Who suffers more from stress, women or men? เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ในการอยู่สถานการณ์ที่ตึงเครียดเดียวกัน นอกจากทัศนคติในการรับมือต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของแต่คนจะแตกต่างกันแล้ว ความเป็นเพศหญิงและเพศชายก็ส่งผลต่อความเครียด อาการความเครียด และการรับรู้ความเครียดได้แตกต่างกันด้วย

หลายคนคงพอตอบได้ว่า ผู้หญิงน่าจะมีความเครียดได้มากกว่าผู้ชาย ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่ทราบหรือไม่ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น???

ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงตัวชี้วัดที่สำคัญที่จะเป็นตัวบอกความเครียดที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย อันเกิดมาจากการทำงานร่วมกันของต่อมใต้สมองและต่อมหมวกได้ที่ชื่อว่า HPA axis ของคนเรา ที่จะหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งมาออกเมื่อร่างกายมีสภาวะเครียด เรียกว่า คอร์ติซอล

ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัย พบว่า เพศหญิงและเพศชายมีการตอบสนองของคอร์ติซอลที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะในเพศหญิง พบว่า มีการตอบสนองต่อคอร์ติซอลในระดับสูงในช่วงที่มีประจำเดือน ผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน และสาวประเภทสอง ทำให้มีการตอบสนองต่อความเครียดมากขึ้น ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างต่อบุคคลคนรอบข้าง และงานวิจัยพบว่า ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายสามารถลดผลกระทบต่อการตอบสนองของฮอร์โมนคอร์ติซอล จึงทำให้ในเพศชาย หรือผู้ที่มีการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ได้รับผลกระทบจากการตอบสนองของฮอร์โมนคอร์ติซอลน้อยกว่า

จากปัจจัยด้านฮอร์โมน ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าผู้หญิงมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนความเครียด ได้มากกว่าผู้ชาย แต่ก็ยังพบอีกว่ายังมีปัจจัยทางด้านร่างกาย สถานภาพทางสังคม และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดต่อผู้หญิงได้ จากงานวิจัยส่วนหนึ่ง พบว่า

1) ในเพศหญิงจะมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ โรคเครียดหลังจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย โรคไบโพลาร์ และอาการที่เกี่ยวข้องของร่างกาย เช่น ปัญหาการนอนหลับ ความผิดปกติของบุคลิกภาพ และความสามารถในการรับมือกับปัญหาในด้านต่างๆ โดยในทางจิตเวช พบว่า เพศหญิงจะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากสภาพร่างกายมากกว่าในเพศชาย (Joel & McCarthy, 2017)

2) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลต่อความเครียด Sex*Gender Perspectives in Occupational Stress Research จากการศึกษาพบว่า การจัดสรรบทบาททางเพศที่เกี่ยวข้องกับงานและความรับผิดชอบของเพศชายกับเพศหญิงมีความแตกต่างกันจากความไม่เท่าเทียมทางสังคม ซึ่งผู้หญิงยังคงมีบทบาทที่รับผิดชอบมากกว่าผู้ชาย ทั้งในการทำงานนอกบ้านและงานบ้าน (Lundberg, 2005) ซึ่งถือว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีความเครียดมากกว่าในเพศชาย

การตอบสนองของฮอร์โมนในร่างกาย ลักษณะทางสรีรวิทยา บทบาททางสังคม หน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัว

เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก จริงหรือไม่???

จะลดความเครียดที่เกิดกับเพศหญิงได้อย่างไร ……….. โปรดติดตามตอนต่อไป