“เทมาเส็ก (Temasek)” สำคัญกว่าชื่อ

          “เทมาเส็ก”ในอดีตนั้นเคยมีกษัตริย์ปกครองกล่าวกันว่า ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อ “เทมาเส็ก” เสียใหม่ว่า สิงหปุระ หรือสิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมลายูซึ่งเป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน “เทมาเส็ก” แปลว่า “เมืองแห่งทะเล” ในภาษาชวา ต่อมาที่ตั้งเมืองนี้เปลี่ยนเป็น “สิงคะปุระ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “เมืองแห่งสิงโต” ในอดีตเทมาเส็กอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา และการยึดครองของอาณาจักรสยาม “เทมาเส็ก” เคยเป็นสมรภูมิสงครามระหว่างประเทศสยามกับจักรวรรดิมัชปาหิต เพื่อแย่งชิงแหลมมาลายู จนราว ปี พ.ศ. 1800 ต้นๆ อาณาจักรอยุธยาของไทย เจ้าชายแห่งศาสนาฮินดูทรงพระนามว่า “เจ้าชายปรเมศวร” ได้ทรงอพยพออกจากปาเล็มบัง (ปัจจุบันคือ เมืองหลวงของจังหวัดสุมาตราใต้ ทางฝั่งตะวันออกทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย) เหตุเนื่องด้วยการรุกรานจากอาณาจักรมัชปาหิต เจ้าชายปรเมศวรได้เข้าไปตั้งเมืองอยู่ที่ “เทมาเส็ก” แต่ในตอนนั้น “เทมาเส็ก” ตกอยู่ใต้อำนาจของสยาม ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับสยามและเจ้าชายปรเมศวรจึงต้องออกเดินข้ามเกาะเทมาเส็กมาพักใต้ต้นมะขามป้อม ในแผ่นดินใหญ่แหลมมาลายู (รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) และระหว่างที่พักทัพทรงเห็นกระจงป่าได้ต่อสู้กับสุนัขของพระองค์และสุนัขเป็นฝ่ายแพ้พระองค์จึงตั้งเมืองใหม่ ณ ที่นี้ ได้เรียกเมืองนี้ตามชื่อต้นไม้ว่า “มะละกา” ซึ่งแปลว่ามะขามป้อมในภาษาที่ใช้พูดในปาเล็มบัง (ซึ่งก็คือภาษามาเลย์ในทุกวันนี้) อีก 200 ปีต่อมา อาณาจักรมะละกากลายเป็นจักรวรรดิการค้าที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งตรงกับสยามในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประมาณ ปี พ.ศ. 1991 และเป็นแหล่งแรกที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่มาเลเซียผ่านทางพ่อค้ามุสลิมอินเดียที่มาจากปาไซและกูจจาราช และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบสุลต่าน      ปี พ.ศ. 2052 โปรตุเกสเดินทางมาถึงมะละกาเพื่อขอตั้งสถานีการค้าแต่ถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่สงครามระหว่างโปรตุเกส-มะละกา ซึ่งโปรตุเกสเป็นฝ่ายชนะเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2054

          มะละกาถูกเนเธอร์แลนด์ยึดครองเมื่อ ปี พ.ศ. 2184 หลังจากเนเธอร์แลนด์ขับไล่โปรตุเกสออกไป หลังจากนั้นมะละกากลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษตามสนธิสัญญาแองโกล – ดัตซ์ หรือสนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลแลนด์ ปี พ.ศ. 2367

          กลับมาที่ “เทมาเส็ก” จะเห็นได้ว่า“เทมาเส็ก” เป็นสถานที่แรกที่เจ้าชายแห่งศาสนาฮินดู มาแวะพักและเป็นที่มาของการก่อตั้งอาณาจักรแห่งแรกของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน ในยุคการล่าอาณานิคม ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อ ปี พ.ศ. 2054 (ตรงกับรัชสมัยของไทยคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ปี พ.ศ. 2034 – 2072 ) จากนั้นก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป แต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2360 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ (สุลต่านจากรัฐยะโฮร์) แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ

          เมื่อแรกเริ่มยุคล่าอาณานิคมอังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมาลายูในกลางศตวรรษที่ 18 นั้นก็เริ่มสนใจ สิงคโปร์ ใน ปี พ.ศ. 2360 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากสุลต่านยะโฮร์ งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี พ.ศ. 2367 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ปี พ.ศ. 2369 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ (Straits Settlement) ซึ่งให้ บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังด้วย (เดิมชื่อเกาะหมากเป็นของไทยตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ไทยเสียให้กับอังกฤษ ปี พ.ศ. 2328 เมื่อเจ้าพระยาไทรบุรีแอบให้อังกฤษเช่า เพื่อแลกกับช่วยเหลือเมื่อสยามรุกรานไทรบุรี) และมะละกาด้วย

          ปี พ.ศ. 2400 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง อีก 10 ปีถัดมา สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) ของอังกฤษ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2489 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crow colony) เมื่ออังกฤษกลับมายึดครองสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้ญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

          พ.ศ. 2369 ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์โดยเซอร์ แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล โดยเข้ามาสำรวจเกาะสิงคโปร์               ช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ. 2484 – 2488) ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม

          สิงคโปร์ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากอังกฤษมา ปกครองอยู่ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี พ.ศ. 2491 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี พ.ศ. 2498 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณะรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ

          1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี พ.ศ. 2498 – 2499

          2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี พ.ศ. 2499 – 2502 และ

          3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลีได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2506 -2508 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาเลเซีย และอยู่ได้เพียง 2 ปี สิงคโปร์ก็แยกตัวออกจากสหพันธรัฐมาลายา เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมาลายูและดินแดนต่างๆ รวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2491- 2506 ประกอบด้วยรัฐมลายู 9 รัฐ และดินแดนในอาณานิคมช่องแคบที่ปีนังและมะละกา รวม 2 แห่ง สหพันธรัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร และสิ้นสภาพลงจากการจัดตั้งเป็นประเทศมาเลเซีย

           ตอนที่รวมชาติเข้ากับมาเลเซียนั้น สิงคโปร์เห็นว่ามาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมาลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ตั้งแต่บัดนั้นมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว “ตนกู อับดุล ราห์มัน” นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ไม่ต้องการรวมสิงคโปร์เข้ากับมาเลเซียด้วยแห่งผลทางการเมือง (“ตนกู อับดุล ราห์มัน” บุตรของเจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิดหรือเจ้าพระยาฤทธิสงคราม) สุลต่านองค์ที่ 24 แห่งรัฐเกดะห์ กับหม่อมมารดาชาวไทยนามว่า หม่อมเนื่อง นนทนาครหรือมะเจ๊ะเนื่อง หรืออีกชื่อว่า ปะดูกา ซรี เจ๊ะเมินยาราลา ชายาองค์ที่ 6 ของท่านสุลต่าน ซึ่งเป็นบุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ เจ้าเมืองนนทบุรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตนกู อับดุล ราห์มันเป็นลูกชายคนที่ 14 จากบรรดาลูก 20 คนของสุลต่านอับดุลฮามิด)

          สิงคโปร์มีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่เป็นเกาะใหพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 640 ตารางกิโลเมตร (ใกล้เคียงกับเกาะภูเก็ต) และมีเกาะเล็กอีกประมาณ 63 เกาะ ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยประชากรที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ดังนั้นทุกฝ่ายจึงให้ความสำคัญ และสนับสนุนการศึกษากันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบการศึกษาที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพ บรรยากาศทางการศึกษาที่ทำให้ ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดได้อย่างอิสระและเปิดกว้าง นอกจากนี้ประเทศนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคเอเชีย โดยมีการนำเสนอความโดดเด่นที่หลากหลายของการศึกษาไว้ด้วยกัน ทั้งในด้านความเจริญของเมือง ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่ดีเยี่ยม เข้มข้นมากตามมาตรฐานสากล สามารถช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ที่ทันโลกและก้าวไกลสู่อนาคตที่สดใสได้

