การออกแบบฉากในงานแอนิเมชัน

https://medium.com/@araya.wata/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99-7a0ab72d0851

ฉากเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ในงานแอนิเมชัน ทําหน้าที่บอกเล่าบรรยากาศ สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ ทําให้ผู้ชมเห็นสภาพแวดล้อมโดยรอบซึ่งช่วยเสริมบทบาทการแสดงของตัว ละคร และทําให้ตัวละครมีมิติเมื่ออยู่ในฉาก นอกเหนือจากการวางตําแหน่งตัวละครที่ดีแล้ว ฉากยังทํา หน้าที่ส่งให้ตัวละครมีความโดดเด่น เล่าบรรยากาศของเรื่องจากภาพ และทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึก คล้อยตาม แอนิเมชันที่เป็นที่นิยมหลายเรื่อง มีฉากที่ทําให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ โดยการใช้สถานที่ ที่มีอยู่จริงนํามาสร้างเป็นฉากในแอนิเมชัน เช่น แอนิเมชันเรื่องหลับตาฝันถึงชื่อเธอ (Your Name) ซึ่ง นอกจากเป็นแอนิเมชันมีเรื่องราวที่สนุก และประทับใจแล้ว ยังมีการออกแบบฉากได้อย่างสวยงามอีก ด้วย โดยผู้ออกแบบเลือกใช้ภาพเมืองโคอุมิ จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุุนในการอ้างอิงเพื่อการ ออกแบบ หลังจากการฉายในโรงภาพยนตร์ ได้มีผู้คนจํานวนมากตามรอยแอนิเมชันเรื่องนี้เพื่อไปเที่ยว และชื่นชมความสวยงามของเมือง นอกจากนี้ยังมีแอนิเมชันอีกจํานวนมาก ที่มีการนําฉากสําคัญใน เรื่องมาสร้างเป็นสถานที่เพื่อการท่องเที่ยว เช่น เรือ Thousand Sunny จากแอนิเมชันเรื่องวันพีช เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 เรือ Thousand Sunny ที่มา : WithOrWithoutNuts, (2014)
ความสำคัญของการออกแบบฉาก ฉากทําหน้าที่เสริมสร้างบรรยากาศ หรือใช้ขับตัวละครให้ดูโดดเด่น ฉากแอนิเมชัน บางฉากอาจจะดูโล่งและว่างเปล่ามีเพียงเงาที่ทาบทับหรือพื้นผิวที่ก่อให้เกิดมิติ เพื่อแสดงอารมณ์ที่ อ้างว้างหรือใช้ขับตัวละครให้ดูชัดเจน แต่ในบางฉากอาจมีรายละเอียดสีสันสวยงามเหมือนภาพถ่าย จากสถานที่จริง ฉากเหล่านี้มักทําหน้าเล่าบรรยากาศ เช่น ฝนกําลังตกโปรยปรายในสวนสาธารณะ ภูเขาในขณะที่พระอาทิตย์กําลังขึ้น เป็นต้น ฉากสามารถสร้างความรู้สึก และเล่าเรื่องได้ โดยในบางครั้งไม่ได้มีตัวละครอยู่ในนั้นเลย การออกแบบฉากนั้นเปรียบเสมือนเป็นการสร้างโลกแห่งใหม่ อาจเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง หรือเป็นสถานที่ในจินตนาการของผู้ออกแบบได้ทั้งสิ้น
สิ่งที่ต้องพิจารณาในการออกแบบฉาก
2.1 เวลา คือ ระยะเวลาในการทํางาน เวลาถือเป็นสิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนการ ทํางานทั้งหมด ต้องกําหนดระยะเวลาที่มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างฉากเสร็จ เพื่อเป็นตัวกําหนดความ ซับซ้อนของการออกแบบฉาก

2.2.เอกภาพ คือ ภาพรวมของแอนิเมชันว่าเป็นไปในลักษณะใด ในแอนิเมชัน หนึ่งเรื่อง ไม่จําเป็นต้องใช้เทคนิคเดียวในการสร้างงาน เช่น ในแอนิเมชัน 2 มิติ ถึงแม้ว่าตัวละครวาด เป็น 2 มิติ แต่การสร้างฉากสามารถสร้างด้วยซอฟต์แวร์3 มิติ และใช้เทคนิคทางภาพหรือทําการ ปรับแต่งภาพในภายหลังเพื่อให้ดีความกลมกลืนของภาพรวม ที่มีความเป็นเอกภาพของแอนิเมชันทั้ง เรื่อง นอกจากนี้ยังหมายถึง ความกลมกลืนของการออกแบบสิ่งต่างๆที่อยู่ในแอนิเมชันอีกด้วย

2.3 เทคนิค คือ เทคนิคที่ใช้ในการสร้างฉาก ซึ่งการออกแบบฉากส่งผลในขั้นตอน การผลิต หากเทคนิคที่ใช้ เช่น วัสดุ หรือเครื่องมือ ไม่สอดคล้องกับการออกแบบจะทําให้ไม่สามารถ สร้างฉากออกมาให้ดีได้ เช่น การทําสตอปโมชันโดยใช้เทคนิคการปั้นดินนํามันในการทําฉาก การ ออกแบบฉากควรเป็นงานชิ้นใหญ่มีรายละเอียดน้อย เพื่อให้สอดคล้องกับเทคนิค วัสดุ และเครื่องมือที่ สามารถทําได้จริง

