การประยุกต์ใช้เทคนิค QFD เพื่อค้นหาคุณลักษณะผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์สิ่งแวดล้อมจากผักตบชวา

คุณลักษณะเทคนิค QFD เป็นการประยุกต์ใช้การแปลงหน้าที่ผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพให้เป็นแนวทางปฏิบัติด้วยการให้ความสําคัญกับเสียงสะท้อนความต้องการของผู้บริโภค อันเป็นจุดมุ่งหมายหลักที่ต้องการสร้างความพึงพอใจให้เกิดกับผู้บริโภคสูงสุด ซึ่งอาศัยการค้นหาคุณลักษณะบ่งชี้ถึงปัญหาของผลิตภัณฑ์เดิมที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการออกแบบใหม่ที่ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะอาศัยการรับฟังเสียงจากลูกค้า (Voice ofCustomer)และ นําเสียงสะท้อนมาแปลงเป็นคุณลักษณะบ่งชี้เพื่อนําเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่พบในขั้นตอนออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยการวิเคราะห์บ้านแห่งคุณภาพ (Houseof Quality) (Haktanir, E., & Kahraman, C., 2022) เพื่อเป็นการสร้างโอกาสที่จะประสบความสําเร็จในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยถือเป็นกระบวนการออกแบบที่ใช้วิธีการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยอาศัยคุณลักษณะบ่งชี้ที่ได้จากความต้องการของผู้บริโภคเองมาสร้างเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ (Yu, R. Y., et al., 2022)ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมาการวิจัยครั้งนี้จึง นําเอาเทคนิค QFD เข้ามาเป็นเครื่องมือค้นหาคุณลักษณะผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์สิ่งแวดล้อมจากผักตบชวาเนื่องจากประเทศไทยปัจจุบันประสบปัญหาการแพร่กระจายของผักตบชวาตามแหล่งน้ําขนาดใหญ่จํานวนมากทั้งยังปรากฏปัญหาการแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วของผักตบชวา จนไม่สามารถกําจัดหรือนําไปใช้งานได้ทัน ส่งผลให้เกิดปัญหาในลักษณะสิ่งปฏิกูลกีดขวางการสัญจรทางน้ํา หรือปิดกั้นการไหลของน้ําส่งผลให้เกิดการหยุดนิ่งของกระแสน้ําที่กระทบต่อปริมาณออกซิเจนที่สัตว์น้ําใช้ในการดํารงชีวิต ดังนั้นการวิจัยจึงมุ่งหมายในการสร้างแนวทางการนําผักตบชวามาใช้ประโยชน์ในอีกรูปแบบหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการนําเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ซึ่งการออกแบบครั้งนี้เป็นการนําผักตบชวามาผสมผสานร่วมกับเศษขยะเปียกจากครัวเรือนที่ แปรสภาพเป็นดินเทียมที่มีประโยชน์และธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืช จนกระทั่งสามารถนําผักตบชวาสู่การสร้างสรรค์รูปทรงผลิตภัณฑ์กระถางสําหรับปลูกต้นไม้ที่ผลิตขึ้นจากดินเทียมครั้งนี้ ซึ่ง กรณีศึกษาของการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งค้นหาคุณลักษณะบ่งชี้ของผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์สิ่งแวดล้อมจากผักตบชวาที่ มีโอกาสตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการที่เกิดขึ้นจากของผู้บริโภคและตลาดผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมหากแต่ปัญหาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและยอดจําหน่ายที่มีปริมาณไม่เพียงพอสร้างผลกําไรกับผู้ผลิตโดยมุ่งนําเสนอกลวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิค QFD เบื้องต้นเท่านั้นซึ่งในความจริงแล้วถึงแม้ว่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น นักออกแบบจะใช้เครื่องมือหรือแบบจําลอง (Mental Model) หลากหลายรูปแบบเข้ามาช่วยสนับสนุนกระบวนการในการออกแบบ แต่ปัญหาผลิตภัณฑ์จะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมียอดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ดีหรือไม่ยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาส่งอิทธิพลเพิ่มเติมอีกมากมายที่เกี่ยวข้องและสามารถส่งผลกระทบในหลากหลายด้านถึงแม้จะเป็นนักออกแบบ 
scholar.google.com/citations?view_op=list_works&hl=th&hl=th&user=bWk8b9QAAAAJ
https://bsru.net

https://medium.com/@janyawan.ja/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84-qfd-aa3fda84c2f1