หลักการของผังมโนทัศน์ (Principle of Concept Mapping)

ผังมโนทัศน์ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มคำและการเชื่อมโยงที่เป็นแผนภาพ ซึ่งระบุถึงมโนทัศน์ของขอบเขตความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ดังกล่าว (Coffey, et al., 2003 ; Lanzing, 2004 ; Novak, 1998, 2001)  ตั้งแต่มีการนำเสนอสารสนเทศเกี่ยวกับผังมโนทัศน์ว่าเป็นความรู้ที่มีความหมายในความเข้าใจโดยทั่วไป บางครั้งผังมโนทัศน์ก็ถูกเรียกว่า “เครือข่ายความหมาย (Semantic Networks)” (Lanzing, 2004)  เพราะประโยชน์ใช้สอยที่อเนกประสงค์ของผังมโนทัศน์ ทำให้กลยุทธ์การใช้ผังมโนทัศน์ปรากฏขึ้นในตอนต้นของไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของคอมพิวเตอร์ ทำให้สนับสนุนการเรียนและการศึกษา ผังมโนทัศน์จึงประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมมากขึ้น  ผังมโนทัศน์เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และอำนวยความสะดวกในหลายขั้นตอนของการวางแผนการพัฒนาและทำให้การศึกษาทางไกลประสบผลสำเร็จ ผังมโนทัศน์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในฐานะกลยุทธ์สำหรับการออกแบบหลักสูตรการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ผังมโนทัศน์ช่วยเหลือผู้ออกแบบหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการดึงความรู้ออกมาและให้ข้อสรุปความรู้แต่ละบุคคลและช่วยในการจัดความรู้เข้าระบบ  นอกจากนั้น ผังมโนทัศน์สามารถนำมาใช้เพื่อออกแบบเนื้อหา  ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่มีอยู่จริง  นอกจากนั้นผังมโนทัศน์ยังสามารถนำมาใช้เพื่อออกแบบ “ความสัมพันธ์ของการเรียนการสอน” ดังเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ของรายวิชาที่ต้องเรียนก่อน (Pre-requisite) หรือรายวิชาที่ต้องเรียนร่วมกัน (Co-requisite)  สามารถจับยึดโดยการใช้ผังมโนทัศน์ได้ ส่วนการกำหนดสารสนเทศเกี่ยวกับลำดับก่อนหลังของการเรียนการสอนนั้น ในแนวทางของการจัดระบบเนื้อหานี้โครงสร้างจะได้รับการกำหนดเพื่อสร้างและการจัดลำดับหน่วยการเรียน  ผังมโนทัศน์ที่เป็นผลมาจากกระบวนการวางแผน และการวาดภาพเนื้อหาที่อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์กันนั้น สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นตัวแทนเนื้อหาการเรียนในรายวิชานั้น ๆ ได้ ตัวอย่าง เช่น โดยการแทรกทรัพยากรประเภทสื่อซึ่งสัมพันธ์กับมโนทัศน์  ผังมโนทัศน์สามารถนำมาใช้ในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยเช่นกัน ในฐานะกลยุทธ์การเรียนรู้โดยการลงมือกระทำอย่างตื่นตัว นั่นคือผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มสร้างผังมโนทัศน์ให้สำเร็จหรือถูกต้องระหว่างหน่วยการเรียน   วิธีการประเมินความรู้ที่คำนวณด้วยคอมพิวเตอร์บนพื้นฐานของผังมโนทัศน์ เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการประเมินความก้าวหน้าและผลลัพธ์ของการเรียนรู้    ข้อมูลที่กล่าวมานี้เป็นภาพร่างอย่างคร่าว ๆ ถึงความสามารถที่เป็นไปได้อย่างมากมาย เพื่อการประยุกต์ผังมโนทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์

อ่านต่อ…