[ Design Brief ] การเขียนโจทย์ของการออกแบบสิ่งพิมพ์และการเผยแพร่ดิจิทัล

การเขียนโจทย์ของการออกแบบสิ่งพิมพ์และการเผยแพร่ดิจิทัล
 [Design Brief of Publication Design and Digital Publishing]

        กระบวนการออกแบบสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เป็นส่วนหนึ่งของงานในขั้นตอนงานก่อนการพิมพ์ โดยแบ่งลักษณะของกระบวนการทำงานออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1) การเตรียมการก่อนการออกแบบ และ 2) การปฏิบัติการออกแบบ

        ซึ่งในการออกแบบสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัลนั้น แผนการในการดำเนินการหรือกลยุทธ์นับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง นักออกแบบไม่ควรจะเริ่มต้นดำเนินการออกแบบสิ่งพิมพ์หากยังไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน กลยุทธ์ในการออกแบบนั้นจะเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดประเด็นสำคัญ แล้วนำไปทำการเขียนในรูปแบบของโจทย์การออกแบบโดยโจทย์ของการออกแบบ (design brief) มีความสำคัญหลายประการ ดังนี้

“ความสำคัญ” ของการเขียนโจทย์การออกแบบ

     1) โจทย์ของการออกแบบเป็นเอกสารที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารหรือผู้เป็นเจ้าของสิ่งพิมพ์หรือนักเขียนกับนักออกแบบเพื่อตรวจสอบและยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายมีความเห็นในประเด็นที่ควรพิจารณาต่างๆ ตรงกันหรือไม่ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการทำงาน ทำให้ไม่เสียเวลาและลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งจะส่งผลถึงระยะเวลา ประสิทธิภาพ และความสัมพันธ์กันในการทำงานต่อไป

     2) โจทย์ของการออกแบบช่วยให้นักออกแบบเข้าใจภาพรวมทางการตลาดของสิ่งพิมพ์นั้นๆ ด้วยการย่อยข้อมูลมากมายที่ได้รับมาหรือที่ได้รวบรวมค้นคว้าเอาไว้ให้เหลือเป็นสาระสำคัญสั้นๆ และชัดเจน

     3) โจทย์ของการออกแบบช่วยให้นักออกแบบเข้าใจถึงภารกิจที่จะต้องดำเนินการ ด้วยการระบุประเด็นปัญหาหรือโอกาสของสิ่งพิมพ์นั้นระบุ และให้ผลวิเคราะห์กลุ่มบุคคลที่จะเป็นผู้รับสาร รวมทั้งระบุระดับและลักษณะของภารกิจทางการสื่อสารที่จะต้องทำให้บรรลุผล

     4) โจทย์ของการออกแบบช่วยให้นักออกแบบสร้างสรรค์หรือจินตนาการไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ด้วยการกำหนดแนวทางหลักที่จะใช้ในการดำเนินการออกแบบไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องคิดไปทำไปหรือเปลี่ยนใจไปมาตลอดเวลาในการออกแบบ

     5) โจทย์ของการออกแบบช่วยให้นักออกแบบทำการออกแบบได้รวดเร็วขึ้นด้วยการให้แนวทางที่เป็นเหมือนกรอบหรือตะแกรงที่ช่วยนักออกแบบในการเลือกองค์ประกอบและหลักการทางการออกแบบ รวมทั้งรูปแบบทางการออกแบบที่มีอยู่มากมายว่าสิ่งใดมีความเหมาะสมมากกว่ากัน ทำให้ไม่ต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

     6) โจทย์ของการออกแบบช่วยให้นักออกแบบและผู้ที่เกี่ยวข้องตัดสินใจเลือกผลงานออกแบบได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น โดยใช้สิ่งที่กำหนดไว้ในโจทย์เป็นเกณฑ์ในการประเมินว่าทางเลือกที่ได้ทดลองออกแบบมาหลายๆ ทางนั้น ทางใดเป็นทางที่เหมาะสมกับปัญหาที่สุด ทำให้มีเกณฑ์ร่วมกันระหว่างผู้บริหารหรือผู้เป็นเจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์กับนักออกแบบสำหรับใช้ในการตัดสินใจเลือกทางเลือกของผลงาน แทนที่จะใช้เพียงความชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งเป็นรสนิยมส่วนตัวที่อาจจะผิดพลาด หรือไม่เหมาะสมกับสิ่งพิมพ์นั้นได้

       จะเห็นได้ว่า โจทย์ของการออกแบบที่ดีนั้น อาจจะทำให้ได้ผลงานที่แก้ปัญหาได้ในเวลาที่รวดเร็ว ในขณะที่การไม่มีโจทย์หรือโจทย์ที่ผิดพลาดนั้น คือการทำงานอย่างไร้ระบบและสิ้นเปลืองเวลา โจทย์ของการออกแบบที่ดีไม่ได้จำเป็นต้องเขียนขึ้นด้วยภาษาที่สละสลวย ดังนั้น ข้อความที่เขียนควรจะเข้าใจได้ง่าย มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และที่สำคัญคือ เป็นข้อความสั้นๆ ที่สำแดงซึ่งแก่นแท้ของข้อมูลเรื่องนั้นๆ ประสิทธิภาพที่แท้จริงของโจทย์ของการออกแบบนั้นอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ในการเขียนมากกว่าความสวยงามของภาษา เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นหัวใจของการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ดี การเขียนโจทย์ของการออกแบบนั้น อาจทำในรูปแบบของแบบฟอร์มสำหรับใช้กรอกข้อความ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องระบุข้อมูลได้ครบถ้วนทุกเรื่อง (อารยะ ศรีกัลยาณบุตร, 2550)

      ในการทำงานในองค์กรใหญ่ๆ นั้น การเขียนโจทย์ทางการออกแบบอาจจะต้องมีบุคคลจากหลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันกำหนดข้อมูล ทั้งนี้จะต้องมีผู้กำกับศิลป์หรือนักออกแบบผู้เป็นหัวหน้าที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูงร่วมอยู่ด้วย ความหมายของสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ไว้ในโจทย์ของการออกแบบสิ่งพิมพ์ มีดังนี้

.

อ่านบทความต่อ…  คลิก!