A man is even worse than a tiger?

For men, the stress response will be one of fight or flight, whereas for women, it will be one of tend-and-befriend.

ก่อนหน้านี้ มีความเชื่อว่าการตอบสนองต่อไปคุกคามถือเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่จำเป็นของมนุษย์ ซึ่งการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้น คือ การสู้หรือหนี หรือ “fight or flight”

แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า การตอบสนองต่อความเครียดยังมีในรูปแบบอื่นที่น่าสนใจ คือ tend-and-befriend

ทฤษฎี tend-and-befriend เป็นการปรับตัวที่ลดภาวะความเครียดโดยโน้มน้าวและการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หาคนที่จะพูดคุยทำให้เกิดความสบายใจหรือให้ความช่วยเหลือเพื่อลดระดับของความเครียดลง (Taylor et al., 2000)

โดยผลการศึกษาพบว่าผู้ชายมีแนวโน้มที่จะแสดงอาการการสู้หรือหนี หรือ “fight or flight” ผู้หญิงมักจะใช้วิธีการในการ tend-and-befriend ในการจัดการปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้น

การตอบสนองต่อความเครียดในรูปแบบของการสู้หรือหนี จะมีการตอบสนองต่อชีวเคมีในร่างกายก่อนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและกระตุ้นพฤติกรรมที่แสดงออกมา ได้แก่

· การสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน นอร์ดรีนาลีน และคอร์ติซอล

· เลือดไหลจากอวัยวะสู่แขนและขา เตรียมร่างกายให้พร้อมรับมือ

· อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น

· ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่ำกว่า

· ความตื่นตัว

ซึ่งปฏิกิริยาที่แสดงออกทางร่างกายนี้ จะส่งผลต่อพฤติกรรม ที่จะแสดงออกมาในรูปแบบของการรวมกำลังเพื่อที่จะมีการต่อสู้หรือเพื่อที่จะหนีให้พ้นจากสถานการณ์

ซึ่งปฏิกิริยาทั้งหมดที่เกิดขึ้นทันที และชั่วครั้งชั่วคราวเมื่อเกิดอาการเครียดนั้น หากเกิดขึ้นในระยะยาวซ้ำซาก ก็จะทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง เป็นภาวะกดดันที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจตามมา

Stress responses and mental health

ในผู้ที่มีการตอบสนองแบบสู้หรือหนีส่วนใหญ่จะสามารถนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังนำไปสู่การพัฒนาด้านอาการทางจิต ที่เรียกว่า post-traumatic stress disorder (PTSD) หรือภาวะผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และความวิตกกังวล

ดังนั้นเมื่อเกิดความเครียดขึ้นผู้ชายจึงมักมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงได้มากกว่า ซึ่งอาจมีผลมาจากผู้ชายจะไม่ค่อยแสดงความเจ็บปวด หรือความต้องการ และไม่คาดหวังว่าจะได้รับการ ความเห็นอกเห็นใจหรือการได้รับความช่วยเหลือจากสังคม ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นลักษณะของวัฒนธรรมทางสังคมที่สร้างให้เพศชายเป็นเพศที่แข็งแกร่งและมีความอดทนต่อปัญหา และเป็นเพศที่ใช้พละกำลังในการ ปกป้องตนเองหรือปกป้องเพศหญิงตามสัญชาตญาณ

ความเครียดที่ก่อตัวเป็นความรุนแรงที่แสดงออกมาโดยขาดสติ ขาดความยับยั้ง ไม่มีการควบคุม นอกจากไม่ได้ใช้ fight or flight ในการตอบสนองเพื่อเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์แล้ว กลับใช้พละกำลังทางชีวเคมีของร่างกายในการเข่นฆ่าเอาชีวิตผู้อื่นอย่างบ้าคลั่ง

ดังนั้น การสร้างการแสดงออกของรูปแบบ tend-and-befriend ให้เกิดขึ้น สามารถรับมือกับปัญหาของเองได้ถือเป็นวิธีการหนึ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเครียด ลดความรุนแรงในสังคมได้

จะสร้าง tend-and-befriend ได้อย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป