SLC เปลี่ยนโฉมครูสู่การพัฒนาเด็ก ปรับโรงเรียนสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ School as Learning Community

SLC เปลี่ยนโฉมครูสู่การพัฒนาเด็ก ปรับโรงเรียนสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ School as Learning Community

นางสาวบุปผา  บรรลือเสนาะ

 

SLC (School as Learning Community) หรือโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้นั้น เป็นแนว

คิดทางการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นมากว่า 20 ปี ที่ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ระดับฐานราก

ก่อนที่จะได้รับความสนใจและขยายเครือข่ายออกไปในประเทศอื่นทางภาคพื้นเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนถึงนอกทวีปอย่างประเทศเม็กซิโก จนในที่สุดได้เกิดเป็นเครือข่ายในระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่อว่า “The International Network for School as Learning Community”

 

SLC คืออะไร

          “SLC (School as Learning Community)” หรือโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้   แนวคิดจาก

ศ.มานาบุ ชาโต และคณะฝึกหัดครูในมหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งนำมาใช้ทาง การศึกษาของประเทศญี่ปุ่นมากว่า 20 ปี

และมีการนำมาใช้ในโรงเรียนไทย เพื่อให้เกิดการปฏิรูปโรงเรียน โดยเริ่มจากการพัฒนาครู เพราะคุณภาพของเด็ก

เป็นผลสะท้อนจากคุณภาพของครู  ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการ

พัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงาน EDUCA Online Festival 2021 งานเทศกาล มหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 14 ในหัวข้อ SLC Forum | สร้างโรงเรียนแห่งความหวังด้วย SLC

ว่าคณะครุศาสตร์ทำงานร่วมกับโรงเรียนวัดหัวลำโพง และโรงเรียนพุทธจักรวิทยา  ในการนำแนวคิด SLC มาประยุกต์

ใช้เป็นเวลาเกือบ 4 ปี ซึ่งการทำงานโดยใช้แนวคิด SLC จะเป็นพัฒนาครู  เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลังตาม

สภาพจริงและติดตามสัมผัสรับรู้ได้  หลักการทำงานแนวคิด SLC จะอยู่บนโจทย์ให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่พัฒนาการเรียนรู้ เป็นพื้นที่เปิด ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เคารพการอยู่ร่วมกัน รับฟังเสียงของทุกคน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและไม่ ทอดทิ้งใครให้อยู่ลำพังในชั้นเรียนทุกคนต้องได้รับการยอมรับ ซึ่งเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความเก่ง มีสิทธิพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง

โดยครูต้องเข้าใจว่าเด็กทุกคนแตกต่าง มุ่งสู่ความเป็นเลิศที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันแต่จำเป็นต้องมองให้ไกล เพื่อ พัฒนาศักยภาพแห่งการเรียนรู้ทั้งครูและผู้เรียน

 

“SLC” จะพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนทุกคนผ่านกระบวนการพัฒนาครู โดยใช้ชั้นเรียน

และโรงเรียนเป็นฐาน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลสู่การเรียนรู้ร่วมกันของคุณครู  PLC และสร้างวัฒนธรรมใหม่ การเรียนรู้ร่วมกันของทุกคน ซึ่งจะเป็นการสร้างมิติให้ห้องเรียน กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายของครูให้เข้มแข็ง  ตั้งแต่ระดับชั้นเรียน  โรงเรียน และหน่วยงานภายนอก ทำให้เด็กฟังครูและครูฟังเด็ก 

การเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ ครูให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการเรียนรู้ และความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนเป็นรายบุคคล วัฒนธรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียนผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลัง และความเป็นเพื่อนร่วมงานของครูที่สนับสนุนเกื้อกูลกันผ่านวง PLC ในโรงเรียน และกระบวนการ LS ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ มีระบบ Buddy System ที่ทำให้ครูไม่โดดเดี่ยวเกิดการเปลี่ยนผ่านส่งต่อการทำงานของผู้บริหาร ครู และการเชื่อมโยงกับชุมชนทางการศึกษาภายนอก

