ภาวะเครียดในเด็ก

ความเครียดของเด็ก
ส่งผลกระทบไปทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการการเรียนรู้ต่างๆ อาจทำให้เกิดอาการทางจิตใจหรือความเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน ขาดสมาธิ รับประทานได้น้อยลง พ่อแม่พาไปตรวจที่โรงพยาบาลทางกายก็ไม่พบสาเหตุชัดเจน อีกทั้งความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลกระทบถึงการเจริญพัฒนาของเซลล์ประสาทในสมอง หรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน อีกด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการเหล่านี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาเด็กมาขอรับคำปรึกษาจากผู้ชำนาญการทางด้านสุขภาพจิต เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจส่งผลต่อสัมพันธภาพกับคนรอบข้างเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อีกด้วย

ความเครียดส่งผลต่อร่างกายให้สร้างฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด (Cortisone) ที่ส่งผลให้สมองส่วน cortex และพื้นที่สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด สูญเสียไป อาจกล่าวได้ว่า ความเครียดมีผลขัดขวางต่อการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังทำให้กลายเป็นคนก้าวร้าวหรือไม่มั่นใจในตนเอง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีผลทำให้บุคลิกภาพที่ดีเสียไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กมีความเครียด เด็กไม่สามารถบอกเราได้ว่า “โอ้ย! หนูเครียด” “หนูไม่สบายใจ” หรือ “หนูกลุ้มใจ” แต่เมื่อเด็กมีความเครียดเด็กจะแสดงออกในรูปของพฤติกรรมหลายๆ แบบ ในเด็กเล็กจะมีอาการให้ผู้ใหญ่สังเกตเห็นได้ เช่น
1. ร้องไห้งอแงหงุดหงิด ไม่เชื่อฟังพ่อแม่จนกลายเป็นเด็กดื้อ

อ่านเพิ่มเติม