แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานทางเดี่ยวเครื่องสีไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ/ระดับภูมิภาค

แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานทางเดี่ยวเครื่องสีไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ/ระดับภูมิภาค
สุรพงษ์ บ้านไกรทอง
องค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์ เครื่องสีไทยที่ได้รับจากการสร้างสรรค์งานในครั้งนี้ ผู้เขียนจะรวบรวม
องค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้ตกผลึกความคิด สังเกต จดจ า บันทึกไว้ เพื่อเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่จะสร้างสรรค์ผลงาน
ทางเดี่ยวเครื่องสีไทยต่อไป ในการสร้างสรรค์ผลงานทางเดี่ยวซอสามสายนั้น ผู้เขียนสามารถสรุปเป็นประเด็นองค์
ความรู้ได้ดังต่อไปนี้
ซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีไทยที่มีระเบียบแบบแผน ต้องศึกษาหลักการจากครูผู้เชี่ยวชาญให้ดีเสียก่อน
ซอสามสายมีเสียงโดยปกติ 11 เสียง ในเพลงเดี่ยวสามารถใช้เสียงเพิ่มได้อีกอย่างน้อย 10 เสียง จากการ
รูดนิ้ว หรือจากการควงนิ้ว ขึ้นอยู่กับบทเพลงว่าเป็นเพลงในล าดับขั้นใด
ทางซอสามสาย มีลักษณะไม่โลดโผน ไม่โดดเสียงไปมา แต่มักจะผูกกลอนให้พันกันและด าเนินกลอนโดย
ใช้สายครบทั้งสามสาย
ลักษณะกลอนซอสามสาย ไม่นิยมการเก็บตลอดเพลง แต่นิยมสร้างสรรค์กลอนที่มีความห่าง หรือศัพท์
เฉพาะส านักบางส านักเรียก “จาว” หรือ “ยักจังหวะ” สอดแทรกมาในทางพันเสมอ
ในทางโอด มีลักษณะการใช้นิ้วพิเศษ เช่น นิ้วชุน นิ้วนาคสะดุ้ง นิ้วแอ้ ซึ่งมีปรากฏในเพลงเดี่ยวแทบ
ทุกเพลง
การใช้คันชักซอสามสาย หากเดินคันชักไกวเปลไปตลอด อาจจะขาดอรรถรสบางประการ ควรศึกษา
คันชักสายน้ าไหล คันชักงูเลื้อย คันชักดัง เบา และเพิ่มเติมในเพลงเดี่ยว
การสีเสียงนิ่งๆ ยาวๆ โดยการควบคุมคันชัก เป็นทักษะพิเศษที่ดูเรียบง่าย แต่ต้องผ่านการฝึกฝน
อย่างมาก
การบรรเลงซอสามสายนั้น ไม่นิยมบรรเลงกลวิธีขยี้
ในการสร้างสรรค์ผลงานทางเดี่ยวซออู้นั้น ผู้เขียนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังต่อไปนี้
ซออู้ เป็นเครื่องดนตรีที่มีบุคลิกของเสียงเบา ทุ้ม นุ่มนวล เสียงที่เกิดจากกะลามะพร้าว มีเสียงอู้สมกับ
ชื่อของซอ ผู้ที่จะสร้างสรรค์ประพันธ์ทางเดี่ยว ควรจะน าคุณสมบัตินี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ซออู้มีเสียงโดยปกติ 9 เสียง ในเพลงเดี่ยวสามารถใช้เสียงเพิ่มได้อีกอย่างน้อย 8 เสียง จากการรูดนิ้ว
หรือจากการควงนิ้ว ขึ้นอยู่กับบทเพลงว่าเป็นเพลงในล าดับขั้นใด
ทางซออู้ จะมีลีลาของการบรรเลงคล้ายกับระนาดทุ้มในวงปี่พาทย์ คือ ล่วงหน้า ล้าหลัง และลานจังหวะ
(หรืออิหลักอิเหลื่อ) ซึ่งระนาดทุ้มและซออู้ มีหน้าที่ในวงคล้ายกัน คือ การหยอกล้อ ยั่วเย้า ให้เกิดอรรถรสของ
บทเพลง
การผูกกลอนซออู้นิยมผูกทางให้มีลักษณะไม่โลดโผน มีเสียงโดดไปมา แต่ไม่นิยมผูกกลอนที่มีการ
ฟาดเสียง
ลักษณะกลอนซออู้ มักจะมีการสีลัก ย้อย โหน จังหวะ ซึ่งหากประพันธ์ทางได้ลักษณะดังกล่าว
จะสามารถสร้างอรรถรสให้แก่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี
การประพันธ์ทางเดี่ยวซออู้นั้น นิยมน าการใช้ส านวนของระนาดทุ้ม ปี่ใน ปี่ชวา มาช่วยในการผูกทาง
ซออู้
ในการสร้างสรรค์ผลงานทางเดี่ยวซอด้วงนั้น ผู้เขียนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังต่อไปนี้
ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีที่มีบุคลิกของเสียงดัง แหลม สูง ผู้บรรเลงต้องมีความแม่นนิ้ว แม่นเสียง แม่นหู