SLC เป็นแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ร่วมกัน เด็กทุกคน ได้รับสิทธิในการเรียนรู้ ความเสมอภาค และคุณภาพการเรียนรู้สูงขึ้น และการเตรียมพร้อมสังคม สำหรับระบอบประชาธิปไตย ทุกคนต่างเป็นศูนย์กลางในโรงเรียน  ยึด 3 ปรัชญาสำคัญ ปรัชญาแห่ง ความเป็นสาธารณะ ปรัชญาความเป็นประชาธิปไตย และ ปรัชญาแห่งความเป็นเลิศ โดยใช้ระบบ กิจกรรม เพื่อช่วยฝึกฝนครูและนักเรียนให้มีการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังในห้องเรียน เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น โดย Prof. Manabu Sato, Ph.D. ปัจจุบันขยายออกเป็นวงกว้างในเอเชีย ผ่าน เครือข่ายนานาชาติ เป็นเครื่องมือนำสู่การพัฒนาโรงเรียนแห่งศตวรรษที่ 21   การรวมกลุ่มเครือข่ายครู ผู้บริหารโรงเรียน นักครุศึกษา และนักการศึกษา เพื่อขับเคลื่อน นวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และการพัฒนาครู โดยมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนวัฒนธรรมใหม่ ในการเรียนรู้ร่วมกันของ “ทุกคน” ในโรงเรียนมีนักเรียน ครู ผู้บริหาร เป็นตัวละครหลัก และมีนักครุศึกษา นักการศึกษา นักวิชาการ เครือข่ายผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก ๆ มาเรียนรู้ร่วมกัน โดยเรียกนวัตกรรมนี้ว่า School as Learning Community หรือ SLC โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้

            โครงสร้างสนับสนุนการเรียนรู้ของครู มีชั้นเรียนเป็นศูนย์กลางของทุกกลไกที่เกี่ยวข้อง พื้นที่สำคัญและกำลังหลักในการพัฒนาเชิงวิชาชีพ

    SLC: School as Learning Community (โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้) แตกต่างจากแนวทางปฏิรูปโรงเรียนอื่นๆ อย่างไร

1.       SLC มีชุดปรัชญา วิสัยทัศน์ และระบบกิจกรรม :  ไม่ใช่สูตรสำเร็จ หรือเทคนิควิธีในการปฏิรูป

2.       SLC การบูรณาการแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก :  การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลัง การเรียนรู้

ที่ส่งเสริมการไตร่ตรอง ไม่ใช่แนวคิดโดดเดี่ยว เป็นกระบวนการศึกษาบทเรียนที่ยึดการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงาน มืออาชีพ ส่งเสริมความเป็นอิสระของโรงเรียน และกระบวนการประชาธิปไตยในการกำหนดนโยบาย ของโรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักในการเคารพสิทธิมนุษยชนในการเรียนรู้ของนักเรียน และ การเติบโตในเชิงวิชาชีพของครูทุกคน

3.       ความสัมพันธ์ในการรับฟัง : พื้นฐานสำคัญที่ SLC ตั้งอยู่คือความสัมพันธ์ในการรับฟัง (Listening

 Relationship) การรับฟังเสียงของผู้อื่น เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ในการรับฟังช่วยสร้างการสื่อสาร สองทาง การพูดคุยถกเถียง ส่งเสริมให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างก้าวกระโดดด้วยความร่วมมือกับ เพื่อนร่วมทาง

4.       ครูทุกคน โรงเรียนทุกแห่ง และทุกเครือข่ายล้วนเป็น “ศูนย์กลาง” : SLC ไม่ใช่แค่ “การเคลื่อนไหว

ทางสังคม” แต่เป็น “การถักทอเครือข่าย” เป็น การกระจายอำนาจอย่างแท้จริง  ไม่มีใครเป็น “ศูนย์รวมอำนาจ”

ครูทุกคน โรงเรียนทุกแห่งและ ทุกเครือข่ายล้วนเป็น “ศูนย์กลาง”

5.       ความเป็นเพื่อนร่วมงานตามวิถีประชาธิปไตย (Democratic Collegiality)  :  เราไม่มีใครเป็น

“เจ้านาย” เครือข่ายการทำงานของเราไม่มีใครเป็น “ศูนย์กลาง” เพียงคน เดียว เพราะทุกคนต่างเป็นศูนย์กลาง

ชั้นเรียนของเราทุกคนต่างเป็นศูนย์กลาง

SLC โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ ยึด 3 ปรัชญาสำคัญ ได้แก่

1. ปรัชญาว่าด้วยความเป็นสาธารณะ (Public Philosophy) ห้องเรียนและโรงเรียนคือ พื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันของทุกคน ไม่มีใครเป็นเจ้าของเพียงลำพัง การเรียนรู้เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ร่วมกัน เปิดกว้างในการมีส่วนรวม

2. ปรัชญาว่าด้วยประชาธิปไตย (Democracy Philosophy) การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างเคารพ เข้าอกเข้าใจ รับฟังเสียงทุกเสียงจากทุกคน ทุกคนต้องได้รับการยอมรับ เพื่อจะทำให้ ระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนและห้องเรียนเกิดขึ้นได้ระหว่างเด็กกับเด็ก เด็กกับครู ครูกับครู ต้อง สร้าง “ความสัมพันธ์ในการรับฟังซึ่งกันและกัน” (Listening Relationship)

