Inventory management

Inventory management

 Akaranun Asavarutpokin

Bachelor of Engineering Program in Automation Engineering Technolygy

Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok, Thailand

 

ระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่นตรวจนับและลงบัญชีทุกปลายสัปดาห์หรือปลายเดือน เมื่อของถูกเบิกไปก็จะมีการสั่งซื้อเข้ามาเติมให้เต็มระดับที่ตั้งไว้ ระบบนี้จะเหมาะกับสินค้าที่มีการสั่งซื้อและเบิกใช้เป็นช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น ร้านขายหนังสือของซีเอ็ดจะมีการสำรวจยอดหนังสือในแต่ละวัน และสรุปยอดตอนสิ้นเดือน เพื่อดูปริมาณหนังสือคงค้างในร้านและคลังสินค้า ยอดหนังสือที่ต้องเตรียมจัดส่งให้แก่ร้านตามที่ต้องการสั่งซื้อ ในการพัฒนาระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง จะทำให้รู้ว่าระบบการควบคุมสินค้าคงคลังแบ่งเป็นระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง และระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด สามารถนำมาเป็นแนวทางที่จะประยุกต์ใช้เพื่อที่จะตรวจนับและสั่งซื้อสินค้าในอนาคตได้

 

1. การตรวจนับจำนวนสินค้าคงคลัง

เป็นการตรวจนับสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สินค้าที่มีอยู่จริง และในบัญชีตรงกันมีหลายวิธี

1. วิธีปิดบัญชีตรวจนับ คือ เลือกวันใดวันหนึ่งที่จะทำการปิดบัญชีแล้วห้ามมิให้มีการเบิกจ่ายเพิ่มเติม หรือเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังทุกรายการ โดยต้องหยุดการซื้อ-ขายตามปกติ แล้วตรวจนับของทั้งหมด วิธีนี้จะแสดงมูลค่าของสินค้าคงคลัง ณ วันที่ตรวจนับได้อย่างเที่ยงตรง แต่ก็ทำให้เสียรายได้ในวันที่ตรวจนับ

2. วิธีเวียนกันตรวจนับจะปิดการเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังเป็นส่วนๆ เพื่อตรวจนับเมื่อส่วนใดตรวจนับเสร็จก็เปิดขายหรือเบิกจ่ายได้ตามปกติ และปิดแผนกอื่นตรวจนับต่อไปจนครบทุกแผนก วิธีนี้จะไม่เสียรายได้จากการขายแต่โอกาสที่จะคลาดเคลื่อนมีสูง

2. การจัดการสินค้าคงคลัง มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการ

1. สามารถมีสินค้าคงคลังบริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอ และทันต่อความต้องการของลูกค้าเสมอ เพื่อสร้างยอดขาย และรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้

2. สามารถลดระดับการลงทุน ในสินค้าคงคลังในราคาต่ำ ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงด้วย

 

การบริหารสินค้าคงคลัง จะเป็นการรักษาความสมดุลจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และเนื่องจากการบริหารการผลิตในปัจจุบัน จะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลักสำคัญ ซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีซึ่งทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุดด้วย จึงดูเหมือนว่า การมีสินค้าคงคลังในระดับสูง จะเป็นประโยชน์กับกิจการในระยะยาวมากกว่า เพราะจะรักษาลูกค้า และส่วนแบ่งตลาดได้ดี แต่อันที่จริงแล้วต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูงก็มีส่วนที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย มีผลให้ไม่สามารถที่จะต่อสู้กับคู่แข่งขันใน ด้านราคาได้จึงต้องทำให้ต้นทุนต่ำ คุณภาพดี และบริการที่ดีด้วยในขณะเดียวกัน

 

3. ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง

1. เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล โดยผู้ประกอบการ ต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า

2. เป็นการรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักร ให้สม่ำเสมอได้โดยจะเก็บสินค้าที่จำหน่ายไม่หมดในช่วงที่จำหน่ายได้ไม่ดีไว้จำหน่ายตอนช่วงเวลาที่ลูกค้า หรือผู้บริโภคมีความต้องการ ซึ่งในช่วงเวลานั้นอาจจะผลิตไม่ทันการจำหน่าย

3. ทำให้ผู้ประกอบการ ได้ส่วนลดปริมาณ จากการจัดซื้อสินค้าจำนวนมากต่อครั้งเพื่อเป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคา และผลกระทบจากเงินเฟ้อ เมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้น

4. ป้องกันสินค้าขาดมือ ด้วยสินค้าเผื่อขาดมือ เมื่อเวลารอคอยล่าช้า หรือบังเอิญได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน

5. ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงัก อันเนื่องจากของขาดมือ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้คนงานว่างงาน เครื่องจักรถูกปิดหรือผลิตไม่ทันคำสั่งซื้อของลูกค้า

