การสร้างสรรค์ผลงานสตรีทอาร์ต (Street Art) ที่มีผลต่อการขับเคลื่อน Soft-Power ในประเทศไทย

         การสร้างสรรค์ผลงานสตรีทอาร์ต (Street Art) ในเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน มีอยู่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งของเขตพระนคร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม โดยหลายพื้นที่ได้กลายสภาพเป็นเป็นแลนด์มาร์ก แหล่งท่องเที่ยว เช่น 1. สวนเฉลิมหล้า 2.สะพานหัวช้าง 3.Chula Art Town 4.คลองยานนาวา 5.ซอยเจริญกรุง 32 6.ตลาดน้อย 7.คลองโอ่งอ่าง 8.ล้ง 1919 9.พิพิธบางลำพู 10.สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า โดยทางฝั่งธนบุรี อยู่บริเวณตลาดพลู ซึ่งพื้นที่ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นมีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่มากมาย ที่ยังสามารถพัฒนาเพื่อให้เกิดการต่อยอด และสนันสนุน ให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเส้นทางการท่องเที่ยวให้แข็งแรงยิ่งขึ้น จากชุมชุนในพื้นที่มีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ต้องขับเน้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่ ด้วยการนำกิจกรรมทางศิลปะเข้าไปร่วมกับชุมชน โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สภาพแวดล้อมของชุมชนเกิดความ สวยงาม ด้วยสุนทรียศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรม และภูมิทัศน์ใหม่หลังวิกฤติ โควิด-19 โดยปัจจุบันเรื่องของ Soft-Power หรืออำนาจอ่อน หมายถึงอำนาจในการดึงดูด และการมีส่วนร่วม โดยไม่ต้อง บังคับ หรือให้เงินสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง และสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศได้ ด้วยการอาศัยทรัพยากรที่สำคัญข้อหนึ่งคือ “วัฒนธรรม” (Cultuer) ซึ่งคำสำคัญนี้ มีความเกี่ยวข้องกับศิลปวิทยาการหลายด้าน เช่น ศิลปะ ประเพณี ซึ่งศิลปะเองก็มีความเกี่ยวข้องในสาขาหลากหลายเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพยนตร์ ดนตรี การแสดง ฯลฯ การพัฒนาพื้นที่ด้านการปรับภูมิทัศน์โดยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้มีความเป็น Soft-Power ด้วยภาพ จิตรกรรมฝาผนังสตรีทอาร์ต (Street Art) ภายใต้อิทธิพลแนวทางจิตรกรรมฝาผนังรูปแบบภาพกราฟฟิตี้” (Graffiti) คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