3. ปรัชญาว่าด้วยความเป็นเลิศ (Excellence Philosophy) ความเป็นเลิศ ไม่ได้หมายถึง ความยอดเยี่ยมจากการเปรียบเทียบกับคนอื่น เด็กทุกคนมีความแตกต่าง และมีสิทธิที่จะพัฒนาเต็มที่ ตามศักยภาพของเขา ความเป็นเลิศจึงไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่จำเป็นต้องมองให้ไกล เพื่อพัฒนา ศักยภาพแห่งการเรียนรู้ให้ยอดเยี่ยมที่สุดของทั้งครูและผู้เรียนเอง

 

 

การสร้างคุณภาพการเรียนรู้ ตามแนวทาง SLC (School as Learning Community)

           มี 3 องค์ประกอบสำคัญ   ได้แก่

1.       listening Relationship ความสัมพันธ์ในการรับฟังซึ่งกันและกัน : การเรียนรู้ผ่านการสื่อสาร

สองทาง มีฟัง มีพูด ความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน การรับฟังเสียงของ ผู้อื่น เป็นจุดเริ่มต้น

2.       Jumping Task งานที่ท้าทายและมีความหมาย : เน้นการแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านกระบวนการ

เรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลัง สนับสนุนให้เกิด การช่วยเหลือกันระหว่างผู้เรียน

3.      Authentic Learning การเรียนรู้ตามสภาพจริง : การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นเจ้าของและมีเป้าหมาย

มีการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ได้ลงมือทำจริง

การพัฒนาครูเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวทางของ SLC อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า

“ชั้นเรียน” คือพื้นที่ ที่ทรงพลังที่สุดในการพัฒนาครูให้เป็นมืออาชีพ ไม่ใช่การไปฝึกอบรม จากภายนอกโรงเรียน

ชั้นเรียนที่ครูสอนอยู่ทุกวันจนบ่อยครั้งมองข้ามในรายละเอียด ชั้นเรียนของเพื่อนร่วมงานที่บางคนอาจจะสอนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน แต่ไม่เคยได้เข้าสังเกตการสอน สังเกตการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาอื่น จนมองไม่เห็นศักยภาพของเด็กๆ อีกหลายคนที่อาจถูกบดบังไป รวมทั้งการมีเพื่อน ร่วมงานมาร่วมสังเกตการสอน การจัดการเรียนรู้ ที่จะเป็นเสมือน “ตาคู่ที่สาม” ที่ช่วยสังเกตการเรียนรู้ ของเด็ก เพื่อร่วมสะท้อนแง่มุม ให้รายละเอียดที่ระหว่างที่คุณครูสอนละเลย มองผ่านไป และถกเถียง เรียนร่วมกันในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพ

ในที่นี้บุคคลสำคัญที่จะช่วยพัฒนาครูจึงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือบุคคลภายนอกใน  การจัดการอบรมให้ แต่กลับเป็นเพื่อนครูร่วมโรงเรียนเดียวกัน สอนชั้นเรียนเดียวกัน หรือระดับชั้น เดียวกัน เพราะพวกเขาคือคนที่เผชิญสถานการณ์ในการสอนในบริบทและสิ่งแวดล้อมของชั้นเรียน และโรงเรียนแบบเดียวกัน ย่อมเข้าใจโจทย์ และปัญหาที่ต่างเผชิญอยู่

SLC ให้ความสำคัญกับการฟื้นคืน ปรับความสัมพันธ์ของคุณครูร่วมโรงเรียนเดียวกันให้มี ความเป็นเพื่อนร่วมงานที่เกื้อกูลสนับสนุนกันด้วยความเคารพในประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญ และความเชื่อที่มีแตกต่างกัน แต่สามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ อยู่ร่วมกันได้ตามวิถีประชาธิปไตย

สรุป

            หัวใจสำคัญของแนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community : SLC) ไม่ใช่เทคนิควิธีการสอน หรือกระบวนการในบริหารโรงเรียน แต่คือการสร้าง วิสัยทัศน์ใหม่ร่วมกันของทุกคนในโรงเรียน สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเรียนรู้ เปลี่ยนโรงเรียนที่เดิมครู คือผู้สอน นักเรียนคือผู้เรียน ให้ทุกคนสามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ตลอดเวลา และส่งผลดีต่อการพัฒนาการของเด็กในระยะยาว

 

เอกสารอ้างอิง

ชาโต มานาน (2562). การปฏิรูปโรงเรียน : แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎี มาปฏิบัติจริง.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นรรัชต์ ฝันเซียร. โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC). สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567. จาก.            https://www.trueplookpanya.com/education/content/77414

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2562). SLC – SCHOOL AS LEARNING COMMUNITY โรงเรียนใน ฐานะชุมชมแห่ง การเรียนรู้ : สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567. จาก.https://www.educathai.com/

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2564). บรรยายสาธารณะ เรื่อง เริ่มทำความรู้จักกับแนวคิด SLC วันที่ 2 มีนาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567. จาก.https://www.youtube.com/watch?v=FnKgcTFDR6U&t=3935