การบันทึกโน้ตสำหรับซออู้ในขั้นพื้นฐาน

การบันทึกโน้ตสำหรับซออู้ในขั้นพื้นฐาน

ผศ.ดร.ตั้งปณิธาน  อารีย์

 

          การบันทึกโน้ตซออู้ในขั้นพื้นฐานนี้ เป็นการบันทึกโน้ตสำหรับการบรรเลง ซออู้ เพื่อให้ผู้สนใจได้นำความรู้ที่ได้รับไปสู่การศึกษาด้วยตนเอง สามารถฝึกฝนการบันทึกโน้ตด้วยตนเองและพัฒนาไปสู่การบรรเลงบทเพลงต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจได้

ในทางวัฒนธรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีไทยในสมัยก่อนนั้นเกิดขึ้นจากการท่องจำและเลียนแบบครูผู้สอน ซึ่งเกิดขึ้นภายในครอบครัวหรือภายในสำนักดนตรี ซึ่งไม่ได้ปรากฏเป็นตัวอักษรและเรียกวัฒนธรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ในลักษณะเช่นนี้ว่า “วัฒนธรรมมุขปาฐะ”    (เอนก  นาวิกมูล, 2550: 94) ต่อมาในภายหลังได้มีการจัดระบบการศึกษา โดยเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทำให้วัฒนธรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมดนตรีไทย ได้มีการนำเอาเครื่องมือที่เรียกว่าตัวอักษรเข้ามาใช้เป็นเครื่องเอื้ออำนวยความสะดวกและบันทึกไว้เพื่อช่วยในการช่วยจดจำท่วงทำนองของบทเพลงต่างๆ มิให้สูญหายไป  

การบันทึกโน้ตของบทเพลงไทยนั้นมีการบันทึกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามความถนัดและความสามารถของนักดนตรีไทย ซึ่งจากที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันจะมีการบันทึกโน้ตเพลงไทยออกเป็น  3 ลักษณะคือ การบันทึกโน้ตเพลงไทยแบบตัวเลข การบันทึกโน้ตเพลงไทยแบบตัวอักษร และการบันทึกโน้ตเพลงไทยแบบโน้ตสากล

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) เป็นบุคคลแรกที่ได้คิดประดิษฐ์การบันทึกโน้ตขึ้น เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอนของครูและนักเรียนโรงเรียนราชินี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2457         (พิภัช  สอนใย,2553: 87) โน้ตตัวอักษรใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท ไม่สามารถแยกอัตราความสั้น-ยาว ของเสียงที่แตกต่างกัน ต้องอาศัยการจัดเรียงตัวโน้ต  เพื่อสื่อสารถึงความสั้น-ยาว     ของเสียง สิ่งที่จำเป็นในการจัดเรียงโน้ตเพื่อให้เกิดเป็นท่วงลีลาของจังหวะและทำนอง นอกเหนือจากตัวโน้ตอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสัญลักษณ์  เพิ่มค่าความยาวของเสียง โดยอาศัยสัญลักษณ์ – (เครื่องหมายลบ) ตามหลักพื้นฐานของการจัดเรียงตัวโน้ต ในแต่ละห้อง       หรือจังหวะเคาะ  จะบรรจุไปด้วยหน่วยย่อยของเวลามีค่าเท่ากับ 4  เคาะย่อย (เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรีและธนวัฒน์  บุตรทองทิม, 2550: 7-8)

สิ่งที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สนใจเริ่มเรียนซออู้ในระยะเริ่มต้นจะใช้วิธีการจดบันทึกและสามารถนำโน้ตเพลงที่จดบันทึกนั้นกลับไปทำการทบทวนด้วยตนเอง  โดยการบันทึกโน้ตดังกล่าวจะมีส่วนในการช่วยเหลือครูผู้สอนให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนได้เร็วมากยิ่งขึ้น การบันทึกโน้ตจะทำหน้าที่ในการทำให้บทเพลงต่างๆ ไม่สูญหายไปกับความทรงจำของผู้เรียนและผู้สอนเมื่อเวลาผ่านไป ลักษณะของตัวโน้ตที่จะอธิบายต่อไปนี้จะขอนำโน้ตที่ใช้เป็นตัวอักษรในการแทนเสียงมายกตัวอย่างเพียงประการเดียว เพราะโน้ตตัวอักษรเป็นที่นิยมใช้กันมากในกลุ่ม                   นักดนตรีไทยและยังสามารถนำมาใช้กับการบันทึกโน้ตเพลงสำหรับซออู้ได้

