การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนผ่านวัฒนธรรมภูมิปัญญาผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณและคณะ. (2563).การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนผ่านวัฒนธรรมภูมิปัญญาผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม,19 (1), 18-46.

http://culture.bsru.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/05-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-19-%E0%B8%891-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-63-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-.pdf

https://www.youtube.com/watch?v=2Pp-S_fN1bQ

การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนผ่านวัฒนธรรมภูมิปัญญาผ้าทอ ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อําเภออูู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี Communication of Community Identity through the Cultur al Wisdom of Woven Fabrics of Laos Ethnic Groups in U Thong District, Suphan Buri Province

อารียา จุ้ยจําลอง / Areeya Juichamlong เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ / Saowalak Srisuwan พัชนี แสนไชย / Patchanee Sanchai สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย / Supranee Siriswattchai วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ / Wisit Potiwat อารยา วาตะ / Araya Wata

Received: May 30, 2019 Revised: Apr 30, 2020 Accepted: May 12, 2020

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนด้านวัฒนธรรมภูมิปัญญาผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวผ่านปราชญ์ท้องถิ่น อําเภออูู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อผลิตภาพยนตร์สารคดีสั้นสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนผ่านวัฒนธรรมภูมิปัญญาผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อําเภออูู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ๓) เพื่อประเมินความพึงพอใจภาพยนตร์ สารคดีสั้นสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนผ่านวัฒนธรรมภูมิปัญญาผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ในรูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ผลการวิจัย พบว่า ๑) การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชน ได้แก่ ไทยทรงดํา ลาวเวียง ลาวครั่ง มีจุดร่วมกันในแง่ มีการนับถือผีบรรพบุรุษและนับถือพุทธศาสนา แต่การนําผ้าทอไปใช้ในวิถีชีวิต พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาลสําคัญทางศาสนามีความแตกต่างกัน ๒) การผลิตภาพยนตร์สารคดีสั้น ในการวิจัยนี้ ได้นํากระบวนการมีส่วนร่วมทางมานุษยวิทยามาใช้ในการศึกษาข้อมูล โดยทําแผนที่เดินดิน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผูู้ใหญ่ และกระบวนการในการผลิตภาพยนตร์ เปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์ลาวร่วมเป็นนักแสดง คัดเลือกเนื้อหา เพื่อผลิตเป็นภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่อง“ถิ่นทออู่ทอง” เวลา ๑๕ นาที ภาพยนตร์สารคดีสั้นจึงเป็นเครื่องมือที่ทําให้เยาวชนและคนในชุมชน เกิดการรับรู้ ความภาคภูมิใจ และตระหนักในคุณค่าของผ้าทอเพิ่มขึ้นของกลุ่มชาติพันธุลาวทั้ง ๓ ชุมชน ในอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ๓) ผลการประเมินความพึงพอใจภาพยนตร์สารคดีสั้น ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดํา ลาวเวียง และลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี จํานวน ๓๐ คน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

คําสําคัญ : อัตลักษณ์ชุมชน ภูมิปัญญาผ้าทอลาว ภาพยนตร์สารคดี

Abstract

The objectives of this research were 1 ) to study the communication of community identity through cultural wisdom of  woven fabrics of Laos ethnic groups through local philosophers in U Thong District, Suphan Buri Province, 2 ) to produce short documentary film to communicate the community identity through the culture wisdom of woven fabrics of Laos ethnic groups in U Thong District, Suphan Buri Province, and 3 ) to evaluate the satisfaction with foresaid short documentary film. This study used a qualitative research as the research design. Document analysis, In-depth interview, focus group were conducted through the participatory action research. The results of this research indicated 1) Communication of Community Identity District including Tai Song Dam, Lao Viang and Lao Khrang had common traditions in terms of respect for ancestral spirits and Buddhism. The differences found were the use of woven fabrics in the way of life, rituals, traditions and major religious festivals. In this research, 2 ) anthropological process was applied to study the data, conduct mapping, and create relationship between youth and adults. The participatory process was conducted in film production and opens an opportunity for Laos ethnic groups as characters. Content was selected to produce short documentary film titled “ Weaving U-Thong” with 1 5 minute duration. As these results, short documentary film is a tool to enhance the awareness, pride, and appreciation of young people and local people in the community. This leads to a network of exchanges between the communities of three Laos ethnic groups in U Thong District, Suphan Buri province. 3 ) Satisfaction with foresaid short documentary film assessment results of locals who live in Tai Song Dam, Lao Viang and Lao Khrang community, Suphan Buri province, 30 show that the very satisfied scale.

Keywords : Community Identity, Laos Woven Fabric Wisdom, Documentary Film