การสอนวรรณคดีให้กับชาวต่างประเทศ

บทคัดย่อ

           การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การพัฒนาผู้เรียนให้บรรจุตามเป้าหมายครูผู้สอนจึงควรให้ความสำคัญและสรรหากระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ทั้งนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้ให้หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ไว้  วรรณคดีเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาภาษาไทยตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้วรรณคดีและวรรณกรรมต่าง ๆ ด้วยการพินิจพิเคราะห์ ซึ่งในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กล่าวถึงการเรียนรู้วรรณคดีไว้คือ วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมต่าง ๆ เพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์และความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่ร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทยซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีตและความงามของภาษาเพื่อความซาบซึ้งและภูมิใจในบรรพบุรุษที่สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา , 2551 : 2) ดังนั้นการศึกษาวรรณคดีจึงเป็นเสมือนการเรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องหรือสะท้อนความเป็นไปของมนุษย์ผ่านภาษาที่คัดสรรนำคำมาร้อยเรียงอย่างประณีตงดงาม

 

คำสำคัญ :  การสอน, ชาวต่างประเทศ

อ่านบทความเพิ่มได้ที่นี่