            ในปัจจุบันมีการใช้ตัวอักษรในการแทนเสียงโน้ตเพลงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย               ในการศึกษาดนตรีไทยทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตีและเครื่องเป่าก็ตาม ในการเรียนดนตรีไทยมีการแบ่งระยะห่างของเสียงแต่ละเสียงเป็น 7 เสียงเท่าๆ กัน ตลอดบันไดเสียง ดังนี้

                              ด        ใช้แทนเสียง      โด

                              ร         ใช้แทนเสียง      เร

                              ม        ใช้แทนเสียง      มี

                              ฟ        ใช้แทนเสียง      ฟา

                              ซ        ใช้แทนเสียง      ซอล

                              ล        ใช้แทนเสียง      ลา

                              ท        ใช้แทนเสียง      ที

          ในการบรรเลงซออู้ มีการใช้โน้ตตัวอักษรที่เป็นเสียงพิเศษและเพื่อแทนโน้ตเสียงสูงขึ้น คือ

ซฺ        ใช้แทนเสียง      ซอล (นิ้วควง)

ดํ        ใช้แทนเสียง      โดสูง

                              รํ         ใช้แทนเสียง      เรสูง

            การแบ่งห้องเพลงของโน้ตดนตรีไทย เครื่องมือซออู้นั้นได้บันทึกเป็นบรรทัด และมีจำนวน    8  ห้องเพลง โดยห้องเพลงที่ใช้ในการบันทึกโน้ตซออู้มีลักษณะเป็นเส้นตรงจำนวน 8 ห้องเพลง

ตารางโน้ตเพลง  บรรทัด มี 8 ห้องเพลง

 
 
 
 
 
 
 
 
ข้อกำหนดของการกำหนดห้องเพลงและแถวของการบันทึกโน้ตซออู้ แบ่งได้เป็น 2 แถว  แถวละ 8 ห้องเพลง โดยแถวบน หมายถึง สายเอก และแถวล่าง หมายถึง สายทุ้ม ดังนี้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สายเอก (สายนอก)  แถวบน

 

สายทุ้ม (สายใน)  แถวล่าง

 

ตัวอย่างการบันทึกโน้ตสำหรับซออู้

 
 
 
 
 
– – – ซ
– – – ล
– – – ท
– – – ด
– – – ร
– – – ม
– – – ฟ
– – – ซฺ
 
 
 
 

 

 

  – – – ดํ
  – – – รํ
  – – – ดํ
  – – – ท
– – – ล
– – – ซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 – – – ฟ
 – – – ม
 

 
 
 
 
 
– – – ซ
– – – ล
– – – ท
– – – ร
– – – ด
– – – ร
– – – ม
– – – ฟ
 
 
 
 

– – – ดํ
– – – ท
– – – ล
– – – ซ
 
 
 
 
 
 
 
 
– – – ฟ
– – – ม
– – – ร
– – – ด
 

ตัวอย่างการบันทึกโน้ตเพลงสุดสงวน สามชั้น

 
 ซ ซ ซ ซ
   – – – ล
 ซ ซ ซ ซ
  – ท – ดํ
  – รํ – ท
  – – รํ ดํ
 ท ดํ – รํ
   – – – ฟ
 
 
 
 
 
 
 
 

 – ท ดํ รํ
          ซ
     ล ซ
 ล ซ
    ซ ล ท
 ล ท ดํ รํ
    ซ
          ท
 
 ด ร ฟ
 ฟ       ฟ
       ฟ ร
 ฟ
 
 ฟ    ฟ ด
 ฟ ร ด
 

 
 
    ซ
          ท
 รํ ดํ ท รํ
 ดํ ท ล ท
    ซ ล ท
 ดํ ท ล ซ
 ฟ ร ร ร
 ฟ ร ร ร
 ฟ    ฟ ด
 ฟ ร ด
 
