บทความ “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง”

“กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” ประยุกต์และปรับใช้เพื่อสร้างหนังจากคำว่า “กฎไตรลักษณ์” เป็นธรรมะที่ทําให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบไร้ซึ่ง กิเลส อันได้แก่ ลักษณะ 3 ประการ หมายถึง สามัญลักษณะ กล่าวคือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง

ประการที่หนึ่ง “อนิจจลักษณะ” คือ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ลักษณะของการทําหนังก็เช่นเดียวกัน งบประมาณ ทีมงาน นายทุน นักแสดง มี ลักษณะแปรเปลี่ยนระหว่างการถ่ายทําเสมอ

ประการที่สอง “ทุกขลักษณะ” คือ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ถูกบีบคั้นด้วยอํานาจของ ธรรมชาติทําให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไปอันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สําหรับผู้ริเริ่มทําหนังจะต้องปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้ยอมรับในสภาพแห่ง ขันติ อันจําเป็นต้องอดทนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ที่ต้องทํางานหนัก อย่างเข้าใจทั้งในช่วงการเตรียมการผลิต (Pre-Production) และช่วงเวลาถ่ายทํา (Production)

ประการที่สาม “อนัตตลักษณะ” คือ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตาม ต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ทีมงานมาตรงต่อเวลาได้ทุกคนไม่สามารถบังคับ จิตใจให้เป็นไปตามปรารถนาของตน โดยเฉพาะอารมณ์ของทีมงานในแต่ละฝ่ายที่ ผู้ช่วยผู้กํากับจะต้องจัดการอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละฝ่ายให้อยู่ในสภาวะที่ พร้อมทํางานอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งอารมณ์ของผู้กํากับเองก็อาจเป็นประเด็นหลัก ที่กระทบกระทั่งกับฝ่ายต่าง ๆ ในกอง เป็นต้น

การเข้าใจใน “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” จึงจําเป็นสําหรับผู้ที่เริ่มทําหนังหน้า ใหม่เพื่อจะได้ลดข้อจํากัดอันเกิดจากความไม่เข้าใจในศาสตร์แห่งหนึ่งของผู้ไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ

— –

“ยืนหยัดต่อสู้ดิ้นรนจิตตั้งมั่นทําหนังดั่งการวิปัสสนา” นี่คือแก่นที่เราต้อง ยึดถ้าอยากอยู่ในวงการหนังบนผืนพิภพโลกใบนี้ เมื่อมีโอกาสมักจะบอกคนรุ่นใหม่เสมอจะอยู่ในวงการนี้ต้องสามารถ “กินเลือดตัวเองได้ (อย่างเอร็ดอร่อย) อย่างเข้าใจในกฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” ถ้าสามารถทําได้อย่างนี้สามารถอยู่ในวงการนี้ได้

จิตวิญญาณคนทําหนัง

การเดินทางของนักทําหนังต้องมีแกนกลางและวิธีคิดที่ถูกต้องเพื่อประคับ ประคองไอเดีย จินตนาการและอุดมการณ์อันสร้างสรรค์สะท้อนสิ่งแปลกใหม่ให้กับ โลกภาพยนตร์โดยยึดกฎเหล็ก 3 ข้อ ดังนี้

1. ใจและจินตนาการ ประกอบด้วย “ใจ” กล่าวคือ เราต้องทําในสิ่งที่เรารัก แบบมีความสุขพร้อมและยอมตายไปกับสิ่งนั้น เปรียบได้ดั่งลมหายใจเป็นหนึ่งเดียว กับสิ่ง ๆ นั้น “จินตนาการ” คือ เราต้องมีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ที่ไม่เหมือน ใครและสามารถเกิดขึ้นได้จริงจนต่อยอดเชื่อมโยงไปยังศาสตร์อื่นได้

2. เราต้องทําในสิ่งที่คนอื่นทําไม่ได้เราทําได้อยู่คนเดียว อันหมายถึง เรา ต้องมีอัตลักษณ์ สไตล์หรือลายเซ็นเป็นของตัวเองที่คนอื่นไม่สามารถทําได้ เพื่อก่อ เกิดวิธีการทํางานในแบบฉบับของเรา