2.4 ช่วงเวลาและสถานที่คือ การกําหนดช่วงเวลาที่เป็นยุคสมัย และสถานที่ของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแอนิเมชัน เช่น ช่วงเวลาในอนาคตบนดาวอังคาร หรือ สมัยรัชกาลที่ 7 ชุมชนกุฎี จีนฝั่งธนบุรี เป็นต้น การกําหนดช่วงเวลาทําให้กรอบการทํางานแคบลง ใช้เวลาในการค้นคว้าข้อมูล น้อยลง และสามารถวางแผนการทํางานได้ชัดเจน

2.5 ความสมเหตุสมผล ถึงแม้ว่าในแอนิเมชันนั้น ทุกสิ่งย่อมเป็นไปได้ แต่ต้อง คํานึงถึงว่า ในสิ่งที่เป็นไปได้นั้นต้องอยู่ภายใต้ความสมเหตุสมผล เช่น บนโลก ก้อนอิฐจะร่วงจากที่สูง เร็วกว่าขนนก แสงส่องมาจากด้านซ้าย เงาต้องทาบมาทางด้านขวา หรือแรงโน้มถ่วงเป็นต้น และหาก ฉากในแอนิเมชันนั้นเป็นสถานที่ในจินตนาการ ก็ยังคงความสมเหตุสมผลเอาไว้ตามเงื่อนไขของ สภาพแวดล้อม ฉากประเภทนี้สามารถกําหนดสิ่งที่มีความใกล้เคียงกันเพื่อนํามาเป็นข้อมูลอ้างอิง ซึ่ง จะทําให้การทํางานสะดวกขึ้น เช่น กําหนดให้สภาพเมืองในจินตนาการ มีลักษณะเหมือนปุาดงดิบที่ อยู่ใต้ท้องทะเล ถึงจะเป็นปุาดงดิบ แต่การเคลื่อนไหวของต้นไม้ในฉากต้องดูเหมือนอยู่ใต้ทะเล เป็นต้น

3. ขั้นตอนการออกแบบฉาก

3.1 แนวคิดเบื้องต้น มาจากการสรุปบทภาพยนตร์ในส่วนของการบรรยาย สภาพแวดล้อม จนได้แนวคิดรวบยอดของฉากว่าเป็นฉากที่มีลักษณะ ส่วนประกอบฉาก ทิศทางของ การเคลื่อนไหววัตถุหรือตัวละครเป็นเช่นไรเมื่ออยู่ในฉาก เป็นต้น เมื่อได้ข้อสรุปแล้วให้ร่างภาพขนาด เล็กของแนวคิดเบื้องต้น จัดวางองค์ประกอบแบบที่จําเป็นต้องมีในฉาก เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้า ต่อไป ดังแสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 ภาพร่างแนวคิดเบื้องต้นของฉาก โดย อารยา วาตะ (2561)
3.2 การค้นคว้า ฉากในแอนิเมชันนั้นไม่ว่าจะมีที่มาจากสถานที่จริง เป็นฉากที่ ผสมผสานกันจากสถานที่หลายแห่ง หรือเป็นฉากสถานที่ในจินตนาการก็ตาม ทุกแบบต้องมีสถานที่ หลัก ที่ใช้ในการอ้างอิง เพียงแต่ผู้ออกแบบใช้จินตนาการของตนเองใส่ลงไปในการออกแบบฉาก ภาพ จากการค้นคว้าสามารถถ่ายภาพได้ด้วยตนเอง โดยวิธีการนี้จะได้มุมภาพที่หลากหลาย และเก็บ รายละเอียดได้ทั้งหมด โดยการถ่ายภาพด้วยตนเองนั้น ควรสืบค้นข้อมูลสถานที่จากอินเทอร์เน็ตก่อน ไปสถานที่จริงเพื่อวางแผนในการถ่ายภาพ ส่วนค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตมีข้อดี คือ สะดวก และภาพที่ ได้จะมีความสวยงามและมีจํานวนมาก เว็บไซต์ที่แนะนําในการค้นคว้าภาพฉากเพื่อใช้อ้างอิงคือ www.pinterest.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกิดจากสมาชิกของเว็บปักหมุดภาพสวย น่าสนใจ หมวดหมู่ตามประเภทของภาพเอาไว้ ตัวอย่างการค้นคว้าภาพสถานที่ในการออกแบบฉาก ดังแสดงใน ภาพที่ 3

ภาพที่ 3 การค้นคว้าภาพฉาก ที่มา : Bernard Spragg, (n.d.)
3.3 การวาดฉาก ในการวาดฉากจะเริ่มจากการร่างภาพโดยต่อยอดจากภาพร่าง แนวคิดเบื้องต้นของฉาก และใส่รายละเอียดจากการค้นคว้าลงไป การออกแบบฉากควรวาง องค์ประกอบภาพ ทิศทาง และขนาดให้สัมพันธ์กับตัวละคร และควรให้มองเห็นเป็นภาพที่มีความลึก เพื่อให้เกิดมิติ ดังแสดงในภาพที่ 4

ภาพที่ 4 การวาดฉากให้เกิดมิติ โดย อารยา วาตะ (2561)
นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาว่าฉากที่สร้างออกมานั้นควรมีขนาดอยู่ในระยะกล้อง โดย กําหนดระยะของกล้องในฉากก่อน เพราะสิ่งที่อยู่เลยระยะกล้องออกไปจะไม่ได้ถูกใช้ ไม่จําเป็นต้อง สร้างลงไป ดังแสดงในภาพที่ 5

ภาพที่ 5 การกําหนดระยะกล้องในฉาก โดย อารยา วาตะ (2561)