เพลงอีแซวรุ่นเก่า: การใช้คำอุทานเสริมอรรถรสในบทปฏิพากย์

      บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้คำอุทานในการร้องเพลงอีแซวรุ่นเก่า ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เสริมอรรถรสในบทเพลงปฏิพากย์ที่พ่อเพลงแม่เพลงรุ่นเก่าใช้ร้องเล่นหรือแสดงในอดีต กลุ่มข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์คือวิดีทัศน์การแสดง “เพลงอีแซว” ในเว็บไซต์ยูทูป ของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพผลการวิเคราะห์พบว่า การใช้คำอุทานในการแสดงเพลงอีแซวรุ่นเก่าปรากฏทั้งหมด 11 คำ ได้แก่ ทุด, เอ้ย, อ้อ หรือ อ๋อ, พิโธ่ (พุทโธ่), เฮ้ย, ชะชะ, เอ๊ะ, แหม,หนอยหน็อย (หน็อยแน่) เอ๋ย และแน่ะ คำอุทานที่ปรากฏมักแสดงอารมณ์ของความไม่พอใจ ดูถูก ฉุนเฉียว ไม่ยอมแพ้ การข่มคู่ต่อสู้ มีส่วนน้อยที่ใช้ เพื่อแสดงความแปลกใจ และการเรียกด้วยความเอ็นดู การใช้คำอุทานเสริมอรรถรสดังกล่าวนับเป็นเสน่ห์ของเพลงอีแซวในอดีตที่สอดคล้องกับค่านิยม ขนบการแสดง และบริบทสังคมยุคนั้น  

คำสำคัญ: เพลงอีแซวรุ่นเก่า คำอุทาน บทปฏิพากย์