มิฉะนั้นจะบรรเลงเสียงเพี้ยนได้ง่าย
ซอด้วงมีเสียงโดยปกติ 9 เสียง ในเพลงเดี่ยวสามารถใช้เสียงเพิ่มได้อีกอย่างน้อย 8 เสียง จากการรูดนิ้ว
หรือจากการควงนิ้ว ขึ้นอยู่กับบทเพลงว่าเป็นเพลงในล าดับขั้นใด แต่หากรูดนิ้วลงไปมาก ก็อาจจะมีความเสี่ยงให้
เสียงเพี้ยนได้ อีกทั้งในขณะที่บรรเลงอาจจะไม่ได้ยินเสียง
ท าง ซ อด้ วง จ ะ มี ลี ล า ข อง ก า ร บ ร ร เ ลง ค ล้ า ย กั บ ร ะ น า ด เ อ ก คื อ มี ก า ร ด า เ นิ น ก ลอน
ขึ้น ลง เรียบ นิ่ง คมคาย ไม่นิยมผูกทางให้มีเสียงโดดขึ้น โดดลง ไม่นิยมผูกกลอนที่มีการฟาดเสียง
ลักษณะกลอนซอด้วง มักจะมีการใช้กลอนต่างๆ เช่น กลอนพัน กลอนไต่ลวด กลอนม้วนตะเข็บ ซึ่งหาก
ประพันธ์ทางให้กลอนดังกล่าวมีความสอดคล้องรื่นหู จะสามารถสร้างอรรถรสให้แก่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี
ในก า รสร้ างสร รค์ผลง านค รั้งนี้ ผู้เขียนได้สังเกต พบปัจจัย และก ร ะบวนก า รบ างอย่ าง
ซึ่งนักเรียน นักศึกษาที่ประสบความส าเร็จในการประกวดดนตรีไทยรายการต่างๆได้นั้นจะมีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ได้แก่ ปัจจัยด้านทักษะของผู้บรรเลง ซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญที่สุดที่จะท าให้การประกวดครั้งนั้นประสบความส าเร็จ ซึ่ง
ผู้บรรเลงจะต้องฝึกฝน ได้รับค าแนะน าต่างๆ มาแก้ไขและพัฒนาตนเอง ในเรื่องของทักษะนี้ ก็รวมถึงเรื่องของ
ประสบการณ์ทางด้านดนตรีด้วย เช่น ผู้เขียนจะต้องรู้จักการบรรเลงรวมวง รู้จักความพอดี กลมกลืน รู้จักที่จะ
สังเกต รู้จักฟัง รู้จักการเลียนแบบ หากผู้บรรเลงท าได้ดีก็อาจจะประสบผลส าเร็จในการประกวด
ปัจจัยต่อมา คือการจัดการ การจัดการนี้หมายถึง การเตรียมการที่ไม่เกี่ยวกับทักษะของ
ผู้บรรเลง ซึ่งโดยมากปัจจัยนี้จะเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนในสถาบันนั้นๆ แต่ในบางครั้งนักเรียนจัดการเอง
ก็มีปรากฏ ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ การจัดการเวล าฝึกซ้อม การจัดการธุรการต่ าง ๆ เช่น เอกส า ร
การประกวด การบันทึกเสียง การขออนุญาตผู้ปกครอง การตั้งงบจ้างวิทยากร การเลือกเครื่องดนตรี การจัดการ
หาผู้บรรเลงก ากับจังหวะ เป็นต้น
ปัจจัยสุดท้ายที่จะช่วยให้ผู้บรรเลงประสบความส าเร็จคือ ทางเพลง ที่มีความเหมาะสมกับ
ผู้บรรเลง ไม่บรรเลงจนเกินฝีมือของตน ซึ่งครูผู้สอนในสถาบันต่างๆนั้น อาจไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่ควร
จะมีรสนิยม มีบรรทัดฐานในการเลือกทางเดี่ยว ให้เหมาะสมกับนักเรียนของตน ซึ่งครูผู้สอนจะต้องรู้จุดอ่อน
จุดแข็งของผู้บรรเลง และรู้จักฟังทางเดี่ยวจากที่ต่างๆ และคัดกรองทางเดี่ยวนั้นให้ผู้ที่จะเข้าประกวด จึงจะ
ประสบผลส าเร็จในการประกวด
ทั้งสามปัจจัยนี้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลถึงกัน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้ว ก็อาจจะไม่ประสบผลส าเร็จในการ
ประกวดดนตรีไทย ผู้บรรเลงจึงต้องมีฝีมือที่ดี มีทางเพลงที่ดี และมีการจัดการที่ดีซึ่งการจัดการที่ดี ก็จะส่งผลให้
ได้รับทางเพลงที่ดี และพัฒนาให้นักเรียนมีฝีมือที่ดีอีกด้วย ในอีกมุมหนึ่ง หากมีทางเพลงที่ดี การจัดการที่ดี
แต่ทักษะนักเรียนไม่เพียงพอ ก็ไม่ประสบความส าเร็จ ผู้เขียนจึงได้สรุปเป็นแผนผังดังนี้
ปัจจัยที่จะน าสู่ความส าเร็จในการประกวดดนตรีไทย
ภาพที่ 1 ปัจจัยที่จะน าไปสู่ความส าเร็จในการประกวดดนตรีไทย
ทักษะผู้บรรเลงที่ดี
ทางเพลงที่ดี การจัดการที่ดี
ความส าเร็จ