ทฤษฎีการจัดองค์ประกอบฉากในงานแอนิเมชันเบื้องต้น

https://medium.com/@araya.wata/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99-2b70a81c785f

การจัดองค์ประกอบฉากสําหรับบทเรียนนี้ คือการจัดวางภาพให้อยู่ในกรอบ เพื่อให้งาน ออกมามีจุดเด่น จุดนําสายตา ชักจูงให้ผู้ชมจับจ้องไปในสิ่งที่กําลังนําเสนอ โดยมีหลักการดังนี้

การวางเส้นแนวนอน เส้นแนวนอนหลักในภาพ ได้แก่ เส้นขอบฟูา ภูเขา อาคาร เป็นต้น โดยไม่จําเป็นว่าต้องมีลักษณะเป็นเส้นตรงเท่านั้น หากเป็นสิ่งที่มีลักษณะตัดผ่านในแนวนอนที่ ดูเป็นเส้นหลักของฉาก ควรวางไว้ในตําแหน่งที่เลยกึ่งกลางภาพขึ้นไปหรือวางเลยลงมา แต่ไม่ควรวาง ไว้ตรงกลาง ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การวางเส้นแนวนอน โดย อารยา วาตะ (2561)
2. การใช้จุดสนใจ เป็นหลักการเดียวกันกับหลักการที่ใช้ในการจัดองค์ประกอบ ศิลป์ เรื่อง กฎสามส่วน เป็นการวางภาพเพื่อให้เกิดจุดสนใจ โดยการแบ่งช่องแนวตั้ง และแนวนอน ของกรอบภาพออกเป็นสามส่วน แล้ววางวัตถุที่เป็นจุดสนใจของภาพไว้ตรงจุดตัดที่เป็นวงกลม ดัง แสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 การใช้จุดสนใจ โดย อารยา วาตะ (2561)
3. การใช้ส่วนน าสายตา เป็นการใช้ส่วนต่างๆในภาพ ก่อให้เกิดเส้นนําสายตา ไปสู่สิ่งที่ต้องการให้ผู้ชมสนใจ ดังแสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3 การใช้ส่วนนําสายตา โดย อารยา วาตะ (2561)
4. การใช้สีเน้นภาพ เป็นการใช้ความแตกต่างของสีเพื่อการเน้นจุดสนใจในภาพ โดยใช้สีที่อยู่คนละวรรณะสี หรือสีที่ตัดกัน เพื่อให้เกิดจุดเด่น ดังแสดงในภาพที่ 4

ภาพที่ 4 การใช้สีเน้นภาพ โดย อารยา วาตะ (2561)
5. การใช้เส้นที่หลากหลาย การใช้เส้นที่มีความแตกต่างกันในภาพ เช่น เส้นแนวนอน แนวตั้ง และเส้นโค้ง เป็นต้น เส้นที่มีลักษณะที่หลากหลายจะก่อให้เกิดความสมดุล ไม่ชี้ ชัดไปในทางใดทางหนึ่ง ดังแสดงในภาพที่ 5

ภาพที่ 5 การใช้เส้นที่หลากหลาย โดย อารยา วาตะ (2561)
6. การใช้เส้นโค้ง หากในฉากมีถนน รางรถไฟ คูคลอง ถนน ส่วนที่มีลักษณะ เป็นเส้นประเภทนี้ เมื่อจัดวางในฉาก ควรวางส่วนเหล่านี้ให้เป็นเส้นโค้ง เพราะจะทําให้ภาพเกิดมิติ แต่ มีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น ต้องการสื่อสารว่ารถยนต์วิ่งพุ่งตรงไปข้างหน้า เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 6

ภาพที่ 6 การใช้เส้นโค้ง โดย อารยา วาตะ (2561)
7. การใช้จุดเริ่มต้นของส่วนนำสายตา ส่วนนําสายตาประเภททางต่างๆ เช่น ถนน คลอง หรือทางรถไฟ เป็นต้น ให้เริ่มต้นที่ด้านข้างของกรอบภาพด้านใดด้านหนึ่ง และให้วาง จุดเริ่มต้นเลยมุมภาพขึ้นไป ดังแสดงในภาพที่ 7

ภาพที่ 7 จุดเริ่มต้นของส่วนนําสายตา โดย อารยา วาตะ (2561)
8. ฉากหน้า หากฉากเป็นภาพทัศนมิติ (Perspective) การมองเห็นภาพนั้นจะ เป็นภาพที่มีมิติ แต่หากเป็นฉากที่เป็นด้านหน้าตรง เมื่อมองดูแล้วภาพไม่มีมิติหรือมีแต่ไม่ชัดเจน สามารถเพิ่มมิติของภาพ โดยสร้างฉากหน้า และจัดวางตัวละครให้อยู่ตรงกลางระหว่างฉากหน้า และ ฉากหลัง เช่น ฉากในปุา มีพื้นดินและต้นไม้ใหญ่เป็นฉากหลัง ให้วาดต้นไม้ใหญ่ หรือต้นไม้พุ่มเล็กๆ ทางด้านข้างของฉาก จากตัวอย่างภาพในกรอบสีแดงคือฉากหน้า ดังแสดงในภาพที่ 8

ภาพที่ 8 ฉากหน้า โดย อารยา วาตะ (2561)
สรุป การออกแบบตัวละครและฉากในงานแอนิเมชันนั้น ใช้ข้อมูล และความรู้หลายส่วน ตั้งแต่ แนวคิด การค้นคว้าข้อมูล จนถึงความรู้ในการออกแบบ รวมถึงฝีมือในการผลิตตัวละคร และฉาก วิธีการพัฒนาการด้านการออกแบบ นอกจากต้องฝึกฝนการวาดอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ําเสมอแล้ว จําเป็นต้องศึกษาจากจากต้นแบบแอนิเมชันที่ประสบความสําเร็จ โดยสามารถศึกษาได้จากหนังสือ ภาพศิลปะของแอนิเมชันเรื่องนั้น เช่น The Art of Spirited Away ซึ่งรวบรวมการค้นคว้า และ ออกแบบเพื่อการสร้างแอนิเมชันเรื่อง Spirited Away เป็นต้น หรือฝึกสังเกตการออกแบบ การใช้สี การจัดองค์ประกอบภาพจากแอนิเมชันที่ตนเองชอบได้เช่นกัน