          ปี พ.ศ. 2563 (กรมการค้าระหว่างประเทศ, 2563) ประชากร 5.69 ล้านคนมีอัตราลดลง 0.3% แบ่งเป็นผู้ถือสัญชาติสิงคโปร์ 3.52 ล้านคนผู้มีถิ่นพำนักถาวร 521,019 คน ผู้พำนักชั่วคราว 1.64 ล้านคน    สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษาคือ อังกฤษ จีน มาเลย์ และทมิฬ โดยมีภาษามาเลย์เป็น ภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการธุรกิจ และการศึกษา ส่วนภาษาจีนกลาง เป็นภาษาที่มีการใช้ในการสื่อสารทางสังคมมากที่สุด (เนื่องจากประชากรประกอบด้วยคนเชื้อชาติจีนประมาณ 70 %)

           สิงคโปร์เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง และเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานในเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด ประชากรมีมาตรฐาน ความเป็นอยู่สูง กฎหมายลงโทษร้ายแรง คือ การประหารชีวิต หรือโทษจำคุกระยะยาว เช่น ที่สิงคโปร์นั้น ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนปรับถึง S$1,000 (S$1 = 25 บาทโดยประมาณ) การทิ้งเศษขยะลงพื้น ฝ่าฝืนครั้งแรกถูกปรับ S$1,000 ครั้งต่อไป S$2,000 และ ต้องทำความสะอาดในที่ สาธารณะด้วย กฎหมายนี้รวมถึงการห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ และห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง การเสพหรือจำหน่ายยาเสพติด มีโทษถึงประหารชีวิตด้วยการแขวนคอจากรถเครน

          การศึกษาของสิงค์โปร์ดีมากประเทศหนึ่งของโลก โดยทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นให้นักเรียน ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถตามวัยที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบของการเรียนรู้และการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในอันดับต้นๆ ของโลกด้วย เหตุนี้เองที่ทำให้นักเรียนของประเทศสิงค์โปร์มีความรู้ทางด้านนี้มาก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่สามารถพูดได้ถึง 3 ภาษา คือภาษาเดิม ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ได้เฉพาะภาษาอังกฤษ ทำให้มีโอกาสในการทำงานมากกว่าโดยเฉพาะความรู้ด้านภาษาจีนที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

          สุดท้ายก่อนจบอาจกล่าวสั้นว่า “เกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งที่เคยเป็นที่พักของเรือสินค้าและโจรสลัดในอดีต มาในวันนี้ทำไมยิ่งใหญ่เกินว่า คำว่า เทมาเส็ก ซึ่งแปลในภาษาพูดของชาวปาเล็มบังว่า การชนะสยาม โดยจะชนะสยามตลอดกาลหรือไม่นั้น การศึกษาของไทยเป็นคำตอบและคำถามในตัวเอง สวัสดีการศึกษาไทย”

 

บรรณานุกรม

ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2547). ไทยในมาเลเซีย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์. 

สิงคโปร์. (2020). ประเทศสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 จาก http://www.th.wikipedia.org/
Malaysia (2009). Malaysia สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 จาก http://www.mfa.go.th/.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ (2547). ไทยในมาเลเซีย (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). เจ้าพระยาระบบการพิมพ์ : กรุงเทพฯ                        ประเทศสิงคโปร์ (2010). ประเทศสิงคโปร์ <.http://www.th.wikipedia.org/wiki/> Retrieved on January 10,  
          2010         
Malaysia (2009). Malaysia <.http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=164> Retrieved on November         21, 2009          
Visit Malaysia 2007 (2007). Celebrating 50 Years of Nationhood. Kuala Lumpur: Malaysia.

