การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี The study music of Lion Dance : Case study lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province

บทคัดย่อ

              การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต : กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี. ผู้วิจัยใช้หลักการวิจัยทางด้านมานุษย   ดุริยางควิทยา(Ethnomusicology) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต และเพื่อศึกษาเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อ  กวนอู จังหวัดราชบุรี

              ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี  มีรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต มีทั้งหมด 4 แบบ โดยจะต้องมีจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบทุกครั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่คณะสิงโตทุกคณะจะต้องใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโต แต่ละคณะจะต้องบรรเลงรูปแบบดังกล่าวซึ่งเป็นมาตรฐานของคณะสิงโต ส่วนลักษณะจังหวะดนตรีจะแตกต่างกันบ้าง แล้วแต่การบรรเลงของแต่ละคณะสิงโต รูปแบบจังหวะดนตรีของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์รูปแบบจังหวะดนตรีแล้วนำมาทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sibelius) เขียนเป็นโน้ตสากล เพื่อบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้

              1.1 จังหวะเริ่มต้น เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้เริ่มต้นทุกครั้งก่อนที่จะบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะบรรเลงในจังหวะต่อไป

              1.2 จังหวะเดิน เป็นรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเดินของสิงโต เป็นจังหวะที่มีการบรรเลงย้อนไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงที่หมาย และจะลงด้วยจังหวะลงจบ

              1.3 จังหวะพลิ้ว เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินแล้วทำท่าเคลื่อนไหวไปมา แสดงอากัปกิริยาดีใจ ตื่นเต้น มีความสุข เป็นต้น

              1.4 จังหวะจ้อง เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังยืนจ้อง แสดงอากัปกิริยาสงสัย หรือหยอกล้อ ล้อเล่น ขี่เล่น เป็นต้น

              1.5 จังหวะไหว้ เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินเข้าไปไหว้ศาลเจ้า หรือเดินเข้าไปหาเจ้าภาพในการจัดงานเพื่อรับอังเปา เป็นการคารวะแสดงความเคารพ 

                        1.6 จังหวะลงจบ เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้ลงจบทุกครั้งหลังจากบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะจบการแสดงการเชิดสิงโต

รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้ง 4 รูปแบบ รวมทั้งจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบ เมื่อทำการแสดงเต็มรูปแบบจะบรรเลงรูปแบบจังหวะดนตรีต่อกันทั้งหมด โดยแต่ละแบบนักดนตรีจะนัดกันว่าจะเปลี่ยนรูปแบบจังหวะตอนไหนขึ้นอยู่กับระยะของการแสดงว่าใกล้หรือไกลมากแค่ไหน โดยจะมีคนกลางที่ยืนอยู่ระหว่างวงมโหรีกับนักแสดงสิงโต เป็นคนส่งสัญญาณมือบอกการเปลี่ยนจังหวะดนตรีแต่ละแบบ ซึ่งทั้งนักดนตรีและคนเชิดสิงโตจะต้องประสานกันตลอดเวลา

2. เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่

2.1 กลองสิงโต มีลักษณะของกลองหนังดำ เป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

2.2 แฉหรือฉาบ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเสริมเข้ากับกลองสิงโต ทำให้มีจังหวะที่ตื่นเต้นเร้าใจ

2.3 เม้ง (มีลักษณะเหมือนฆ้องแต่ไม่มีปุ่มตรงกลาง) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกำกับจังหวะให้กับกลอง และแฉหรือฉาบ เม้งจะมีที่แขวนเพื่อตีได้ถนัดเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เมื่อบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า “วงมโหรี”

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เป็นอุปกรณ์ที่นักดนตรีให้ความเคารพเหมือนเป็นครู เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีไทย  ก่อนที่จะทำการแสดงหรือออกงานทุกครั้งจะต้องมีการไหว้ครู โดยจะไหว้ครูด้วย ผลไม้ต่างๆ 3 อย่าง ดอกไม้ บุหรี่ ธูปเทียน และเหล้าสี เป็นต้น

 

Abstract

            The study music education engages in manipulating the Lion Show : case study of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province. The researcher uses the research principle of the Ethnomusicology , fix the goal of 2 researches , as follows

              1. To study music play format engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province.

              2. To study the musical instrument engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province.       

The research result indicates ;

               1. The play format engages in manipulating the Lion show of Lion show group of God Father Kuanwu’s student in Ratchaburi  have 4 formats  ;  must have initial rhythm and the end rhythm everytime  which  is the format that every lion shows group  must use.  the researcher uses data to study and analyse the melody format  making the note by use computer music program , (Sibelius) in writing the universal notes for written record keeping as follows

                    1.1 The initial rhythm ; use initial rhythm everytime  for preparation  to play other rhythms

                    1.2 The rhythm of walks , format that use to express the walk of lion rhythmically until to reach the target and finish by the end rhythm

                    1.3 The rhythm of flutters , be rhythm format that use to express the movement, showing  glad behavior , excitement , happiness , etc.