 
 ฟ
 
 

 ดํ รํ ดํ ล
 รํ ดํ ล ซ
 ดํ ล ซ
 ล ซ
 
    ซ
 ซ
          ซ
 
 
          ฟ
       ฟ ร
 ฟ ด ฟ ร
 ฟ    ฟ ร
    ฟ ร ฟ
 ด ร ฟ
 

 ล     ซ ล
 ซ ดํ ซ ล
 ซ
 ซ ล ท ดํ
 รํ ดํ ท รํ
 ดํ ท ล ท
 ดํ ซ ล ท
 ดํ ท ล ซ
    ฟ
 
    ฟ ด ฟ
 
 
 
 
 
 

 ดํ รํ ดํ ซ
 ดํ ล ซ
 
        ซ ล
 ซ ล ท ดํ
 รํ ดํ ท ล
 ซ
 ซ ล ท ดํ
 
          ฟ
 ม ร ด ฟ
 ม ฟ
 
 
    ฟ ด ฟ
 
 

 ท    ท ท
 ดํ รํ ดํ ดํ
 
 ท ดํ ท ท
 ล ซ    ซ
 ล ท ดํ รํ
 
 
    ฟ
 
  ร ฟ ร ร
 
       ฟ
 
 ฟ ด ร ฟ
  ด ร ร ร
 

 
 ซ    ล ซ
    ล ซ
 ล ซ
          ท
 ล ท ดํ รํ
    ซ
          ท
 ฟ ด ฟ ร
    ฟ
 ฟ       ฟ
       ฟ ร
 ฟ ร ด
 
 ฟ    ฟ ด
 ฟ ร ด
 

 ล ซ ดํ ซ
 ล ท ดํ รํ
 ซ ล ท ดํ
 ท รํ ดํ ท
 ดํ ท ล ซ
 ดํ ซ ล ท
 ดํ ล ท ดํ
 รํ ท ดํ รํ
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 ซ ล ท ดํ
 ท ล ท ดํ
 ท ล รํ ล
 รํ ล ท ดํ
 ท ล ซ
 ล ซ
    ซ ล
 ซ ล ท ดํ
 
 
 
 
           ฟ
       ฟ ด
 ฟ       ฟ
 
 

    ซ ล ท
 ล ท ดํ รํ
    ซ
          ท
 รํ ท ดํ รํ
          ท
    ซ ล ท
 ดํ ท ล ซ
 ฟ
 
 ฟ    ฟ ด
 ฟ ร ด
 
 ฟ ร ด
 ฟ
 
 

 รํ ดํ รํ ล
 ดํ    ซ ล
 ล    ซ
 ซ
 
 ซ ล ดํ รํ
 ซ
          ซ
 
    ฟ
    ร     ฟ
    ด ฟ ร
 ฟ ด ร ด
 
    ฟ ร ฟ
 ด ร ฟ
ตัวอย่างการบันทึกโน้ต เพลงกล่อมนารี เถา สำหรับซออู้

สามชั้น

 
ซ ซ ซ ซ
– – – ล
ซ ซ ซ ซ
 ล ท
– ซ – ล
ท ล รํ ท
– ล – ซ
– – – ม
 
 
 
       ร ม 
 
 
 
 

– – -ซ ล ท
– ดํ – รํ
 
        – ซ
       – ซ
– – ล ท
ล ซ ล ท
– ดํ – รํ
 
 
– ม – ร
  – ด
  – ร
 
 
 
 

 ซ ล ซ
 ซ
 
       ซ
       ซ ล
 ดํ ล ซ
 ซ ล ซ
 ซ
          ม
    ม ร ด
ม ร ด ร
 ม ร    ม
 ร ม
          ม
          ม
    ม ร ด
 

 ซ
          ซ
    ล ซ
 ซ
 ดํ ล ซ
 ล ซ
 ซ
          ท
    ด ร ม
 ร ม ฟ
 ฟ       ฟ
    ฟ ม ร
           ม
        ม ร
     ม ร ด
 ม ร ด
 