3. ไม่มีอะไรที่ทําไม่ได้ถ้าทําด้วยหัวใจ อันหมายถึง การแสวงหาความฝันหรืออุปสรรคปัญหาใด ๆ ในโลกนี้จะพังทลายลงถ้าเราใช้ใจทําโดยไม่หวังสิ่งใด ๆ การทุ่มเทด้วยหัวใจจะนําพาก้าวผ่านสู่ยุคนวัตกรรมด้านภาพยนตร์เฉกเช่นประเทศ พัฒนาแล้ว

ด้วยวิธีคิดเช่นนี้จึงก่อเกิดอุดมการณ์แห่งหนึ่งเมื่อพัฒนาโปรเจกต์ต่าง ๆ จะทําให้ เรื่องราวที่ทําสะท้านสะเทือนใจไปกับเหตุการณ์ที่คนทําหนังพยายามตีแผ่ผ่านบริบท ทางสังคมอย่างแยบยลและตรงมาตรงไปแบบบันทึกหน้าประวัติศาสตร์วงการหนัง

กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง

การทําหนังให้มีความสุขตามวิถีพุทธอย่างเข้าใจในเหตุและปัจจัยที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สมควรอย่างยิ่งที่ต้องหยิบยกหลักธรรมขึ้นมาเป็นพื้นฐาน สําหรับผู้ทําหนังในนิยามใหม่ที่ไม่ค่อยมีใครนําเสนอ นั่นคือการนํา “ธรรมะมาปรับใช้กับการทําหนัง” โดยยึด “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหนังโดยเฉพาะ

“กฎไตรลักษณ์” เป็นธรรมะที่ทําให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบไร้ซึ่ง กิเลส อันได้แก่ ลักษณะ 3 ประการ หมายถึง สามัญลักษณะ กล่าวคือ กฎธรรมดา ของสรรพสิ่งทั้งปวง โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. อนิจจลักษณะ คือ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ลักษณะของการทําหนังก็เช่นเดียวกัน งบประมาณ ทีมงาน นายทุน นักแสดง มี ลักษณะแปรเปลี่ยนระหว่างการถ่ายทําเสมอ เช่น ค่าตัวทีมงาน คิวของนักแสดง และงบประมาณในการใช้จ่ายในแต่ละวัน เป็นต้น

ผู้ทําหนังต้องเข้าใจในเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบ ไม่รู้ตัว หรือไม่ทันตั้งตัวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

2. ทุกขลักษณะ คือ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ถูกบีบคั้นด้วยอํานาจของ ธรรมชาติทําให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไปอันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สําหรับผู้ริเริ่มทําหนังจะต้องปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้ยอมรับในสภาพแห่ง ขันติ อันจําเป็นต้องอดทนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ที่ต้องทํางานหนัก อย่างเข้าใจทั้งในช่วงการเตรียมการผลิต (Pre-Production) และช่วงเวลาถ่ายทํา (Production)

3. อนัตตลักษณะ คือ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตาม ต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ทีมงานมาตรงต่อเวลาได้ทุกคนไม่สามารถบังคับ จิตใจให้เป็นไปตามปรารถนาของตน โดยเฉพาะอารมณ์ของทีมงานในแต่ละฝ่ายที่ ผู้ช่วยผู้กํากับจะต้องจัดการอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละฝ่ายให้อยู่ในสภาวะที่ พร้อมทํางานอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งอารมณ์ของผู้กํากับเองก็อาจเป็นประเด็นหลัก ที่กระทบกระทั่งกับฝ่ายต่าง ๆ ในกอง เป็นต้น

