การจัดการอารมณ์

การจัดการอารมณ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา สุทธิเนียม

อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู ประธานสาขาจิตวิทยาการปรึกษา หลักสูตร วทม. คณะครุศาสตร์ มบส.

……………………………………………………………

          อารมณ์เป็นพลังที่ทรงอำนาจอย่างหนึ่งของมนุษย์ อาจเป็นต้นเหตุของสงคราม อาชญากรรม ความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติ และความขัดแย้งอื่นๆ อีกหลายชนิดระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ในทางตรงกันข้ามอารมณ์ยังเป็นน้ำทิพย์ของชีวิตที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสวยงามและน่าอภิรมย์ ความรัก ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ความพอใจ หรือความตลกขบขันล้วนแต่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า
 
ความหมายอารมณ์
อารมณ์  หมายถึง การแสดงออกของภาวะจิตใจที่ได้รับการกระทบหรือกระตุ้นให้เกิดมีการแสดงออกต่อสิ่งที่มากระตุ้น  อารมณ์สามารถจำแนกออกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ  1) อารมณ์สุข   คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความสบายใจ หรือ ได้รับความสมหวัง และ 2) อารมณ์ทุกข์ คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สบายใจ หรือ ได้รับความไม่สมหวัง
ผลแห่งอารมณ์ ไม่ว่าอารมณ์สุขหรืออารมณ์ทุกข์ จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติและจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมและความรู้สึกตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น

 

องค์ประกอบของอารมณ์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบดังนี้

1) องค์ประกอบด้านสรีระ (Physiological  dimension) หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ทาง

ร่างกายที่จะต้องเกิดขึ้นควบคู่กับปฏิกิริยาทางอารมณ์ เช่น เมื่อมีอารมณ์ตื่นเต้น วิตกกังวล ปฎิกริยาทางด้านร่างกายที่มักจะเกิดขึ้นได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกตามร่างกายหรือใบหน้าร้อนผ่าว เป็นต้น อารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้มากที่สุด คือ อารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมน Adrenalin จากต่อม Adrenal gland ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมน Noradrenalin

2) องค์ประกอบทางด้านการนึกคิด (Cognitive dimension)  ตามแนวคิดของ Beck สามารถ

อธิบายความเชื่อมโยงของอารมณ์กับความคิดได้ว่า เมื่อบุคคลประสบกับเหตุการณ์ (situation) จะนําไปสู่ความคิดอัตโนมัติ (automatic thoughts) แล้วทําให้ เกิดอารมณ์(emotion) ขึ้นมาและนอกจากทําให้เกิดอารมณ์ แล้วยังมีพฤติกรรม (behavior) และอาการทางร่างกาย (physiology) ซึ่งพฤติกรรมเวลาที่มีอารมณ์ก็จะมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับอารมณ์นั้น เช่น มีอารมณ์กลัวก็อาจมีพฤติกรรม คือ ไม่ออกจากห้องด้วยความคิดที่สอดคล้องเช่น “ออกไปต้องเจอโจรหรือมีอันตรายแน่ๆ”และมี physiology เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็ว มือเย็น เหงื่อออก เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการทางกายที่เกิดขึ้นในระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic กล่าวโดยสรุปก็คือ situation กับ automatic thought ทําให้เกิด emotion, behavior และ physiology เปลี่ยนแปลงไป

  3) องค์ประกอบทางด้านการมีประสบการณ์ (Experiential dimension) หมายถึง การเรียนรู้

ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของแต่ละบุคคลซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป

  อารมณ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน  แต่สามารถรู้สึกถึงสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่แวดล้อมเราอยู่ได้ เช่น อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นภาษาหรือคำพูด (Nonverbal language) เช่น การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง แต่อาจเกิดความสับสนในการตีความหมายได้เพราะสังคมแต่ละแห่งอาจมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน เช่น การแลบลิ้นให้ บางกลุ่มคนจะถือว่าเป็นการทักทาย แต่ในสังคมจีนถือว่าเป็นการแสดงอารมณ์แปลกใจหรือประหลาดใจ เป็นต้นอารมณ์ของมนุษย์จะเริ่มมีขึ้นนับตั้งแต่เกิด  ซึ่งนักจิตวิทยาพบว่าอารมณ์แรกของมนุษย์นั้นคือ อารมณ์ตื่นเต้น ทารกอายุ  3  เดือนจะมีเพียงอารมณ์เศร้าและอารมณ์ดีใจ  ส่วนอารมณ์ที่มีความสลับซับซ้อนจะปรากฏมากขึ้นตามวุฒิภาวะ  อารมณ์ก้าวร้าวและอารมณ์รุนแรงเป็นผลมาจากการที่บุคคลเกิดความคับข้องใจหรือความรู้สึกว่าตนถูกกดขี่อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ของตนให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่สังคมแต่ละแห่งได้กำหนดไว้  ก็จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น