 

4. อุปสงค์ของสินค้าคงคลัง

การจัดการสินค้าคงคลังจะเริ่มจากอุปสงค์ของลูกค้า เพื่อจัดการให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องใช้หลักการพยากรณ์ โดยอุปสงค์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. อุปสงค์ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและสินค้าที่ใช้ต่อเนื่อง ในกระบวนการผลิต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงถ้าขาดวัตถุดิบประเภทนี้ เช่น ถ้าโรงงานประกอบสารเคมี มีสารเคมีขาดหายไปแม้แต่ชนิดเดียว ก็จะทำให้โรงงานหยุดทันที

2. อุปสงค์ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และสินค้าที่ไม่ใช้ต่อเนื่องในกระบวนการผลิต ส่วนมากจำหน่ายให้ลูกค้าโดยตรง ถ้าไม่มีอาจจะเสียโอกาส และถูกปรับ

 

5. สรุป

ระบบสินค้าคงคลังจะมีวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ ทำให้บัญชีคุมยอดแสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมสินค้าคงคลังรายการที่สำคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้แต่ระบบนี้เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายด้านงานเอกสารค่อนข้างสูง และต้องใช้พนักงานจำนวนมากจึงดูแลการรับจ่ายได้ทั่วถึง ในปัจจุบันการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานและบัญชี สามารถช่วยแก้ไขปัญหาในข้อนี้ โดยการใช้รหัสหรือรหัสสากลสำหรับผลิตภัณฑ์ ปิดบนสินค้าแล้วใช้เครื่องกราดสัญญาณเลเซอร์อ่านรหัส ซึ่งวิธีนี้นอกจะมีความถูกต้อง แม่นยำเที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นรากฐานข้อมูลของการบริหารสินค้าคงคลังในกรณีอื่น เช่น การบริหารห่วงโซ่ของสินค้า

 

เอกสารอ้างอิง

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). การพัฒนาองค์การ กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์

          _Newsletter/oct_2016/e-newsletter/High.

Blanchard, Ken. (2017). Leading at a Higher Level: Blanchard on Leadership and         creating  High Performance Organizations USA: Pearson Education.

Buytendijk, Frank. (2016). The Five Keys to Building a High-Performance Organization        (Gartner Group)” Business Performance Management Magazine (February: 1-20.

De Waal, A. A. (2012). The Characteristics of High Performance Organization. Business Strategy Series. vol. 8, No. 3 pp. 179-185. Emerald Group Publishing Limited.

Edgar, Huse. R. (1982). Team Building. citing Daniel Robery and Steven Altman.          Organization Development: Progress and Perspective. New York: McMillan      Publishing Ltd

Guillen, M., & Gonzalez, T.F. (2011). The ethical dimension of managerial leadership         two illustrative case studies in TQM.

Journal of Business Ethics 34: 175.

Hellsten,Ulrika; Klefsjö, Bengt.  (2010). TQM as a management system consisting of          values, techniques and tools”, The TQM Magazine. 12(4): 238 – 244

Herrenkohl. (2014). Becoming A Team : Ohio : Library of congress Control.

Homburg, Christian and Christian Pflesser. (2010). A Multiple-Layer Model of Market-        Oriented Organizational Culture: Measurement Issues and Performance        Outcomes. Journal of Marketing Research, 37 (November), 449–62

Lenhardt, Vincent. (2014). Coaching for Meaning : The culture and practice of   coaching and team building. New York: Creative Print and Design.

McGowrty and Meuse. (2011). The Team Developer. New York: Branford and      Bigelow.

Metri, A.B. (2015). TQM Critical Success Factors For Construction Firms. Journal of Management, 10(2): 61-72.

Marquardt, Michael J. (2016). Building the Learning Organization. New York : Mc Graw-Hill

Molina, Andres F. (2015). Critically consider Geert Hofstede’ s contribution to Intercultural Communication. Aalborg University: Aalborg Denmark.

Narver, John C. and Douglas L. MacLachlan. (2020). Total Market Orientation,                               Business Performance, and Innovation. Cambridge, MA: Marketing Science Institute.

Parast, M.M. and Digman, A.L. (2017) A Framework for Quality Management Practices in Strategic Alliances. Journal of Management Decision, 45(4), 802-818.

Robbins. P Stephen. (2011) Organization Behavior, 9th ed. New Jersey: Prentice –          Hall.

Rönnbäck, Å., & Witell, L. (2018) A review of empirical investigations comparing     quality initiatives an manufacturing and service organizations. Managing Service Quality. 18(6): 577-593.

Schermerhorn, J. R., Jr., Hunt, J. G., Osborn, R. N. (2013). Organizational behavior (8th ed.) University of Phoenix Custom Edition. New York: Wiley.

The Deming Prize Committee. (2018). The Deming Prize Guide for Overseas. Union of Japan Scientists and Engineers.