                    1.4 The rhythm of starring, be rhythm format that stands to stare , show the behavior suspects , kidding ,playful etc.

                    1.5 The rhythm of respect , be rhythm format that use to express the respect to the host or the spirit

                    1.6 The rhythm of down ends , rhythmically the music that use to express the end of the show.

              The above-mentioned 4 the formats and the initial rhythm and the end rhythm of The play format engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province will be continuously and fully played with the perfect cooperation of the musician and a person manipulating the lion figure.

              2. The musical instrument engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratbury Province have 3 types ;

                    2.1 Drums is made of black skin and used to be the main instrument of the show

                    2.2 Cymbals , be the musical instrument that play to make the excitement with the Drums

                    2.3 Meng (the character likes the gong but, have no a button in the middle) , be the musical instrument that use to control  the rhythm of a drum and  cymbals , have the hang for convenient playing.

              The musical instrument that use to engage in manipulating the lion show, when playing at the same time called “Thai grand orchestra”. The musical instrument that used to engage in  manipulating the lion show is the equipment that a musician gives the respect like a teacher as same as the musical Thai instrument. We have to pay respect to the teachers before the first performance by 3 kings of fruits, flowers, cigarettes, candle sticks and color liquor etc.

 

ความสำคัญและความสำคัญของปัญหา

          ชนทุกชาติในโลกนี้ล้วนมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่ละวัฒนธรรมก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนในแต่ละชนชาติที่มีความศรัทธาต่อวัฒนธรรมของตน สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ แต่ละวัฒนธรรมนั้นโดยส่วนใหญ่มักจะมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้วัฒนธรรมนั้นๆมีความศักดิ์สิทธิ์ น่าเคารพนับถือยิ่งขึ้น  วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติจะมีประเพณีต่างๆมากมายที่มีความสำคัญต่อผู้คนนั้นๆ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน โดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆตามแต่ความเชื่อและความศรัทธา แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆมีเหมือนกันก็คือ ต้องการให้มนุษย์ทุกคนมีชีวิตที่ดีมีความสุข จึงทำให้วัฒนธรรมต่างๆกระทำสืบต่อกันมาจนกลายมาเป็นประเพณีที่ยอมรับของสังคมนั้นๆ

            ชาวจีนมีประเพณีที่สำคัญมากประเพณีหนึ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันก็คือ เทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการแสดงความยินดีของชาวจีนทั้งหลาย ธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่แสดงออกก็คือ การไปไหว้เจ้าและคารวะญาติผู้ใหญ่ เพื่อไปขอศีลขอพรให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต บรรยากาศในช่วงตรุษจีนทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน เวลาพบปะเจอหน้ากันก็จะกล่าวแต่วาจาไพเราะเสนาะหู แม้แต่ผู้ที่เคยเคืองกันก็พร้อมที่จะอโหสิไม่ถือโทษโกรธกัน บรรยากาศในชุมชนจีนช่วงนั้นจะเต็มไปด้วยกลิ่นธูปควันเทียนหอมตลบอบอวล อีกทั้งยังมีเสียงอึกทึกกึกก้องของล่อโก๊ว (ฆ้องกลอง) ของสิงโตคณะต่างๆที่เดินสายมาตามบ้านเรือน เพื่อที่จะเชิดอวยพรให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวมั่งมีศรีสุขตลอดปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง (เจริญ ตันมหาพราน. 2541:7)

            การเชิดสิงโตในประเทศไทยเข้าใจว่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ไม่ใช่จีนนำเข้ามา กลายเป็นญวนเป็นผู้นำเข้ามา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่าเมื่อครั้งองค์เชียงสือ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯได้คิดฝึกหัดญวนให้เล่นสิงโตอย่างหนึ่ง ญวนยก (พะบู๊) อย่างหนึ่ง แล้วนำมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทอดพระเนตร ด้วยเป็นประเพณีในเมืองญวนว่า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกเวลากลางวัน พวกทหารเล่นเต้นสิงโตถวายทอดพระเนตร ถ้าเสด็จออกกลางคืน มีพวกระบำแต่งเป็นเทพยดามารำโคมถวายพระพร (สมบัติ พลายน้อย. 2542:17)