 

การควบคุมอารมณ์และการจัดการอารมณ์

          การควบคุมอารมณ์และการจัดการอารมณ์ เป็นกระบวนการที่บุคคลพยายามมีอิทธิพลในการจัดการกับอารมณ์ของตนเองหรือบุคคลอื่นในสถานการณ์หนึ่งๆ ภายใต้เงื่อนไขของเวลา โดยมุ่งเน้นไปที่การลดอารมณ์เชิงลบหรือเพิ่มอารมณ์เชิงบวก (McRae & Gross, 2011) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้บุคคลในนั้นๆสามารถเผชิญกับสถานการณ์  ตอบสนองกับสถานการณ์นั้นได้อย่างเหมาะสม 

ในวัน ๆ หนึ่ง บุคคลไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าจะได้เจอกับอารมณ์ที่เข้ามาให้เรารับรู้อย่างไรบ้างแล้ว

เราก็ไม่รู้ว่าเมื่อสิ่งนั้นๆ เข้ามาให้เรารับรู้แล้ว เราจะมีอารมณ์และความนึกคิดที่จะแสดงพฤติกรรมโต้ตอบออกไปอย่างไร ฉะนั้นเมื่อเราไม่สามารถล่วงรู้สถานการณ์ได้ เราก็ควรหมั่นฝึกให้มีสติ คือ ระลึกรู้อยู่เสมออย่าประมาณในการดำเนินชีวิต เมื่อมีอะไรเข้ามากระทบทำให้เราเกิดความคิดและอารมณ์ที่ไม่ดี ก็ควรจะใช้สติในการขบคิดพิจารณา เพื่อให้เราเท่าทันและไม่ต้องตกเป็นทาสของอารมณ์นั้น  โดยการกำหนดอารมณ์และความรู้สึกของเราไม่ให้ส่งผลไปถึงการแสดงออกในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร  วิธีควบคุมอารมณ์ของเราอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่

1.      ให้มีสติอยู่เสมอเพื่อควบคุมอารมณ์ที่รุนแรงให้คลายลงลง เช่น อารมณ์วิตกกังวล
อารมณ์โกรธ  อิจฉาริษยา การใช้อารมณ์ของคนหากใช้เพียงเล็กน้อยแล้วพยายามควบคุมมันให้ได้โดยใช้  “สติ”  หรือ หลักธรรมะเข้ามาช่วยในการเผชิญกับเหตุการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ  ก็จะทำให้เหตุการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ นั้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้นในทางตรงกันข้ามหากผู้ใดใช้อารมณ์มากหรือรุนแรงเกินไปก็อาจจะทำให้เหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ ที่เผชิญอยู่กลับเลวร้ายลงไปได้เช่นกัน
2.    การสื่อสารทางบวก (I massage) เป็นการสื่อสารเชิงบวกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิด

ความเข้าใจ เปิดใจรับฟัง และไม่เกิดการต่อต้านด้วยอารมณ์ ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อีกด้วย เหมาะสำหรับพ่อแม่ หรือบุคคลที่ต้องการฝึกการสนทนาเชิงบวก โดยเริ่มต้นจาก 1) การบอกความรู้สึกของตัวเองและเริ่มต้นประโยคด้วย ‘ฉัน’2) บอกความต้องการของตนเองว่าต้องการให้คู่สนทนาทำอย่างไร 3) ถามความคิดเห็นของคู่สนทนา ถ้าต้องการตรวจสอบว่าคู่สนทนามีความรู้สึกต่อต้านหรือเห็นด้วยอย่างไร  และ 4) ขอบคุณ หรือกล่าวคำชมเชยคู่สนทนาเมื่ออีกฝ่ายทำตาม เช่น โกรธเพื่อนที่ผิดนัด ไม่ควรแสดงออกโดยการตำหนิดุด่าแต่ควรใช้คำพูดแทนว่า “ฉันโกรธมากที่เธอผิดนัดเมื่อวาน” หรือ ถูกเพื่อนตำหนิบางเรื่องที่ทำให้โกรธ ก็ไม่ควรแสดงออกโดยการทะเลาะกับเพื่อน แต่คว

3.   การทอดเวลาให้นานออกไป ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปหรือพยายามหลีกเลี่ยง

สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์รุนแรงหรืออารมณ์เสีย บางคนอาจใช้วิธีการนับหนึ่งถึงสิบ หรือถึงร้อยในใจเพื่อยึดเวลาให้อารมณ์ที่รุนแรงลดลง จะช่วยให้การแสดงออกที่รุนแรงลดลงไปได้ หรืออาจจะใช้วิธีออกจากเหตุการณ์ตรงนั้นไปก่อน รอให้อารมณ์ลดความรุนแรงลงแล้วจึงกลับมาเผชิญเหตุการณ์นั้นอีกครั้ง ก็จะทำให้เรามีสติมากขึ้นในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ ลงไป

4.      การข่มใจ การให้อภัยและมองโลกในแง่ดี โดยให้คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น หากเราแสดงอะไร

ออกไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรงผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมได้  บุคคลควรรู้จักให้อภัยและพยายามฝึกมองสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆในด้านบวกเสมอ  หากทำได้จะส่งผลให้บุคคลมีอารมณ์ที่เป็นสุขมากยิ่งขึ้น  หรือถ้าข่มใจไม่อยู่จริงๆก็อาจใช้วิธีระบายออกโดยการเลี่ยงไปแสดงออกกับสิ่งอื่นๆแทนก็ได้ เช่น เขียนระบายอารมณ์ในกระดาษ แอบร้องไห้ปลดปล่อยอารมณ์หรือต่อยตีกระสอบทราย  หรือไปเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงมากๆ ควรระวังอย่าให้กลายเป็นการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น

5. เมื่อมีเรื่องทุกข์ใจหรือเครียดควรปรึกษาเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้หรือผู้ใหญ่ที่เราให้ความเคารพนับถือ  การที่บุคคลมีความทุกข์หรือมีความเครียดแล้วเก็บกดไว้ในใจตนเองอยู่เสมอ  เปรียบเสมือนลูกโป่งที่ถูกอัดอากาศเข้าไปเรื่อยๆหากไม่มีการปลดปล่อยลมออกมาเสียบ้างไม่นานลูกโป่งก็จะแตก  เช่นเดียวกันหากบุคคลสะสมแต่ความทุกข์หากสะสมไว้มากเกินไป สักวันหนึ่งก็อาจจะกลายเป็นโรคประสาทหรือโรคทางด้ายสุขภาพจิตต่อไปได้  บุคคลจึงควรปลดปล่อยความทุกข์ที่มีอยู่ออกไปเสียบ้าง    บุคคลที่ควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติได้เร็วจะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้นและจะส่งผลให้ทุกคนที่อยู่รอบตัวมีความสุขไปด้วย

          จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่าการจัดการและการควบคุมอารมณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญของบุคคลควรจะฝึกฝน ซึ่งการควบคุมหรือการจัดการกับอารมณ์ประกอบไปด้วย การมีสติอยู่เสมอจะช่วยให้บุคคลรู้เท่าทันตนเองและไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ การสื่อสารทางบวก การให้เวลา การข่มใจ การให้อภัยและมองโลกในแง่ดีและควรหาที่ปรึกษา ซึ่งบุคคลควรจะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อที่จะนำไปใช้ได้เหมาะสม

 

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา สุทธิเนียม และชลพร กองคำ. (2564). จิตวิทยาสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 3.

กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ หจก.วรานนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์.

ชูทิตย์ ปานปรีชา. (2551). จิตวิทยาทั่วไปหน่วยที่ 9. พิมพ์ ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประนอม สโรชมาน. (2535). สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ

          พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา5 รอบ.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.

วิไลวรรณ ศรีสงคราม และคณะ. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ทริป

เพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

มุกดา ศรียงค์และคณะ. (2561). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

รามคำแหง.

ถวิล ธาราโภชน์ และศรัณย์ ดำริสุข. (2548). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน.

กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.   

ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจําวัน. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (มปป).การสร้างความสัมพันธ์ด้วยการ
         สื่อสารทางบวก.สืบค้นวันที่ 25 พ.ค. 2565. จาก

         https://resourcecenter.thaihealth.or.th

Coleman, James C, and Hammen. (1981), Abnormal Psychology and Modern

 Life. New York : Bombay.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal and coping. New York:

Spring  Publishing.

McRae, K.,   Heller, S.  M.,   John, O.  P.,   &  Gross, J. J.  (2011). Context- dependent emotion

           regulation: Suppression and    reappraisal at   the    burning man    festival. Basic  and

           Applied Social Psychology, 33(4), 346-350.    doi:10.1080/01973533.2011.614170