แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ

แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
สวัสดิการของสังคม (Social welfare) จะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของคนในสังคมรวมกัน แม้ว่าการรวมกันของสวัสดิการสังคมจะทำให้เกิดปัญหาหลายประการ แต่ก็ถือว่ามีความจำเป็นในการวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับความพอใจของคนในสังคม

ทั้งนี้ค่าสวัสดิการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสินค้าและบริการ สามารถวัดออกมาเป็นมูลค่าในรูปตัวเงินได้โดยอาศัยหลักแนวคิดของความเต็มใจจะจ่ายและความเต็มใจจะรับ ซึ่งหลักแนวคิดดจะเป็นตัวสะท้อนถึงประโยชน์ของตัวบุคคลที่คิดว่าจะได้รับ ถ้าหากว่าความเต็มใจจะจ่ายหรือความเต็มใจจะรับวัดออกมาแล้วมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าที่เกิดขึ้นจริงจะแสดงถึงส่วนเกินผู้บริโภคที่ได้รับ (Consumer Surplus) สวัสดิการสังคมก็จะเพิ่มขึ้นต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจที่ทำให้อีกฝ่ายได้รับประโยชน์และอีกฝ่ายไม่เสียผลประโยชน์

โดยมี แนวคิด Marshall ได้กล่าวว่า ส่วนเกินผู้บริโภคนั้นจะวัดได้จากใต้พื้นที่เส้นอุปสงค์อยู่เหนือเส้นราคาที่แสดงถึงปริมาณการซื้อสิน ณ ระดับราคาที่ต่างกัน ซึ่งจะเป็นหลักแนวคิดนี้เป็นการวัดประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโดยจะพิจารณาจากทางรายได้อย่างเดียว อาจทำให้ผู้ศึกษาละเลยถึงการพิจารณาอรรถประโยชน์ของแต่ละบุคคลที่ต้องการบริโภคสินค้านั้นๆได้

และแนวคิด Hick ได้กล่าวว่า การวัดส่วนเกินผู้บริโภคจากเส้นอุปสงค์ที่ได้มีการพิจารณาถึงอรรถประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้บริการสินค้าที่ใช้หลัก Utility Constant Welfare Measurement

Utility Constant Welfare Measurement

แบ่งได้ทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่

1.1 Compensating Variation (CV) เป็นการวัดส่วนเกินผู้บริโภคเต็มใจจะจ่ายสูงที่สุด เพื่อการบริโภคในสถานการณ์ที่ดีขึ้น หรือจำนวนเงินที่ต่ำที่สุดที่ผู้บริโภคเต็มใจที่จะยอมรับกับสถานการณ์ที่แย่ลง เมื่อราคาเปลี่ยนไปโดยที่ยังมีระดับอรรถประโยชน์คงที่ ณ ระดับราคาเดิม

1.2 Equivalent Variation (EV) เป็นการวัดส่วนเกินผู้บริโภคเต็มใจจะจ่ายสูงที่สุด เพื่อการบริโภคในสถานการณ์ที่ดีขึ้น หรือจำนวนเงินที่ต่ำที่สุดที่ผู้บริโภคเต็มใจที่จะยอมรับกับสถานการณ์ที่แย่ลง เมื่อระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปโดยที่อรรถประโยชน์คงที่ ณ ระดับราคาใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป

1.3 Compensating Surplus (CS) เป็นการวัดความเต็มใจจะจ่ายเต็มใจจะจ่ายสูงที่สุด เพื่อการบริโภคในสถานการณ์ที่ดีขึ้น หรือจำนวนเงินที่ต่ำที่สุดที่ผู้บริโภคเต็มใจที่จะยอมรับกับสถานการณ์ที่แย่ลง ว่าจำนวนเงินเท่าไหร่จึงจะได้รับโอกาสในการได้รับสินค้าและบริการ ณ ระดับราคาใหม่ที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับสวัสดิการเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลงราคา (ส่วนต่างราคาเดิมกับราคาใหม่)

1.4 Equivalent Surplus (ES) เป็นการวัดความเต็มใจจะจ่ายเต็มใจจะจ่ายสูงที่สุด เพื่อการบริโภคในสถานการณ์ที่ดีขึ้น หรือจำนวนเงินที่ต่ำที่สุดที่ผู้บริโภคเต็มใจที่จะยอมรับกับสถานการณ์ที่แย่ลงในการจ่ายเงินชดเชยเท่าไหร่ เมื่อระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงโดยผู้บริโภคมีสวัสดิการคงที่ ณ ระดับราคาใหม่ที่เปลี่ยนแปลง