การเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมือง

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งช่วยกรองมลพิษเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรงให้คนเมือง แต่ปัญหาคือ พื้นที่สีเขียวในเมืองมีไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การเข้าถึงเป็นไปโดยยากในบางพื้นที่ บทบาทของพื้นที่สีเขียวบางแห่งไม่เอื้ออำนวยต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองเพื่อช่วยให้ประชาชนคนเมืองมีทางเลือกในการพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น โดยการทำพื้นที่ว่างบริเวณข้างบ้านหรือรอบๆบ้านของตนเอง พื้นที่ที่ตนอยู่อาศัยหรือพื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ เลือกปลูกต้นไม้ประเภทพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวด้วย และที่สำคัญควรมองต้นไม้ให้มีคุณค่ามากกว่าเป็นแค่เครื่องประดับของบ้านและเมืองหรือแค่ให้ร่มเงา แต่ควรมองให้เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้บ้านและเมืองของตนเองมีเอกลักษณ์ เช่น ถ้ามีต้นไม้ใหญ่หน้าร้านอาหาร โรงแรม ในชุมชนหรือริมทางเดินทางเท้าถนน ให้ใช้หลักทางภูมิศาสตร์ช่วยในการออกแบบให้ต้นไม้กับอาคาร ร้านอาหารหรือริมทางเดิน ที่มีรูปแบบที่กลมกลืน สวยงาม ใช้เป็นจุดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวหรือสร้างเป็นแลนด์มาร์คในย่านชุมชนและยังช่วยสร้างความร่มรื่นให้กับสถานที่ได้อีกด้วย การจัดสวนภายในพื้นที่รอบบ้านของตนเองตามรูปแบบลักษณะที่ตนเองชอบ

มาตรฐานเนื้อที่สวนสาธารณะ(พื้นที่สีเขียว)

มาตรฐานเนื้อที่สวนสาธารณะ(พื้นที่สีเขียว)ต่อประชากรในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจะกำหนดเนื้อที่สวนสาธารณะ(พื้นที่สีเขียว)ต่อประชากรที่ต่างกันไป ได้แก่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท Litchfield Whiting Brown & Associate สำนักผังเมือง และJICA กำหนดเนื้อที่สวนสาธารณะ(พื้นที่สีเขียว) คือ 16 ตร.ม./คน ส่วนการเคหะแห่งชาติและฉบับปรับปรุง กำหนดไว้ 3.20 และ 2.88 ตร.ม./คน ตามลำดับ โดยใช้กำหนดเป็นมาตรฐานแต่ละพื้นที่ต่างออกไปด้วย

การจำแนกสัดส่วนขั้นต่ำของพื้นที่สีเขียวตามขนาดของเทศบาล โดยที่ เทศบาลตำบลกับเทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนเทศบาลนคร กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ควรมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 12 ตร.ม./คน จากทั้ง 3 ตาราง แสดงให้เห็นว่าพื้นที่เขียวในปัจจุบันยังมีน้อยอยู่ และไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของกรุงเทพมหานคร

คำว่า พื้นที่สีเขียว ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ทั่วไปมักจะหมายถึง สวนสาธารณะ ซึ่งเป็นบริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก กั้นเป็นขอบเขตไว้เพื่อประชาชนทั่วไปจากงานวิจัยมาตรการในการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนอย่างยั่งยืน โดยศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้คำนิยามของ “พื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนเมือง” ว่าหมายถึง พื้นที่โล่งว่างในเขตเทศบาล ซึ่งมีพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลักได้รับการจัดการตามหลักวิชาวนวัฒนวิทยาและหลักการทางภูมิสถาปัตย์ เพื่อเสริมสร้างภูมิทัศน์ให้เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อนหย่อนใจและเพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของเมือง อันจะทำให้ชุมชนเมืองเป็นเมืองสีเขียวที่ร่มรื่นสวยงามและน่าอยู่ตลอดไป และพื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ที่มี พรรณไม้เป็นองค์ประกอบหลัก และเมื่อกล่าวถึงพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนมักหมายถึงพื้นที่ที่มีไม้ต้นขนาดใหญ่ และได้รับการดูแลบำรุงรักษาให้มีความสมบูรณ์ และสามารถคงอยู่อย่างต่อเนื่อง พื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนในเมืองอาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติหรือพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นในชุมชนเมือง ตั้งอยู่กลางแจ้งหรือกึ่งกลางแจ้ง ปกคลุมไปด้วยพืชพรรณบนดินที่ซึมน้ำได้ทั้งหมดหรือมีสิ่งก่อสร้างรวมอยู่ด้วยเป็นบางส่วน อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชนที่ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในทางผังเมือง

โดย “พื้นที่สีเขียว” ถูกจัดให้อยู่ในประเภทของ “พื้นที่โล่ง” เป็นพื้นที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เมืองมีความน่าอยู่ พื้นที่จะช่วยสร้างสาธารณประโยชน์ให้แก่ ชุมชน ทั้งในด้านสุขภาวะ ความปลอดภัยและสวัสดิการ ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ ลดอุณหภูมิของเมือง ลดปรากฏการณ์เรือนกระจก กรองรังสีอุลตราไวโอเลตที่แผ่ จากชั้นบรรยากาศ ช่วยลดการพังทลายของดินริมแหล่งน้ำ ช่วยลดความเร็วของ ลมหรือเปลี่ยนทิศทางลม ลดมลภาวะทางเสียง ส่งเสริมให้ระบบนิเวศสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ช่วยลดการสะท้อนจาก แสงไฟของยานพาหนะ ภูมิทัศน์ที่สวยงามช่วยเพิ่มมูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ช่วยปกป้องประชาชน และชุมชนจากภัยธรรมชาติกรณีน้ำหลากน้ำท่วม เป็นพื้นที่กันชนระหว่างพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันด้านการใช้ประโยชน์ ช่วยส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมของเมืองโดยเฉพาะแหล่งมรดกโบราณสถาน และยังมีหน้าที่อื่นแล้วแต่แนวคิดและนวัตกรรมของแต่ละท้องถิ่น

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดพื้นที่สีเขียว ตามวิถีชีวิตคนเมือง ได้แก่

(1) พื้นที่สีเขียวธรรมชาติ เป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของพืชและสัตว์ เป็นแหล่งอาหาร รักษาสภาพบรรยากาศ สร้างความร่มรื่น เช่น ป่าไม้ เนินเขา แหล่งน้ำธรรมชาติ ป่าชุมชน ป่าชายเลน พรุ

(2) พื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการสาธารณะ นันทนาการและการพักผ่อน ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการ เพื่อคุณภาพชีวิต และในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้แก่เมือง เช่น สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สนามกีฬา สวนหย่อม ลานเมือง สวนสุขภาพ ลานกิจกรรม

(3) พื้นที่สีเขียวเพื่ออรรถประโยชน์ เสริมสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศให้แก่ชุมชน เช่น สวนในบ้าน โรงแรม ศาสนสถาน หมู่บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล พื้นที่ฝังกลบขยะ

(4) พื้นที่สีเขียวริมเส้นทางสัญจรและรักษาภูมิทัศน์ของเมือง เช่น แนวถนน เกาะกลางถนน ริมทางเท้า ริมเส้นทางรถไฟ ไหล่ทาง ริมแม่น้ำลำคลอง จัตุรัสกลางเมือง

(5) พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจชุมชน เป็นพื้นที่ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ เจ้าของ พร้อมทั้งมีคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่การผลิตทางเกษตรกรรม แหล่งอาหาร และการท่องเที่ยว เช่น สวนเกษตร สวนสมุนไพร สวนป่าเศรษฐกิจ สวนผลไม้

(6) พื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เช่น พื้นที่กันชนระหว่างชุมชนกับอุตสาหกรรม พื้นที่ป้องกันและรองรับน้ำท่วม

(7) พื้นที่สีเขียวอื่นๆ เช่น พื้นที่รกร้าง สำหรับพื้นที่สีเขียวบางรูปแบบ เช่น สวนหลังคา และสวนผนัง ตามอาคาร ช่วยลด ความร้อนในเมืองและสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น และพื้นที่โครงข่ายสีเขียว ตามเส้นทางสัญจร ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในเมืองใช้จักรยานและพัฒนาระบบ ทางเดินเท้าให้เป็นย่านแห่งการเดิน