การเข้าใจใน “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” จึงจําเป็นสําหรับผู้ที่เริ่มทําหนังหน้า ใหม่เพื่อจะได้ลดข้อจํากัดอันเกิดจากความไม่เข้าใจในศาสตร์แห่งหนึ่งของผู้ไม่มี ประสบการณ์ที่มากพอ หรือการทํางานในลักษณะที่ต้องแก้ปัญหาตลอดเวลาโดย เฉพาะช่วงเวลาของการออกกองถ่ายทําที่มักจะเห็นปัญหาของการไม่เข้าใจของทีม งานในแต่ละฝ่าย หลักการนี้จึงเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานแห่งการทําหนังในเบื้องต้น

ผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ หรือคนทําหนังจะต้องก้าวผ่านคําว่า “ไม่มี ไม่ได้ไม่พร้อมและไม่มีทุน” เมื่อมีแก่นธรรมที่อธิบายความเป็นไปแห่งสรรพสิ่งของ “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” จะช่วยยกระดับแห่งสติปัญญาแห่งการทําหนังให้สูงขึ้น อันจะสร้างบรรยากาศการ ทํางานที่พึงประสงค์ ในแบบที่แต่ละคนต่างรู้หน้าที่ของตนเอง ช่วยให้บรรยากาศ ในกองเป็นมิตรและเกิดความเข้าใจในมุมต่างแห่งปัจเจก ดังนั้น ธรรมะที่เหมาะสม สําหรับผู้ทําหนังในชั้นต้นอีกหมวดหนึ่งที่ควรศึกษา นั่นคือ “อิทธิบาท 4” อันหมาย ถึง ธรรมแห่งความสําเร็จอันประกอบด้วย (พระพรหมคุณาภรณ์, 2557, น.604)

1. ฉันทะ หรือความพอใจ หมายถึง คนทําหนังต้องชอบหรือศรัทธางานที่ทํา อยู่ และมีความสุขกับงานทํา หรือตําแหน่งที่ได้รับมอบหมาย

2. วิริยะ หรือ ความพากเพียร คนทําหนังต้องมีความขยันหมั่นเพียรใน ตําแหน่งที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่องจนถึงแก่นแท้ เพื่อให้การทํางานมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

3. จิตตะ หรือ ความเอาใจใส่ หมายถึง คนทําหนังจะต้องมีจิตใจหรือสมาธิ จดจ่อกับงานที่ทํา “ดั่งการวิปัสสนาขณะทําหนังในทุกขณะจิต” รวมทั้งมีความ รอบคอบและความรับผิดชอบในงานที่ทําอย่างเต็มสติกําลัง

4. วิมังสา หรือ ความหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลในงานที่ทํา ทํางาน ด้วยปัญญา ด้วยสติระลึกรู้ รวมถึงเข้าใจในงานหนังอย่างลึกซึ้ง ทั้งในแง่ขั้นตอน และผลสัมฤทธิ์ของงาน

การทํางานสร้างสรรค์สำหรับโปรเจกต์นี้ “ทีมงาน” เป็นปัจจัยสําคัญอันดับแรกที่จะ ทําให้ทุกอย่างสําเร็จตามจุดมุ่งหมายและการทําหนังนั้นไม่สามารถสําเร็จได้ด้วยคน เพียงคนเดียว หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน หลักธรรมที่เหมาะ สมสําหรับการทํางานร่วมกัน คือ “สังคหวัตถุ 4” อันหมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวนําใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันได้แก่

1.ทาน หรือการเกื้อกูลกันด้วยการให้การเสียสละการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันของๆ ตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้แต่ฝ่าย เดียว จะช่วยให้คนทําหนังลดภาวะการมีตัวตนในอัตตาแบบมีอีโก้ส่งผลการให้ที่ยิ่ง ใหญ่คือการให้อภัยในทีมงานทุกๆ ฝ่ายโดยเฉพาะตัวผู้กํากับเอง

2. ปิยวาจา หรือ การใช้วาจาประสานไมตรี การพูดจาด้วยถ้อยคําระรื่นหู พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคาย ก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเหมาะ สมกับกาลเทศะ ดังนั้น การทํางานร่วมกับทีมงานผู้อื่นจําเป็นต้องพูดหรือปรึกษา หารือกันโดยยึดถือหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ

ประการที่1 เว้นจากการพูดเท็จ เพราะการพูดเท็จจะนําหายนะมาสู่กอง ไม่ ช้าก็เร็วโดยเฉพาะตอนอยู่หน้าเซ็ต

ประการที่ 2 เว้นจากการพูดส่อเสียด เพราะการพูดส่อเสียดจะนําความ ขัดข้องหมองใจแบบอารมณ์นําพาและไร้เหตุผลมาสู่กอง

ประการที่3 เว้นจากการพูดคําหยาบเมื่อเริ่มมีอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เพราะ จะทําให้ความศรัทธาลดน้อยถอยลงไป

ประการที่ 4 เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เพราะเมื่ออยู่หน้ากองทุกคนต้องการ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อแก้ปัญหาในทุกขณะจิตแบบวินาทีต่อวินาทีที่สําคัญอย่าง ยิ่งคือต้องพูดหรือเจรจากันด้วยไมตรีและความปรารถนาดีที่มีต่อกัน

3. อัตถจริยา หรือ ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ พึ่งคิดเสมอว่าการทําหนัง เป็นการปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ด้วยเหตุ หนังมี 2 หน้าที่ อันได้แก่

หนึ่ง “หนังคือสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง” และสอง “หนังคือศิลปะ” สิ่ง ใดที่สะท้อนจากหนังมันคือแก่นแท้ แห่งชีวิตที่สะท้อนรากเหง้า ความเป็นไปแห่งสยามประเทศ การทํางานร่วมกันต้องช่วยเหลือ กันด้วยกําลังใจ และกําลังกาย ประกอบสร้างกันและกันจนหนังสัมฤทธิ์

4. สมานัตตา หรือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย ผู้ทํางานร่วมกันทุกคนจะต้องไม่ถือตัว มีความเสมอภาควางตนเสมอต้นเสมอปลาย ทําให้ตนเป็นที่น่ารัก น่าเคารพ และให้ความร่วมมือช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน

จะเห็นได้ว่าหลักธรรมที่ใช้ในการทํางานที่กล่าวมา ทั้งอิทธิบาท 4 และ สังคหวัตถุ 4 เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวที่ปฏิบัติกันอยู่แล้วในฐานะปัจเจกชน แต่ ยังขาดความเข้มข้นเอาจริงเอาจัง หากคนทําหนังสั้นที่เพิ่งเริ่มต้น สามารถ ปฏิบัติได้พร้อมกันอย่างสมบูรณ์ “มากกว่าการพูดแล้วไม่ลงมือทํา” เชื่อมั่น เหลือเกินว่าความสําเร็จอยู่อีกไม่ไกลเกินเอื้อม อันจะสร้างบรรยากาศในการทํา โปรเจกต์ได้อย่างลงตัว และจะไม่เจอปัญหาตอนออกกองถ่ายให้กลัดกลุ้มใจ

ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้เคยทำงานวิจัยวิจัยเรื่อง “กระบวนการสื่อความหมายด้านแก่นความคิดทาง พระพุทธศาสนาในภาพยนตร์เรื่องธุดงควัตร โดย วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์ และ คณะ (2560) ได้ทําการวิจัยเชิงสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์เรื่อง “ธุดงควัตร (2560)“เน้น การศึกษาวิจัยวิธีปฏิบัติตนถือธุดงควัตรแบบพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในข้อ วิจัยพบว่า “สุดท้ายแล้วสรรพสิ่งแตกดับกันที่จิตและทําหนังก็เป็นดั่งการวิปัสสนา” จึงได้เกิดคําว่า “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” ขึ้น อันได้ยึดกฎไตรลักษณ์แห่งพระพุทธ ศาสนา และหลักสติปัฏฐาน 4 อันประกอบไปด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นที่ตั้ง โดยใช้กระบวนการตามดูจิตของแนวทางคําสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงพ่อ เทียนจิตตสุโภ ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้ความรู้สึกตัวในการปฏิบัตินํามาประยุกต์การ ทําหนังในทุกขั้นตอน เมื่อเกิดปัญหามากระทบจิตโดยผ่านอายตนะทั้ง 6 สิ่งที่คนทําหนังทุกคนต้องทํา คือการตามดูตามรู้อารมณ์แห่งจิต ว่าอารมณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว ตั้ง อยู่สักระยะ แล้วก็ดับไปในที่สุด จะส่งผลให้เกิดปัญญาขณะถ่ายทําอันลดปัญหา ตอนอยู่หน้ากอง และเข้าใจในธรรมชาติทุกสิ่งที่เข้ามาเผชิญในช่วงเวลานั้นเป็นการแก้ไขปัญหาในทักษะขั้นสูงเชิงวิถีพุทธโดยยึดหลักพุทธธรรมที่มาปรับใช้ในงานด้านภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี อันจะส่งผลต่อปัญญาที่แท้จริงในการแก้ปัญหาในการผลิตภาพยนตร์ได้

