เศรษฐกิจพอเพียงในระดับปฐมวัย(2)

การนำศาสตร์พระราชาสู่การจัดการเรียนรู้

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นศาสตร์ของพระราชาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และการปฏิบัติตนของคนทุกระดับ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตนที่ดี ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อีกทั้งยังต้องมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต อดทน มีความเพียร มีสติปัญญา พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกอีกด้วย วิธีการของศาสตร์พระราชาคือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาคน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เข้าใจ หมายถึง การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การใช้และแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์และการวิจัย การทดลองใช้จนได้ผลจริงก่อน เข้าถึง หมายถึง การระเบิดจากข้างใน เข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และสร้างปัญญาสังคม พัฒนา หมายถึง การพัฒนาที่เริ่มต้นด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้ และมีต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ให้เด็กได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ การประยุกต์ศาสตร์พระราชา ต้องทำด้วยความรัก ความปรารถนาและด้วยใจ ต้องประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ไม่ยึดติดตำรา ปรับตามบุคคล ภูมิสังคม สภาพพื้นที่ และสถานการณ์  อ่านต่อ…..