กระบวนการอ่านจับใจความ

กระบวนการอ่านจับใจความ

อาจารย์กฤษฎา  กาญจนวงศ์*

 

บทนำ

การอ่าน มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะต้องอ่านข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ และนำความรู้ ความเข้าใจมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา และพัฒนาตัวเองสู่ความสำเร็จ รวมทั้งช่วยตอบสนอง   ความต้องการด้านสุนทรียะและนันทนาการอีกด้วย จากการศึกษาความสำคัญของการอ่านที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า การอ่านมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์รับรู้และเข้าใจข้อมูลที่ผู้เขียนถ่ายทอดผ่านตัวอักษรมากขึ้น  และช่วยให้มนุษย์เข้าใจและจับประเด็นในการรับสารได้ถูกต้อง การอ่านให้ประโยชน์ต่อผู้อ่านในด้านความรู้ ความคิด และความเพลิดเพลินอีกทั้งยังให้ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติด้วยการนำความรู้มาพัฒนา     ให้ก้าวหน้าต่อไป แต่ถึงกระนั้นการที่จะอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นมีอยู่หลายระดับด้วยกัน และหนึ่งในการอ่านที่จะเกิดประสิทธิผลได้นั้นคือการอ่านจับประเด็น หรือที่รู้จักกันดีคือ “การอ่านจับใจความ” นั่นเอง

 

กระบวนการอ่านจับใจความ

        การอ่านจับใจความสำคัญเป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ   หรือเรื่องที่อ่านเป็นข้อความที่มีใจความครอบคลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด จากการศึกษาความหมายของการอ่านจับใจความที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า การอ่านจับใจความสำคัญเป็นการอ่านเพื่อ   จับประเด็นความรู้ หรือข้อคิดสำคัญภายในเรื่องที่อ่าน โดยผู้อ่านจะต้องระบุได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพื่อค้นหาประเด็นความคิดหลักของผู้เขียน (นภดล มนตรี 2561: 37)

          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2560: 270) ได้ให้ความหมายของการอ่าน จับใจความไว้ว่า        การอ่านจับใจความสำคัญเป็นการอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ เพื่อค้นหาข้อมูลที่ผู้เขียนต้องการสื่อมายังผู้อ่าน เพื่อจับประเด็นให้ได้ว่าผู้เขียนกำลังเสนอความคิดเห็นหรือข้อมูลอะไร และสามารถแยะแยะประเด็นที่ต้องการกล่าวถึงให้ชัดเจนได้

          การอ่านจับใจความสำคัญ มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านของผู้อ่าน โดยการอ่าน       จับใจความสำคัญเป็นพื้นฐานของการอ่านที่จะนำไปสู่การอ่านในระดับที่สูงขึ้น สายชล โชติธนากิจ (2561: 41) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านจับใจความไว้ว่า การอ่านจับใจความสำคัญเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง    ต่อการศึกษาหาความรู้ และพัฒนาชีวิตก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิต และเป็นหัวใจของการศึกษาทุกระดับ ดังนั้นการอ่านจับใจความสำคัญ จึงเป็นเครื่องมือที่วัดความรู้ความสามารถด้านการอ่านของผู้อ่าน จึงมีความสำคัญมากที่ผู้อ่านจะต้องฝึกอ่าน เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด สติปัญญา และนำไปต่อยอดการอ่านในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

          การอ่านจับใจความ ต้องมีหลักการที่เป็นตัวชี้แนะให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจ ในเรื่องที่อ่านได้แม่นยำมากขึ้น อัมพร ทองใบ (2561: 256) ได้กล่าวถึงหลักการอ่านจับใจความไว้ว่า การจับใจความสำคัญควรเริ่มต้นจากการอ่านในแต่ละย่อหน้าให้ถูกต้องแม่นยำเสียก่อน เพราะข้อความตอนหนึ่งมีหลายย่อหน้าแต่จะมีใจความสำคัญที่สุดในย่อหน้าเดียว เมื่อนำประเด็นสำคัญต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมกันจะทำให้สามารถจับ     แก่นเรื่องหรือแนวคิดสำคัญที่สุดของเรื่องทั้งหมดได้ง่ายขึ้น

          จินดารัตน์ ฉัตรสอน (2558: 21) ได้กล่าวถึงประเภทของการอ่านจับใจความไว้ว่า การอ่านจับใจความมี 2 ประเภท ได้แก่ การอ่านจับใจความส่วนรวม และการอ่านจับใจความสำคัญ โดยการอ่านจับใจความส่วนรวมเป็นการดูความสัมพันธ์ของเรื่อง ส่วนการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นการดูประเด็นแนวคิดหลัก      ของเนื้อเรื่อง จากการศึกษาประเภทของการอ่านจับใจความที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า ประเภทของการอ่านจับใจความมี 2 ประเภท คือ การอ่านจับใจความส่วนรวม และการอ่านจับใจความสำคัญ การอ่านใจความส่วนรวมเป็นการอ่านเพื่อมองลำดับความสัมพันธ์ของเรื่อง ส่วนการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นการอ่าน         ที่สามารถระบุข้อคิดและประเด็นหลักของเรื่องได้ถูกต้อง

          การอ่านจับใจความมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนทุกเพศ และทุกวัยช่วยพัฒนาความคิดให้ลึกซึ้ง   และช่วยให้รับรู้ข่าวสารได้ทันเหตุการณ์ การอ่านจับใจความทำให้นักเรียนมีความรู้ ความคิดลึกซึ้ง             และกว้างขวางสามารถตัดสินคุณค่า และบอกประโยชน์ของเรื่องที่อ่านได้ นอกจากนั่นการอ่านจับใจความยัง ทำให้ผู้อ่านมีความรู้ ความคิดและมีเจตคติที่ดี สามารถพัฒนาความคิดของผู้อ่านให้ก้าวหน้า รวมถึงระบุคุณค่าและข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้องอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

เอกสารอ้างอิง

จินดารัตน์ ฉัตรสอน (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับ

          ชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ที่จัดการเรียนรูดวยเทคนิค KWL รวมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ

          ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภดล มนตรี. (2561). คูมือเตรียมสอบบรรจุครูผูชวย วิชาเอก ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ด

          พับลิชชิ่ง.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). ภาษาไทย การอาน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปศาสตร

          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สายชล โชติธนากิจ. (2561). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้วิธีการ

          สอนแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1”.

          วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิต

          วิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

อัมพร ทองใบ. (2561). หลักภาษาไทย ม.4-5-6 (ฉบับปรับปรุงใหม). นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด บุ๊คส์.

 

 

 

 

 

 

* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์