป็นอวัจนภาษาที่อยู่ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อการสื่อสาร  เช่น ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น

6. วัตถุภาษา (objectics) เป็นอวัจนภาษาที่เกิดจากการใช้และการเลือกวัตถุ มาใช้ เพื่อแสดงความหมาย บางประการ เช่น การแต่งกายของคน ก็สามารถสื่อสารบอกกิจกรรม ภารกิจ สถานภาพ รสนิยม ตลอดจนอุปนิสัยของบุคคลนั้น ๆ ได้

7. ปริภาษา (vocalics) หมายถึงอวัจนภาษา ที่เกิดจากการใช้น้ำเสียงประกอบถ้อยคำที่พูดออกไป  น้ำเสียงจะมีความสำคัญมากในการสื่อความหมายนั้น

          สำหรับภาษาไทยที่เยาวชนใช้สื่อภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีเป็นจำนวนมากและใช้กันอย่างแพร่หลาย  ในที่นี้จำขอกล่าวถึงภาษาที่เป็นวัจนภาษา โดยหมายถึงภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเท่านั้น  โดยหลักจะมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ด้านคือ 1. ด้านการออกเสียง 2. ด้านความหมาย

1. ด้านการออกเสียง คือ การเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงของคำให้ต่างไปจากเดิมโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม  เป็นผลให้คำคำนั้นออกเสียงเพี้ยนไปต่างไปจากเสียงเดิม เช่น

 

คำเดิม
การเปลี่ยนแปลง
อะไร
อาราย
ได้
ด้าย
ไม่ใช่
ม่ายช่าย
ไป
ปาย
ใคร
คราย
ทําไม
ทามมาย
คำเดิม
การเปลี่ยนแปลง
มาก
มั่ก
ด้วย
ดั่ว
สัตว์
สาด
กติกา
กติกู
 แล้ว
แระ
เปล่า
ป่าว , ปะ
จ้า
จร้า
อย่างไร
ยังงัย
เธอ
เทอ
คิดถึง
คิดถุง
ใช่ไหม
ชิมิ

2. ด้านความหมาย คือ ความหมายของคำใดคำหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีลักษณะเพิ่มขึ้นหรือลดน้อยลง รวมไปถึงอาจมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง เช่น

 

คำ
ความหมายเดิม
ความหมายใหม่
ชะนี
ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae 
ผู้หญิง
บูด
มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย
ไม่ดี,ไม่เริศ
ต้มเล้ง
ชื่อแกงที่มีกระดูกสันหลังหมูเป็นส่วนประกอบหลัก
ไม่ดีมาก ๆ ,ไม่เลิศมาก ๆ
เอาปากกามาวง
การเน้นย้ำความสำคัญ
บอกมา, พูดมา
มูลี่ 
เครื่องบังประตูหน้าต่างอย่างม่าน ทำเป็นซี่ ๆ
กลั่นแกล้ง, รังแก
ฉีดยา
การให้ยาด้วยเข็ม
ชื่นชมแบบดูไม่จริงใจ
แกง
อาหารประเภทหนึ่ง
แกล้ง, หลอก 
ตาหลุด
ดวงตาหลุดออกจากเบ้า
อลังการ, ยิ่งใหญ่
ได้อยู่
พอได้, พอไหว
ไม่ได้, ไม่ไหว
วงวาร
ตระกูล
สงสาร
ดือ
สะดือ
ดี
แครอท
ผักจำพวกรากที่มักมีสีส้ม
พระ
เกิด
เป็นขึ้น, มีขึ้น, กำเนิด
โดดเด่นเป็นที่สนใจ
สอย
เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว
ซื้อ, อยากได้มาก
ฟาด
หวด, เหวี่ยง
สวย, แรง, เริ่ด
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็นดังกล่าวยังมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอีกมากมายที่เยาวชนไทยพยายามสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารในกลุ่ม และนับวันยิ่งขยายวงกว้างมากขึ้น  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หากสังคม หรือผู้ใช้ภาษาไม่ช่วยเหลือ  ปล่อยวาง  ไม่รีบเร่งในการแก้ไขปัญหาก็จะทำให้ปัญหานี้     หนักขึ้นจนอาจส่งผลกระทบในการสื่อสารในชีวิตประจำวันอีกด้วย

          สาเหตุที่ทำให้เยาวชนไทยใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ สื่อออนไลน์  สื่อมวลชน รวมถึงบุคคลสาธารณะที่เป็นแบบอย่าง มักใช้ภาษาอย่างไม่เหมาะสม และใช้คำแสลง ดังนั้น      ถ้าหากเยาวชนไทยและผู้ใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาไทยแต่จะไปให้ความสำคัญในวิชาอื่น และที่สำคัญก็คือค่านิยมที่ทำตามกันในกลุ่มของเยาวชน จนกลายเป็นค่านิยมของสังคม ทำให้ไม่มีเค้าโครงเดิมของภาษาไทยอีกต่อไป ดังนั้นแม้ธรรมชาติของภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษาของชาติที่แสดงถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของชาติไทย เราคนไทยทุกคนจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยเอาไว้ให้คงอยู่ เห็นคุณค่าและตระหนักอย่างแท้จริงในเรื่องการใช้ภาษา ซึ่งเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้โดยการปลูกจิตสำนึกในการหวงแหนภาษาไทย ส่งเสริม ปลูกฝังทักษะการอ่าน  อันเป็นต้นทางสำคัญของการการซึมซับคำ ประโยค และหลักการใช้ภาษา ซึ่งจะนำไปสู่ทักษะการสื่อสารภาษาไทยที่ถูกต้องทุก ๆ ด้านต่อไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

กระทรวงศึกษาธิการ.(2558).หลักภาษาและการใช้ภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.กรุงเทพมหานคร:

ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

กอบกาญจน์  วงศ์วิสิทธิ์.(2551).ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร.กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.

คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.(2559).

          ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร.(พิมพ์ครั้งที่4).กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

จุพาพร  ผิดแลงาม.(2553).การใช้ภาษาไทยที่บกพร่องของสังคมไทยปัจจุบัน.[ออนไลน์].สืบค้นจาก :

http://www.learners.in.th. (วันที่สืบค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2563).

วรวรรธน์ ศรียาภัย.(2555).การเขียนเพื่อการสื่อสาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สมพร แพ่งพิพัฒน์. (2556).ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น.กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.