สรุป

ผู้ทําหนังต้องเข้าใจในเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบ ไม่รู้ตัว หรือไม่ทันตั้งตัวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาการเข้าใจใน “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” จําเป็นสําหรับผู้ที่เริ่มทําหนังหน้าใหม่เพื่อจะได้ลดข้อจํากัดอันเกิดจากความไม่เข้าใจในศาสตร์แห่งหนึ่งของผู้ไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ หรือการทํางานในลักษณะที่ต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงเวลาของการออกกองถ่ายทําที่มักจะเห็นปัญหาของการไม่เข้าใจของทีมงานในแต่ละฝ่าย หลักการนี้จึงเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานแห่งการทําหนังในเบื้องต้น หลักธรรมที่เหมาะสมสําหรับการทํางานร่วมกัน คือ “สังคหวัตถุ 4” และ“อิทธิบาท 4 ที่จะประคองความคิดและงานนั้นให้สำเร็จ

ทั้งนี้ “กฎไตรลักษณ์แห่งหนัง” ประยุกต์และปรับใช้เพื่อสร้างหนังจากคำว่า “กฎไตรลักษณ์” เป็นธรรมะที่ทําให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบไร้ซึ่ง กิเลส อันได้แก่ ลักษณะ 3 ประการ หมายถึง สามัญลักษณะ กล่าวคือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง

ประการที่หนึ่ง “อนิจจลักษณะ” คือ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ลักษณะของการทําหนังก็เช่นเดียวกัน งบประมาณ ทีมงาน นายทุน นักแสดง มี ลักษณะแปรเปลี่ยนระหว่างการถ่ายทําเสมอ

ประการที่สอง “ทุกขลักษณะ” คือ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ถูกบีบคั้นด้วยอํานาจของ ธรรมชาติทําให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไปอันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สําหรับผู้ริเริ่มทําหนังจะต้องปรับสภาพร่างกาย และจิตใจให้ยอมรับในสภาพแห่ง ขันติ อันจําเป็นต้องอดทนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ที่ต้องทํางานหนัก อย่างเข้าใจทั้งในช่วงการเตรียมการผลิต (Pre-Production) และช่วงเวลาถ่ายทํา (Production)

ประการที่สาม “อนัตตลักษณะ” คือ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตาม ต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ทีมงานมาตรงต่อเวลาได้ทุกคนไม่สามารถบังคับ จิตใจให้เป็นไปตามปรารถนาของตน โดยเฉพาะอารมณ์ของทีมงานในแต่ละฝ่ายที่ ผู้ช่วยผู้กํากับจะต้องจัดการอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละฝ่ายให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมทํางานอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งอารมณ์ของผู้กํากับเองก็อาจเป็นประเด็นหลักที่กระทบกระทั่งกับฝ่ายต่าง ๆ ในกอง เป็นต้น

อ้างอิงจาก : หนังสือ “หนังสั้นทำเอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์

#บ้านสมเด็จ #ฟิล์มบ้านสมเด็จ #มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา #บ้านแห่งความสำเร็จบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #สาขาวิชาภาพยนตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา #www.bsru.ac.th