โดยทั่วไปพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับเขตชุมชนเมืองควรเป็นไม้ยืนต้น ไม้พื้นถิ่น มีความหลากหลายของพืชพรรณ อายุและขนาด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือการใช้ประโยชน์พื้นที่ ควรมีเรือนยอดที่ให้ร่มเงา ให้ดอกสวยงามและมีศักยภาพ บรรเทามลพิษ ยกตัวอย่างเช่น

พรรณไม้ที่ให้ร่มเงา เช่น กันเกรา จามจุรี ตะเคียนทอง นนทรี
พรรณไม้ที่ให้ดอกสวยงามสร้างความสดชื่น เช่น กันเกรา กระดังงาไทย กระทิง พิกุล อินทนิลน้ำ
ส่วนพรรณไม้ที่มีศักยภาพลดมลพิษด้านอากาศและกักเก็บคาร์บอน เช่น กระถินณรงค์ ตะเคียนทอง พิกุล ราชพฤกษ์ สัก หูกวาง อินทนิลน้ำ พรรณไม้บางชนิดได้มีกล่าวไว้ในเอกสารวิชาการหลายฉบับว่า มีศักยภาพลดมลพิษ ประเภทออกไซด์ของไนโตรเจน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโอโซน รวมทั้งฝุ่นละออง ได้ดี เช่น แคแสด จามจุรี ราชพฤกษ์ สนทะเล สัก ไทรย้อย
พรรณไม้ในพื้นที่สาธารณะในเขตชุมชนเมืองประเภทสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อน การเรียนรู้ และเสริมสร้างทัศนียภาพ ควรเป็นไม้ยืนต้นที่มีเรือนยอดและทรงพุ่มให้ร่มเงาเป็นดอกที่สวยงาม รวมทั้งควรให้ความสำคัญแก่ความหลากหลายของพรรณไม้ เพื่อให้เกิดโครงสร้างหลาย ระดับชั้นเรือนยอด ไม่มียางที่เป็นพิษ เจริญเติบโตได้ดี และมีศักยภาพลดมลพิษ ทั้งด้านอากาศและเสียง ไม้ยืนต้นที่เหมาะสม เช่น กระดังงาไทย กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระทิง แคแสด ตะเคียนทอง ไทรย้อย นนทรี บุนนาค พิกุล อโศกเซนคาเบรียล
นำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้

ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย ทำการเกษตรและที่ดินว่างเปล่า

โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

โดยมีฐานภาษีและอัตราภาษี เป็นฐานภาษี คือ ราคาปานกลางที่ดิน ที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งได้กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ท้ายพระราชบัญญัติโดยจะกำหนดตามที่ตั้งที่ดิน เช่น ที่ดินติดถนน ตรอก ซอยและอื่น ๆ

ซึ่งปัจจุบันราคาปานกลางที่ดินที่ใช้ประเมินภาษีบำรุงท้องที่เป็นราคาที่ใช้ประเมินตั้งแต่ปี 2521–2524 โดยราคาต่ำสุด คือ ราคาปานกลางไร่ละ 1,600 บาท อัตราภาษีไร่ละ 8 บาท และสูงสุด คือ ราคาปานกลางไร่ละ 9,000,000 บาท อัตราภาษีไร่ละ 22,495 บาท (ที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตรา แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเอง ให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดิน ให้เสียเงินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า)

การขอลดหย่อนภาษีนั้น เจ้าของที่ดินที่ใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตนเองและประกอบกสิกรรมของตนเอง เช่น ทำนา ทำสวน จะมีสิทธิได้รับการลดหย่อนไม่ต้องเสียบำรุงท้องที่ ดังนี้

1) ได้รับการลดหย่อน 100 วา ถ้ามีที่ดินอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้

2) ได้รับลดหย่อน 1 ไร่ ถ้ามีที่ดินอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้

3) ได้รับการลดหย่อน 5 ไร่ ถ้ามีที่ดินอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้

4) ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก

การส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในเมือง ผมคิดว่าการเสนอแนะการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (ภาษีบำรุงท้องถิ่น) ที่มีอยู่แล้วไปลดหย่อนภาษีบำรุงท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจการปลูกต้นไม้ของประชาชนใช้เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ในเมืองหลวง ได้อย่างดี