ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)

บทนำ

เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจายเกิดจากการรวมกันของเทคโนโลยีฐานข้อมูลและเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยในการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย ในขณะที่ระบบฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมมุ่งเน้นไปที่การจัดการการเข้าถึงข้อมูลแบบรวมศูนย์ ฐานข้อมูลแบบกระจายช่วยในการรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลโดยแอปพลิเคชันได้ทั้งแบบรวมศูนย์หรือกระจาย

ความหมายของฐานข้อมูลแบบกระจาย

ฐานข้อมูลแบบกระจายคือกลุ่มของฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันจำนวนมากกระจายอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชึ่งระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจะประกอบด้วยกลุ่มของศูนย์ฐานข้อมูลย่อย ติดต่อสื่อสารกัน โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร โดยที่แต่ละศูนย์ฐานข้อมูลย่อย สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และยังสามารถให้ผู้ใช้จากจุดอื่น ๆ เข้ามาใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลได้ตามข้อตกลง โดยผู้ใช้จะไม่รู้สึกถึงการกระจายของข้อมูลเลย

คุณลักษณะของฐานข้อมูลแบบกระจาย

การกระจายของฐานข้อมูลทำให้เกิดความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในการออกแบบระบบและการนำไปใช้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย และทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานจริง ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจำเป็นต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

ความเป็นอิสระของตำแหน่ง คือการที่ผู้ใช้ฐานข้อมูลไม่จำเป็นต้องทราบว่าฐานข้อมูลที่กำลังเชื่อมต่ออยู่ที่ใด แต่สามารถเรียกค้นข้อมูลได้เสมือนหนึ่งว่ามีฐานข้อมูลเพียงฐานข้อมูลเดียว

ความอิสระจากศูนย์ฐานข้อมูลกลาง หมายถึง ศูนย์ฐานข้อมูลย่อยแต่ละศูนย์จะมีความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง ไม่ได้ขึ้นตรงต่อศูนย์ฐานข้อมูลแต่อย่างใด

การติดตามการกระจายข้อมูล ความสามารถในการติดตามการกระจายข้อมูลการกระจายตัวและการจำลองแบบโดยการขยายรูปแบบของฐานข้อมูลแบบกระจาย

การประมวลผลการเรียกค้นข้อมูลแบบกระจาย ความสามารถในการเข้าถึงฐานข้อมูลระยะไกล และส่งข้อความค้นหาและข้อมูลระหว่างศูนย์ฐานข้อมูลย่อยต่าง ๆผ่านเครือข่ายการสื่อสาร

การจัดการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมแบบกระจาย ความสามารถในการดำเนินการสืบค้นและการทำธุรกรรมที่เข้าถึงข้อมูลของศูนย์ฐานข้อมูลย่อยได้จากหลายแหล่งข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อสอดประสานการเข้าถึงข้อมูลแบบกระจาย และดูแ์ลความถูกต้องของฐานข้อมูลโดยรวม

การจัดการสำเนาข้อมูล ความสามารถในการตัดสินใจว่าจะเข้าถึงสำเนาข้อมูลของรายการข้อมูลที่มีการสำเนาแบบใด ทั้งนี้ เพื่อรักษาความสอดคล้องของสำเนาของรายการข้อมูลที่มีอยู่หลายศูนย์ฐานข้อมูลย่อย

การกู้คืนฐานข้อมูลแบบกระจาย ความสามารถในการกู้คืนข้อมูลที่เกิดความผิดพลาดได้จากหลายศูนย์ฐานข้อมูลย่อย ทำให้การกู้คืนข้อมูลมีความรวดเร็ว และมีประสืทธิภาพ

ข้อดีของฐานข้อมูลแบบกระจาย

หากระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ระบบจะต้องหยุดโดยสมบูรณ์ แต่ความผิดพลาดของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย ระบบจะยังทำงานต่อไปโดยลดประสิทธิภาพลง จนกว่าข้อผิดพลาดจะได้รับการแก้ไข

สามารถลดต้นทุนของการเชื่อมต่อ โดยการเก็บข้อมูลไว้ที่ศูนย์ฐานข้อมูลย่อยที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด ซึ่งระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไม่สามารถทำ

สามารถขยายระบบโดยการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายใหม่และข้อมูลในเครื่องไปยังศูนย์ฐานข้อมูลย่อยใหม่และเชื่อมต่อกับระบบแบบกระจายได้ เนื่องจากสามารถพัฒนาฐานข้อมูลแบบกระจายแบบแยกส่วนได้

สรุป

ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายประกอบด้วยกลุ่มของศูนย์ฐานข้อมูลย่อย ติดต่อสื่อสารกันผ่านทางระบบเครือข่าย โดยที่แต่ละศูนย์ฐานข้อมูลย่อยจะมีความเป็นอิสระในการดำเนินการ และยังสามารถให้ผู้ใช้จากศูนย์อื่น ๆ เข้ามาใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลด้ตามข้อตกลง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานของผู้ใช้แต่อย่างใด แต่กลับช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ที่กี่ยวข้องกับฐานข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้น

การอ้างอิง

Mole, Patrick. (2020). Empirical Research on the Challenges of Distributed Databases: A Literature Review. Distributed and Parallel Databases.

Santiago, Mateo, (2021). Review on Distributed Database Systems: International Journal of Innovations in Engineering Research and Technology, 8(07), 334–336.

Zina Jabbar Ahmed* & Saadi Hamad Thalij Alluhaibi. (2022).Review of Distributed Database from Different Perspectives . Journal of Optoelectronics Laser, 41(8), 468–483.