เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการผลิต

เศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มีการศึกษามาตั้งแต่โบราณโดยเน้นหลักการกินดีอยู่ดี  ความมั่งคั่ง  ความยุติธรรม และได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ กระทั่งอดัม สมิธ  (Adam Smith) ได้เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรก ชื่อว่า The Wealth of Nation โดยได้เสนอแนวความคิดเรื่องความชำนาญเฉพาะอย่างและการผลิตแบบเสรี  ทำให้วิชาเศรษฐศาสตร์เริ่มเป็นศาสตร์มากขึ้น   ในช่วง ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม  ค.ศ. 1750-1850  แนวคิดของการพัฒนาการผลิตเชิงวิทยาศาสตร์  โดย Frederick W. Taylor ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิศวกรรมอุตสาหการ  คิดค้นวิธีการทำงานหลายๆวิธีที่มีหลักเกณฑ์ที่เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อกำหนดอัตราผลตอบแทนตามผลผลิตที่ได้  ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการนำหลักเศรษฐศาตร์มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม   ในคริสต์ศตวรรษที่  19 ศาสตรจารย์อัลเฟรด มาแชล (Alfred Marshall) เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฏีว่าด้วยการผลิต (Theory of the Firm)   และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ก็เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาการตลาด  เศรษฐกิจของระบบธุรกิจย่อย และระบบมหภาคขึ้นมาเรื่อยๆ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : https://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=14316

             การเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์โลก  ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ   และประวัติศาสตร์เทคโนโลยี  ทำให้เกิดปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วไปพร้อมๆกัน ก่อให้เกิดการขยายตัวขององค์กรและการสร้างผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ เกิดเป็นโลกของระบบทุนนิยม หน่วยงานระดับประเทศและระดับองค์กรต้องเสาะแสวงหาความได้เปรียบ ความมั่นคง  สามารถคงสถานะการแข่งขันและอยู่รอดได้   การดำเนินงานทางวิศวกรรม อุตสาหกรรม  รวมถึงบริการต่างๆ ที่สร้างขึ้น  จะมีการดำเนินการภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์มากกว่าทรัพยากรที่ใช้ลงทุนไป   ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการวัดผลสัมฤทธิ์ขององค์กร และธุรกิจ    และภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันในปัจจุบัน วิศวกร นักเทคนิค หรือนักอุตสาหรรม นั้นจักต้องมีทั้งความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ความรู้ทางเทคนิค และยังต้องสามารถใช้หลักเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจบริหารงาน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดต่อองค์กร

  วิชาเศรษฐศาสตร์ จึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลากหลายศาตร์  เนื่องจากเป็นวิชาที่มีการศึกษาแบบมีขั้นตอนเพื่อเป็นเครื่องมือชี้วัดตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ลดโอกาสความผิดพลาดต่อการลงทุน  

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย ศาสตร์ 2 ส่วนได้แก่  เศรษฐศาสตร์ กับ อุตสาหกรรม 

           อุตสาหกรรม หรือ วิศวกรรม ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการสร้าง แปรรูป ให้เกิดสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น วัตถุดิบ พลังงาน  เป็นต้น     โดยการผลิตหรือสร้างสิ่งประดิษฐต่างๆ นั้นสามารถทำได้หลายวิธีการ  เราไม่จำเป็นต้องทำทุกวิธีการ แต่เราสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ขึ้นอยู่กับเทคนิคการจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์   การดูว่าวิธีใดที่ทำไห้เกิดการประหยัดและมีประสิทธิภาพดีกว่า  โดยให้ผลออกมาเท่าเทียมกัน นั้นคือแนวคิดของการจัดการโดยอาศัยหลักเศรษฐศาสตร์    

วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีบทบาทต่อการบริหารจัดการขององค์กรที่ต้องมีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรจำนวนมาก  ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการก่อสร้าง  การผลิต หรือการบริการ  การศึกษาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมนี้ มุ่งเน้นศึกษาระเบียบวิธีทางเศรษฐศาสตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจทางอุตสาหกรรมหรือการลงทุนใช้ทรัพยากรขององค์กรธุรกิจ  

 

 

 

1.1  แนวคิดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต

            อุตสาหกรรม คือ การแปรรูปหรือปฏิบัติการแปรสภาพทรัพยากร ได้แก่ แรงงาน  ทุน เครื่องจักร โดยมีการปฎิบัติได้ในหลายรูปแบบ เช่น การผลิต  การให้บริการ  การขนส่ง  เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม ผลที่ได้จะอยู่ในรูปสินค้า หรือบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ  ส่วนผลผลิตที่ไม่พึงปรารถนาได้แก่ ของเสียและเศษซากวัสดุ  และยังมีส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องคือ ผลกำไร  วัฒนธรรมองค์กร  แสดงดังภาพที่ 1.1    (กิตติ กอบัวแก้ว., )

 

 

 

 

 

ภาพที่ 1.1  กระบวนการผลิต 
ที่มา :  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2556 : 199

          สิ่งสำคัญของการผลิตคือการการสร้างมูลค่า เพื่อตอบสนองความต้องการของ

องค์ประกอบของอุตสาหกรรม

          องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญสำหรับการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมดังนี้