 

 

 

“เทมาเส็ก (Temasek)” สำคัญกว่าชื่อ

          “เทมาเส็ก”ในอดีตนั้นเคยมีกษัตริย์ปกครองกล่าวกันว่า ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อ “เทมาเส็ก” เสียใหม่ว่า สิงหปุระ หรือสิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมลายูซึ่งเป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน “เทมาเส็ก” แปลว่า “เมืองแห่งทะเล” ในภาษาชวา ต่อมาที่ตั้งเมืองนี้เปลี่ยนเป็น “สิงคะปุระ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “เมืองแห่งสิงโต” ในอดีตเทมาเส็กอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา และการยึดครองของอาณาจักรสยาม “เทมาเส็ก” เคยเป็นสมรภูมิสงครามระหว่างประเทศสยามกับจักรวรรดิมัชปาหิต เพื่อแย่งชิงแหลมมาลายู จนราว ปี พ.ศ. 1800 ต้นๆ อาณาจักรอยุธยาของไทย เจ้าชายแห่งศาสนาฮินดูทรงพระนามว่า “เจ้าชายปรเมศวร” ได้ทรงอพยพออกจากปาเล็มบัง (ปัจจุบันคือ เมืองหลวงของจังหวัดสุมาตราใต้ ทางฝั่งตะวันออกทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย) เหตุเนื่องด้วยการรุกรานจากอาณาจักรมัชปาหิต เจ้าชายปรเมศวรได้เข้าไปตั้งเมืองอยู่ที่ “เทมาเส็ก” แต่ในตอนนั้น “เทมาเส็ก” ตกอยู่ใต้อำนาจของสยาม ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับสยามและเจ้าชายปรเมศวรจึงต้องออกเดินข้ามเกาะเทมาเส็กมาพักใต้ต้นมะขามป้อม ในแผ่นดินใหญ่แหลมมาลายู (รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) และระหว่างที่พักทัพทรงเห็นกระจงป่าได้ต่อสู้กับสุนัขของพระองค์และสุนัขเป็นฝ่ายแพ้พระองค์จึงตั้งเมืองใหม่ ณ ที่นี้ ได้เรียกเมืองนี้ตามชื่อต้นไม้ว่า “มะละกา” ซึ่งแปลว่ามะขามป้อมในภาษาที่ใช้พูดในปาเล็มบัง (ซึ่งก็คือภาษามาเลย์ในทุกวันนี้) อีก 200 ปีต่อมา อาณาจักรมะละกากลายเป็นจักรวรรดิการค้าที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งตรงกับสยามในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประมาณ ปี พ.ศ. 1991 และเป็นแหล่งแรกที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่มาเลเซียผ่านทางพ่อค้ามุสลิมอินเดียที่มาจากปาไซและกูจจาราช และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบสุลต่าน      ปี พ.ศ. 2052 โปรตุเกสเดินทางมาถึงมะละกาเพื่อขอตั้งสถานีการค้าแต่ถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่สงครามระหว่างโปรตุเกส-มะละกา ซึ่งโปรตุเกสเป็นฝ่ายชนะเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2054

          ต่อมามะละกาถูกเนเธอร์แลนด์ยึดครองเมื่อ ปี พ.ศ. 2184 หลังจากเนเธอร์แลนด์ขับไล่โปรตุเกสออกไป หลังจากนั้นมะละกากลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษตามสนธิสัญญาแองโกล – ดัตซ์ หรือสนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลแลนด์ ปี พ.ศ. 2367

          กลับมาที่ “เทมาเส็ก” จะเห็นได้ว่า“เทมาเส็ก” เป็นสถานที่แรกที่เจ้าชายแห่งศาสนาฮินดู มาแวะพักและเป็นที่มาของการก่อตั้งอาณาจักรแห่งแรกของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน ในยุคการล่าอาณานิคม ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อ ปี พ.ศ. 2054 (ตรงกับรัชสมัยของไทยคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ปี พ.ศ. 2034 – 2072 ) จากนั้นก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป แต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2360 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ (สุลต่านจากรัฐยะโฮร์) แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ

