กระบวนการพัฒนาสินค้า หอยแมลงภู่ปรุงรส ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านพันท้ายนรสิงห์

วิสาหกิจชุมแม่บ้านพันท้ายนรสิงห์ หมู่ 8 จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขึ้น เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2548 มีจำนวนสมาชิก 25 คน ทำการแปรรูป อาหารทะเลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหอยแมลงภู่ เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้ หลากหลาย หอยแมลงภู่สดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการนำเข้า สู่อุตสาหกรรมได้ มี 3 ชนิด คือ ซอสหอยแมลงภู่ ซึ่งสามารถเทียบได้กับซอสหอยนางรมที่มีจำหน่ายอยู่แล้ว ได้รับการ ยอมรับเท่ากัน มีคุณภาพทางโภชนาการสูงกว่า มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า มีอายุการเก็บไม่ต่ำกว่า 9 สัปดาห์ หอยแมลงภู่ ชุบแป้งแช่เยื่อกแข็งได้รับการยอมรับสูง สามารถเก็บได้ในสภาพแช่แข็งไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หอยแมลงภู่รมควันสามารถเก็บ ในตู้เย็นได้ไม่ต่ำกว่า 1.5 เดือน ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ คือ หอยแมลงภู่ปรุงรส ไส้กรอกหอยแมลงภู่ ไส้กรอกอีสานหอยแมลงภู่ และทองแผ่นรสหอยแมลงภู่ สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระดับครัวเรือนได้ดี

หอยแมลงภู่เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานาน โดยที่พันธุ์ของหอย เกษตรกรผู้ เพาะเลี้ยงจะอาศัยจากธรรมชาติ ที่เมื่อหอยในธรรมชาติได้ผสมพันธุ์และปฏิสนธิเป็นลูกหอยตัวอ่อน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาด เล็กลอยไปตามกระแสน้ำแบบแพลงก์ตอนแล้ว จะใช้วัสดุที่เพาะเลี้ยงปักลงไปในทะเล เพื่อให้ลูกหอยนั้นเกาะอาศัย แบ่ง ออกได้เป็น การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย, การเลี้ยงแบบแพ, การเลี้ยงแบบแขวนบนราวเชือก และการเลี้ยงแบบตาข่าย เชือก แบบที่นิยมเลี้ยงกันมาก คือ แบบปักหลักล่อลูกหอย โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ลวกในการล่อลูกหอยในระดับน้ำลึก 4–6 เมตร และเลี้ยงจนมีขนาดใหญ่ ถึงขนาดต้องการ บางแห่งนิยมใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโป๊ะ เพื่อดักจับปลาและล่อลูกหอยในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตารางเมตร จะปักหลักได้ประมาณ 1,200 หลัก ทั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 6–8 เดือน จะได้หอยขนาด ความยาวเฉลี่ย 5–6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่สามารถส่งตลาด