เศรษฐกิจพอเพียงในระดับปฐมวัย (1)

การจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยึดหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยทำงาน และผู้สูงวัย มีโอกาสในการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้พัฒนาตามความพร้อมและความสามารถให้บรรลุศักยภาพสูงสุด มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะในการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งได้นำศาสตร์ของพระราชาซึ่งเป็นหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการประพฤติปฏิบัติ ดังนั้นการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก มีการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพให้กับประชาชนทุกคน ด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลาย สนองความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล สนองยุทธศาสตร์ชาติและความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ในการจัดการศึกษาคนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เด็กปฐมวัยทุกคนจะได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนประถมศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 อ้างถึงใน จินดา น้าเจริญ และอภิญญา มนูญศิลป์, 2562, น. 212) อ่านต่อ…….