          เมื่อแรกเริ่มยุคล่าอาณานิคมอังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมาลายูในกลางศตวรรษที่ 18 นั้นก็เริ่มสนใจ สิงคโปร์ ใน ปี พ.ศ. 2360 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากสุลต่านยะโฮร์ งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี พ.ศ. 2367 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ปี พ.ศ. 2369 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ (Straits Settlement) ซึ่งให้ บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังด้วย (เดิมชื่อเกาะหมากเป็นของไทยตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ไทยเสียให้กับอังกฤษ ปี พ.ศ. 2328 เมื่อเจ้าพระยาไทรบุรีแอบให้อังกฤษเช่า เพื่อแลกกับช่วยเหลือเมื่อสยามรุกรานไทรบุรี) และมะละกาด้วย

ปี พ.ศ. 2400 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง อีก 10 ปีถัดมา สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) ของอังกฤษ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2489 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crow colony) เมื่ออังกฤษกลับมายึดครองสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้ญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

          พ.ศ. 2369 ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์โดยเซอร์ แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล โดยเข้ามาสำรวจเกาะสิงคโปร์               ช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ. 2484 – 2488) ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม

          สิงคโปร์ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากอังกฤษมา ปกครองอยู่ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี พ.ศ. 2491 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี พ.ศ. 2498 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณะรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ

          1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี พ.ศ. 2498 – 2499

          2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี พ.ศ. 2499 – 2502 และ

          3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลีได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2506 -2508 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาเลเซีย และอยู่ได้เพียง 2 ปี สิงคโปร์ก็แยกตัวออกจากสหพันธรัฐมาลายา เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมาลายูและดินแดนต่างๆ รวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2491- 2506 ประกอบด้วยรัฐมลายู 9 รัฐ และดินแดนในอาณานิคมช่องแคบที่ปีนังและมะละกา รวม 2 แห่ง สหพันธรัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร และสิ้นสภาพลงจากการจัดตั้งเป็นประเทศมาเลเซีย

ตอนที่รวมชาติเข้ากับมาเลเซียนั้น สิงคโปร์เห็นว่ามาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมาลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ตั้งแต่บัดนั้นมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว “ตนกู อับดุล ราห์มัน” นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ไม่ต้องการรวมสิงคโปร์เข้ากับมาเลเซียด้วยแห่งผลทางการเมือง (“ตนกู อับดุล ราห์มัน” บุตรของเจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิดหรือเจ้าพระยาฤทธิสงคราม) สุลต่านองค์ที่ 24 แห่งรัฐเกดะห์ กับหม่อมมารดาชาวไทยนามว่า หม่อมเนื่อง นนทนาครหรือมะเจ๊ะเนื่อง หรืออีกชื่อว่า ปะดูกา ซรี เจ๊ะเมินยาราลา ชายาองค์ที่ 6 ของท่านสุลต่าน ซึ่งเป็นบุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ เจ้าเมืองนนทบุรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตนกู อับดุล ราห์มันเป็นลูกชายคนที่ 14 จากบรรดาลูก 20 คนของสุลต่านอับดุลฮามิด)

          สิงคโปร์มีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่เป็นเกาะใหพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 640 ตารางกิโลเมตร และมีเกาะเล็กอีกประมาณ 60 เกาะ ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยประชากรที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ดังนั้นทุกฝ่ายจึงให้ความสำคัญ และสนับสนุนการศึกษากันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบการศึกษาที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพ บรรยากาศทางการศึกษาที่ทำให้ ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดได้อย่างอิสระและเปิดกว้าง นอกจากนี้ประเทศนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคเอเชีย โดยมีการนำเสนอความโดดเด่นที่หลากหลายของการศึกษาไว้ด้วยกัน ทั้งในด้านความเจริญของเมือง ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่ดีเยี่ยม เข้มข้นมากตามมาตรฐานสากล สามารถช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ที่ทันโลกและก้าวไกลสู่อนาคตที่สดใสได้

          ปี พ.ศ. 2563 (กรมการค้าระหว่างประเทศ, 2563) ประชากร 5.69 ล้านคนมีอัตราลดลง 0.3% แบ่งเป็นผู้ถือสัญชาติสิงคโปร์ 3.52 ล้านคนผู้มีถิ่นพำนักถาวร 521,019 คน ผู้พำนักชั่วคราว 1.64 ล้านคน    สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษาคือ อังกฤษ จีน มาเลย์ และทมิฬ โดยมีภาษามาเลย์เป็น ภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการธุรกิจ และการศึกษา ส่วนภาษาจีนกลาง เป็นภาษาที่มีการใช้ในการสื่อสารทางสังคมมากที่สุด (เนื่องจากประชากรประกอบด้วยคนเชื้อชาติจีนประมาณ 70 %)

สิงคโปร์เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง และเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานในเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด ประชากรมีมาตรฐาน ความเป็นอยู่สูง กฎหมายลงโทษร้ายแรง คือ การประหารชีวิต หรือโทษจำคุกระยะยาว เช่น ที่สิงคโปร์นั้น ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนปรับถึง S$1,000 (S$1 = 25 บาทโดยประมาณ) การทิ้งเศษขยะลงพื้น ฝ่าฝืนครั้งแรกถูกปรับ S$1,000 ครั้งต่อไป S$2,000 และ ต้องทำความสะอาดในที่ สาธารณะด้วย กฎหมายนี้รวมถึงการห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ และห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง การเสพหรือจำหน่ายยาเสพติด มีโทษถึงประหารชีวิตด้วยการแขวนคอจากรถเครน

          การศึกษาของสิงค์โปร์ดีมากประเทศหนึ่งของโลก โดยทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นให้นักเรียน ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถตามวัยที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบของการเรียนรู้และการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในอันดับต้นๆ ของโลกด้วย เหตุนี้เองที่ทำให้นักเรียนของประเทศสิงค์โปร์มีความรู้ทางด้านนี้มาก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่สามารถพูดได้ถึง 3 ภาษา คือภาษาเดิม ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ได้เฉพาะภาษาอังกฤษ ทำให้มีโอกาสในการทำงานมากกว่าโดยเฉพาะความรู้ด้านภาษาจีนที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

          สุดท้ายก่อนจบอาจกล่าวสั้นว่า “เกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งที่เคยเป็นที่พักของเรือสินค้าและโจรสลัดในอดีต มาในวันนี้ทำไมยิ่งใหญ่เกินว่า คำว่า เทมาเส็ก ซึ่งแปลในภาษาพูดของชาวปาเล็มบังว่า การชนะสยาม โดยจะชนะสยามตลอดกาลหรือไม่นั้น การศึกษาของไทยเป็นคำตอบและคำถามในตัวเอง สวัสดีการศึกษาไทย”

 

บรรณานุกรม

ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2547). ไทยในมาเลเซีย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์. 

สิงคโปร์. (2020). ประเทศสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 จาก http://www.th.wikipedia.org/
Malaysia (2009). Malaysia สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 จาก http://www.mfa.go.th/.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ (2547). ไทยในมาเลเซีย (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). เจ้าพระยาระบบการพิมพ์ : กรุงเทพฯ                        ประเทศสิงคโปร์ (2010). ประเทศสิงคโปร์ <.http://www.th.wikipedia.org/wiki/> Retrieved on January 10,  
          2010         
Malaysia (2009). Malaysia <.http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=164> Retrieved on November         21, 2009          
Visit Malaysia 2007 (2007). Celebrating 50 Years of Nationhood. Kuala Lumpur: Malaysia.