รํ ล รํ ท
          ท
รํ ล รํ ท
          ท
       ซ
 ซ       ท
 รํ ท
    ท รํ ล
 
  ร ม ร
 
  ร ม ร
 ม ร    ม
    ร ม
       ม ร
 ม
 

          ซ
ท ล รํ ท
รํ ล ท รํ
ซ ท ล ซ
 
 ซ        ซ
 
    ซ ล ท
 ร ม ฟ
 
 
 
ฟ ร ม ฟ
    ม ฟ
ฟ ม ร ม
 ฟ
 

 ซ    ซ
        ซ ล
ซ ท ล ซ
 ท ล ซ
ซ ล ท รํ
    ล ซ
 ล ซ    ซ
       ซ ล
    ร     ม
  ร ม
 
           ม
 
 ม       ม
       ม
 ร ม
 

รํ ล ท รํ
ซ ท ล ซ
           ซ
ท ล รํ ล
    ซ
ซ ล ท รํ
ท ล ซ ล
รํ ท ล ซ
 
 
  ร ม ร
 
 ม    ร ม
 
 
 
กลับต้น

ใช้ทำนองต่อไปนี้แทนบรรทัดที่ 1 – 2

    ซ
ซ ล ซ ซ
 ท ล ซ
ซ ล ซ ซ
    ล ซ
       ซ ล
ท ล ซ ล
รํ ท ล ซ
 ม     ร ม
 
          ม
 
 ม       ม
 ร ม
 
 
 

ท ซ ล ท
ล ท ดํ รํ
ดํ ท ดํ รํ
ดํ ท ล ซ
ซ ล ท ซ
ล ท ล ท
ล ซ ล ท
ล ท ดํ รํ
 
 
 
 
 
 
 
 
 

สามชั้น ทางเปลี่ยน

– – – –
– – – ซ
– ซ ซ ซ
– ซ – ซ
 ล ท
        ซ ล
ท ล รํ ท
– ล – ซ
 
 
 
 
        ร ม
 ร ม
 
 
 

ล ล ล ล
– ท – ท
ดํ ดํ ดํ ดํ
– ซ – ซ
ล ล ล ล
– ท – ท
– ซ ล ท
ดํ รํ – รํ
 
 
 
 
 
 
 
 
 

– – – –
– – – รํ
– รํ รํ รํ
– รํ – รํ
ล ซ ดํ ล
 ดํ ซ ล
 ซ     ล ซ
 ล    ซ
 
 
 
 
 
           ม
    ม
    ม    ร
 

– – ล ล
 ดํ ล ซ
– – ซ ซ
 ล ซ
 
 ซ
 
           ท
 
           ม
 
        ม ร
– – ม ม
     ม ร ด
– – ร ร
 ม ร ด
 

 
     ซ ล ท
 
     ท ล ท
 
     ซ ล ท
 ล ท
    ท รํ ล
ฟ ม ร ม
 ฟ
ร ร ม ร
 ด
ฟ ม ร ม
 ฟ
        ร ม
 ร
 

 
 ซ       ท
– – ท ท
รํ ท ล ซ
 
    ซ     ซ
           ซ
ล ท ล ท
– – ม ม
    ม ร
 
 
– – ร ม
 ฟ    ฟ
  – – ฟ
 
 

 

ซ ซ ซ ซ
– ล – ล
ท ท ท ท
– รํ – รํ
 
 
ท ท ท ท
– ล – ล
 
 
 
 
ม ม ม ม
– ร – ร
 
 
 

       ซ ล
รํ ท ล ซ
ท ล ซ ล
ท ล รํ ท
    ซ
ซ ล ท รํ
ท ล ซ ล
รํ ท ล ซ
 ร ม
 
 
 
 ม    ร ม
 
 
 
กลับต้น

 

สองชั้น

 
 ซ ซ ซ ซ
– – – ล
ซ ซ ซ ซ
 
        – ท
ล ซ ล ท
– ดํ – รํ
– – – ม
 
 
 
– ม – ร
  – ด
 
 
 