            การเชิดสิงโตไม่ได้มีไว้สำหรับเล่นถวายพระเจ้าแผ่นดินอย่างเดียว แต่การเชิดสิงโตถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลต่างๆที่แสดงถึงความโชคดีมีสุข ร่ำรวย ไม่ว่าจะเป็น พิธีแต่งงาน เทศกาลตรุษจีน วันสารจีน เทศกาลกิเจ  หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่คู่กับการเชิดสิงโตอยู่ตลอดเวลาและมีความสำคัญกับการเชิดสิงโตก็คือ ดนตรีประกอบการเชิดสิงโต ได้แก่ การตีกลอง ตีฉาบ ตีเม้ง เป็นต้น เพื่อประกอบท่าทางการเชิดสิงโตทำให้การเชิดสิงโตมีความสนุกสนาน คึกครื้น น่าสนใจและน่าชมเป็นอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากมีคณะสิงโตมากมายหลายคณะในประเทศไทย แต่ละคณะก็จะมีวิธีการเล่นดนตรีประกอบการเชิดสิงโตที่เหมือนหรือแตกต่างกันตามรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคณะตัวเอง ทำให้ดนตรีประกอบการเชิดสิงโตมีความหลากหลายน่าสนใจ  ในการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโตนั้น การฝึกซ้อมดนตรีจะใช้วิธีการฝึกโดยการสอนแบบมุขปาฐะ คือการบอกปากเปล่า ไม่มีการจดบันทึก จึงไม่มีหลักฐานมากนัก ทำให้ผู้ที่สนใจอยากจะศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโตมีข้อมูลไม่มากมัก และสำหรับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาดนตรีในมหาวิทยาลัยนั้น มุ่งเน้นให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนดนตรีที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในดนตรีที่มีความแตกต่างกันมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด เนื่องจากคณะสิงโตในประเทศไทยมีมากมายหลายคณะ ผู้วิจัยได้เจาะจงเลือกคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี เป็นที่ศึกษาข้อมูลวิจัย เพราะเป็นคณะสิงโตที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ มีรูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโตที่ดี ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ แชมป์ 4 ภาค ประเภทสิงโตดอกเหมย ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา ที่จังหวัดชัยภูมิ, พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง แชมป์ 4 ภาค ที่จังหวัดชัยภูมิ และล่าสุดพ.ศ. 2553ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภทสิงโตดอกเหมย งานราชบุรีไชน่าทาวน์ ที่จังหวัดราชบุรี

ปัจจุบันยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลรูปแบบการบรรเลงดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ในลักษณะองค์ความรู้รวมไว้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลังได้ศึกษา การวิจัยเรื่องการศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี เกิดขึ้นเพื่อรวบรวมรูปแบบการบรรเลงดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโตให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  รวมถึงเป็นแนวทางในการศึกษาดนตรี  เพื่อมุ่งสู่การอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

         1.เพื่อศึกษารูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

          2.เพื่อศึกษาเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต ของ คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อ กวนอู จังหวัดราชบุรี

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

         1.ทำให้ทราบถึงเครื่องดนตรีและลักษณะจังหวะดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

            2.ทำให้ทราบถึงประวัติและผลงานของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

            3.เป็นแนวทางในการศึกษาและที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาค้นคว้าทางดนตรี ของนิสิตสาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา แขนงดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย     ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ขอบเขตของงานวิจัย

          ศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี โดยมีขอบเขตในการศึกษาวิจัยดังนี้ เครื่องดนตรีที่ใช้ในการตีประกอบการเชิดสิงโต จังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ประวัติและผลงานของ คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

 

วิธีดำเนินการวิจัย

1. เครื่องมือและอุปกรณ์

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ดังต่อไปนี้

1.1 แบบสำรวจ

1.2 แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 

            1.3 แบบสัมภาษณ์

 

2. วิธีดำเนินการวิจัย

      2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

            2.1.1 ศึกษาข้อมูลเอกสารจากหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง          2.1.2 การสัมภาษณ์ผู้รู้เกี่ยวกับดนตรีประกอบการเชิดสิงโตจากหัวหน้าคณะสิงโต

       2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม

            2.2.1 การสำรวจ (Inventory) ผู้วิจัยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สร้างขึ้นเพื่อสำรวจเครื่องดนตรี วงดนตรี เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดงการเชิดสิงโต และรูปแบบของดนตรี

2.2.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลงและการแสดงการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต

2.2.3 การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้วิจัยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ได้สร้างขึ้น ในการสัมภาษณ์ประวัติ และรูปแบบการเชิดสิงโต ด้วยแบบสัมภาษณ์  

      2.3 การบันทึกข้อมูล ผู้วิจัยทำการบันทึกข้อมูลจากการดำเนินงานภาคสนาม มีลักษณะการบันทึกดังนี้

            2.3.1 บันทึกลงสมุดบันทึก และบันทึกลงคอมพิวเตอร์

            2.3.2 บันทึกเสียงด้วยเครื่องบันทึกเสียงระบบดิจิตอล

            2.3.3 บันทึกภาพนิ่งด้วยกล้องดิจิตอล

            2.3.4 บันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวีดีโอระบบดิจิตอล

       2.4. การจัดกระทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

            ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยนำมาวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้

            2.4.1 ส่วนของดนตรี

                        2.4.1.1 รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต วิเคราะห์โดยการใช้กล้องวีดีโอถ่ายเก็บข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้รูปแบบจังหวะดนตรีแล้ว ก็นำมาทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sibelius) เขียนเป็นโน้ตสากล เพื่อบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

                        2.4.1.2เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต วิเคราะห์โดยใช้กล้องถ่ายรูปเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เพื่อนำมาแยกแยะว่ามีเครื่องดนตรีชนิดใดบ้าง

            2.4.2 ส่วนของประวัติและผลงานของ คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี วิเคราะห์โดยการสัมภาษณ์กับหัวหน้าคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี (คุณสุนันท์  เทียมสุวรรณ์) และสมาชิกของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี โดยสัมภาษณ์แบบสุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลครบตามวัตถุประสงค์แล้ว จึงนำมาบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

     2.5 ขั้นสรุป 

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ประกอบ

รูปภาพ  และจัดทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางดนตรี (Sibelius) บันทึกเป็นโน้ตสากล เพื่อไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

 

สรุปผลการวิจัย

              ผลการวิจัยสรุปว่า การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต และเครื่องดนตรีของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี  สรุปผลได้ดังนี้

 

1 รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

            คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี มีรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต มีทั้งหมด  4 แบบ โดยจะต้องมีจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบทุกครั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่คณะสิงโตทุกคณะจะต้องใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโต แต่ละคณะจะต้องบรรเลงรูปแบบดังกล่าวซึ่งเป็นมาตรฐานของคณะสิงโต ส่วนลักษณะจังหวะดนตรีจะแตกต่างกันบ้าง แล้วแต่การบรรเลงของแต่ละคณะสิงโต รูปแบบจังหวะดนตรีของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์รูปแบบจังหวะดนตรีแล้วนำมาทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sibelius) เขียนเป็นโน้ตสากล เพื่อบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้

              1.1. จังหวะเริ่มต้น เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้เริ่มต้นทุกครั้งก่อนที่จะบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะบรรเลงในจังหวะต่อไป ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตในกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ โดยตีจังหวะที่ขอบกลองสิงโตเป็นการเริ่มต้น 

 

 

 

              1.2 จังหวะเดิน เป็นรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเดินของสิงโต เป็นจังหวะที่มีการบรรเลงย้อนไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงที่หมาย และจะลงด้วยจังหวะลงจบ ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

 

 

 

              1.3 จังหวะพลิ้ว เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินแล้วทำท่าเคลื่อนไหวไปมา  ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

 

              1.4 จังหวะจ้อง  เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังยืนจ้อง  ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

 

              1.5 จังหวะไหว้ เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินเข้าไปไหว้ศาลเจ้า หรือเดินเข้าไปหาเจ้าภาพในการจัดงานเพื่อขออังเปา เพื่อเป็นการคารวะแสดงความเคารพ  ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

 

                    1.6 จังหวะลงจบ เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้ลงจบทุกครั้งหลังจากบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะจบการแสดงการเชิดสิงโต ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

 

              รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้ง 4 รูปแบบ รวมทั้งจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบ เมื่อทำการแสดงเต็มรูปแบบจะบรรเลงรูปแบบจังหวะดนตรีต่อกันทั้งหมด โดยแต่ละแบบนักดนตรีจะนัดกันว่าจะเปลี่ยนรูปแบบจังหวะตอนไหนขึ้นอยู่กับระยะของการแสดงว่าใกล้หรือไกลมากแค่ไหน ซึ่งทั้งนักดนตรีและคนเชิดสิงโตจะต้องประสานกันตลอดเวลา เมื่อนำรูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอูทั้งหมดมาบรรเลงต่อกัน ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

รูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

     จังหวะเริ่มต้น

 จังหวะเดิน

  จังหวะพลิ้ว

  จังหวะจ้อง

  จังหวะไหว้

  จังหวะพลิ้ว

    จังหวะลงจบ

 

2 เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต 

            เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่

 

 

2.1 กลองสิงโตมีลักษณะของกลอง

หนังดำ เป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลง

ประกอบการเชิดสิงโต

2.2 แฉหรือฉาบ เป็นเครื่องดนตรีที่

บรรเลงเสริมเข้ากับกลองสิงโต เพื่อให้มีจังหวะ

ที่ตื่นเต้นเร้าใจ

2.3  เม้ง (มีลักษณะเหมือนฆ้องแต่ไม่

มีปุ่มตรงกลาง) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกำกับจังหวะให้กับกลองและแฉ หรือฉาบ เม้งจะมีที่แขวนเพื่อตีได้ถนัด

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต

เมื่อบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า “วงมโหรี”

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เป็นอุปกรณ์ที่นักดนตรีให้ความเคารพเหมือนเป็นครู เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีไทย  ก่อนที่จะทำการแสดงหรือออกงานทุกครั้ง  จะต้องมีการไหว้ครู  โดยจะไหว้ครูด้วย ผลไม้ต่างๆ 3 อย่าง ดอกไม้ บุหรี่ ธูปเทียน และเหล้าสี เป็นต้น

 

การอภิปรายผล

              ผลจากการวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึง รูปแบบจังหวะดนตรีที่ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานของคณะสิงโต และสร้างความเป็นเอกลักษณ์รูปแบบจังหวะดนตรี ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการมีความรับผิดชอบ มารยาทในการแสดง ความมีวินัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย จนเป็นที่นิยมทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ หลักการทางวิชาการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้นับว่ามีคุณค่าในการที่จะนำไปใช้ประกอบการศึกษา ค้นคว้าและทางด้านการเรียนการสอนในโอกาสต่อๆไป สำหรับ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจอีกด้วย

 

ข้อเสนอแนะ

              นอกจากรูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ยังมีรูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตอื่นๆอีกมากมายที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคณะสิงโต และยังมีบทบาทและความสำคัญตามเทศกาลต่างๆในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่รูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตต่างๆที่มีคุณค่าต่อสาธารณชนสืบไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

ชลอ  บุญช่วย. (2532). ความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมือง

สงขลา จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒสงขลา. ถ่ายเอกสาร

เจริญ  ตันมหาพราน. (2541). ชมประเพณีพิสดาร.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์

ธารบัวแก้ว.

ณัชชา  โสคติยานุรักษ์. (2542). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ  อมาตยกุล. (2533). ดนตรีตะวันออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ  อมาตยกุล. (2529). ดนตรีวิจักษ์.  พิมครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: บริษัทรักษ์ศิลป์ จำกัด.

เรวดี  อึ้งโพธิ์. (2545). การศึกษาดนตรีในพิธีกงเต๊กแบบอนัมนิกาย กรณีศึกษาคณะดนตรี

ของวัดโลกานุเคราะห์ ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา. ถ่ายเอกสาร.

เรืองรอง  รุ่งรัศมี. (2541). มังกรซ่อนลาย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.  

วีเกียรติ  มารคแมน. (2539). “งิ้วแต้จิ๋ว” กับภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมดนตรี กรณีศึกษา

คณะเหล่าบ่วงนี้ชุงปัง. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ดนตรี) นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหิดล. ถ่ายเอกสาร.

สมบัติ  พลายน้อย. (2542). ประเพณีจีน. กรุงเทพฯ : บริษัทเยลโล่การพิมพ์ (1988) จำกัด.

สำเร็จ  คำโมง, รองศาสตราจารย์. (2552). รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.