1.       องค์ประกอบด้านทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources)   ได้แก่ วัตถุดิบ  เช่น แร่   น้ำมันดิบ   ไม้  หรือวัสดุ กึ่งสำเร็จรูป เช่น  ชิ้นส่วนต่างๆ 

2.       อำนาจในการเปลี่ยนแปลง  ได้แก่ เทคโนโลยี แรงงาน พลังงาน ความรู้ในการบริหารจัดการซึ่งโดยมากหมายถึงทรัพยากรมนุษย์

3.       องค์ประกอบด้านทุน (capital resources) ได้แก่ เงิน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่ทำให้เกิดปัจจัยนำเข้า เช่น  สาธารณูปโภค  เครื่องมือเครื่องจักร   อุปกรณ์การผลิต  และโรงงาน  เป็นต้น

องค์ประกอบเหล่านี้เป็นปัจจัยป้อนเข้าซึ่งทำให้เกิดเป็นผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการ  

1.2  ลักษณะการผลิต

          กระบวนการผลิต มักเป็นการทำงานที่เป็นระบบและเป็นขั้นตอน   โดยแยกออกตามลักษณะวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้  (อตินุช )

1.       การแปรสภาพโดยการแยกออก (Distegration)  คือ  การนำวัตถุดิบป้อนเข้ามาผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือสภาพ  เช่น  การกลั่นน้ำมันจากน้ำมันดิบ ได้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซล  น้ำมันเบนซิน  น้ำมันหล่อลื่น  น้ำมันเตา  หรือการถลุงเหล็กเพื่อให้ได้เหล็กดิบ

2.       การแปรสภาพโดยการรวมตัว (Integration)  คือ  การป้อนวัตถุดิบต่างๆ เข้าไปทำให้เกิดการรวมตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เช่น  การผสมปูนซีเมนต์  การประกอบรถยนต์   การทอผ้า

3.       การแปรสภาพโดยการบริการ (Service) คือ การทำให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งบางครั้งอาจไม่เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงด้วยสายตา  เช่น  การขนส่ง   การตรวจรักษา  

  1.2 ประเภทของอุตสาหกรรม

          การแบ่งประเภทอุตสาหกรรม มีวิธีการแบ่งหลายลักษณะ  โดยแจกแจงตามแนวทางการแบ่งของ แบ่งตามขนาดอุตสาหกรรมไว้ได้ 4 ประเภท  ดังนี้

1.    อุตสาหกรรมขนาดใหญ่    เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินทุนและคนงานเป็นจำนวนมาก  ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถ  ในการเนินการ   อุตสาหกรรมประเภทนี้  ได้แก่  อุตสาหกรรมปิโตรเคมี  อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์

2. อุตสาหกรรมขนาดกลาง   เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนและคนงานน้อยกว่าขนาดใหญ่    ได้แก่  อุตสาหกรรมประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า   อุตสาหกรรมสิ่งทอ

3.    อุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนน้อยและมีคนงานน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดกลาง คือ มีคนงาน 10-99 คน

4.    อุตสาหกรรมขนาดเล็ก  เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้คนงาน 1-9 คน  การดำเนินงาน มักไม่มีการแบ่งแผนกที่มีหน้าที่เฉพาะ  เช่น  อุตสาหกรรมในครอบครัว  อุตสาหกรรมหัตถกรรม 

 

         การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ จำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของเศรษฐศาสตร์ ควบคู่ไปด้วยเนื่องจากธุรกิจหรือองค์กรไม่ว่าทั้งรัฐบาลหรือเอกชน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก หรือแม้แต่การวางแผนชีวิตของตัวบุคคลเองมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการเงิน ตราบใดที่ความต้องการของมนุษย์ยังไม่สิ้นสุด ปัญหาความขาดแคลนย่อมเกิดมีขึ้น   การศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงเน้นในด้านของการศึกษา การบริหารจัดการ ทรัพยากร เพื่อให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากทรัพยากร อันได้แก่  เวลา   วัตถุดิบ  พลังงาน  แรงงาน  เงิน ต่างๆ เหล่านี้ย่อมมีจำกัดสำหรับมนุษย์  การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์มีความมุ่งหมายเพื่อการประหยัดทรัพยากร และเพื่อการรักษาทรัพยากรเหล่านั้นไว้ใช้ในอนาคต โดยวิธีการหรือทางเลือกใดที่ใช้เวลาน้อยสุด  แรงงานน้อยสุด  ให้ผลงานมากสุด  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยสุด  ย่อมเป็นทางเลือกที่มีคุณค่ามากที่สุด แต่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดทั้งนี้ต้องพิจารณาปัจจัยที่ไม่ใช่การเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  เช่น  คุณค่าทางสังคมและบุคคล   เป้าหมายบริษัทผู้บริโภค  กฎเกณฑ์ของรัฐบาล    

 

เอกสารอ้างอิง 

1. อตินุช   กาญจนพิบูลย์ . เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม . กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร    ลาดกระบัง , 2532.       

2. วันชัย  ริจิรวนิช  และชอุ่ม  พลอยมีค่า . เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม  . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.