ซ ล ท ดํ
       ซ
    ซ ล ซ
 
 ดํ ล ซ
 ล ซ
 ซ
          ท
 
 ม ร    ม
 ฟ
ฟ ม ร ด
          ม
       ม ร
    ม ร ด
 ม ร ด
 

รํ ล รํ ท
          ท
รํ ล ท ดํ
รํ ดํ ท ล
       ซ ล
ซ ท ล ซ
 
    ซ ล ท
 
  ร ม ร
 
 
 ร ม
 
ฟ ม ร ม
 ฟ
 

 
    ซ
ซ ล ซ ซ
ล ท ล ล
          ซ
ท ล รํ ท
 รํ     ซ ล
รํ ท ล ซ
ร ม ร ร
 ม    ม ม
 
 
  ร ม ร
 
    ม
 
 

สองชั้น ทางเปลี่ยน

– – – –
– – – ซ
– ซ ซ ซ
– ซ – ซ
– – – ซ
ล ท ดํ รํ
– ซ ล ท
ดํ รํ – –
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
ดํ ดํ ท ดํ
– – – –
รํ รํ ดํ รํ
ดํ ดํ ท ดํ
ท ท ล ท
– – – –
ม ม ร ม
ร ร ด ร
 
 
 
 
 
 

 
     ซ ล ท
 
       ท ล
 
    ท ล ซ
ท ล รํ ท
– – – –
– – ร ม
 ฟ
– – ร ม
 ร ด
– – ร ม
 ร
 
 
 

– – ท รํ
 ล ท
          ซ
        ซ ล
           ซ
– ล – ท
– รํ – ท
– ล – ซ
 
        ร ม
  – – ม
 ร ม
 ร ม ร
 
 
 
 

 

ชั้นเดียว

– – ซ ซ
– ซ – ซ
          ท
ล ท ดํ รํ
ดํ ดํ ดํ ดํ
– ท – ดํ
    ซ ล ซ
          ท
 
 
 ม ร ด
 
 
 
 ม
 ม ร ด
 

ล ซ ล ท
ล ท รํ ล
ท ล ซ ล
ท ล รํ ท
    ซ
ซ ล ท รํ
ท ล ซ ล
รํ ท ล ซ
 
 
 
 
 ม    ร ม
 
 
 
 

ชั้นเดียว ทางเปลี่ยน

– – ซ ซ
– ซ – ซ
          ท
ล ท ดํ รํ
 
– ท ดํ รํ
– ล ท ดํ
– ซ ล ท
 
 
 ม ร ด
 
– ด ร ม
 
 
 
 

 
           ซ
        ซ ล
– ซ ล ท
    ซ
 ซ ล ท รํ
ท ล ซ ล
รํ ท ล ซ
– ร ม ฟ
  – ม ฟ
  – ฟ
 
 ม    ร ม
 
 
 
ลูกหมด

– – ซ ซ
– ซ – ซ
          ท
ล ท ดํ รํ
       ซ ล
ดํ ซ – ล
ซ ล ดํ รํ
 
 
 
 ม ร ด
 
 ร ม
 
 
ม ด – ร
 

 
     ล ดํ ซ
– – ดํ ล
 ซ    ซ
           ซ
        ซ ล
– ซ ล ดํ
– ล ดํ รํ
– – ม ร
 ด
 
    ม    ร
  – ร ม
  – ม
 
 
 

สรุปทิ้งท้าย

ในการบันทึกโน้ตมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป คือ การบันทึกโน้ตแบบตัวเลข ซึ่งคิดขึ้นโดย             หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) ในปี พ.ศ.2457 การบันทึกโน้ตแบบสากล และการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษร ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด และการบันทึกโน้ตของซออู้จะนิยมบันทึกโน้ตในรูปแบบของโน้ตตัวอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท โดยแทนเสียงคือ ด (โด) ร (เร) ม (มี) ฟ (ฟา) ซ (ซอล) ล (ลา)             ท (ที) ซึ่งจะมีการทำตารางออกเป็น 2 แถว แถวละ 8 ห้อง โดยแต่ละแถวจะเทียบได้กับสายของซออู้ คือ สายทุ้มและสายเอก 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรีและธนวัฒน์  บุตรทองทิม. (2550). อักษราดุริยางค์ทางฆ้องวงใหญ่. กรุงเทพฯ:  

            สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พิภัช  สอนใย. (2553). การบรรเลงจะเข้. มหาสารคาม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอนก  นาวิกมูล. (2550). เพลงนอกศตวรรษ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชน.