ศึกษาสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ศึกษาสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและเปรียบเทียบสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากร รวมทั้งสิ้น 896 คน โดยแบ่งตามเพศ สถานภาพผู้ใช้งานและระบบสารสนเทศที่เข้าใช้งาน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและตอนที่ 2 ศึกษาสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมระบบสารสนเทศ ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศและด้านการให้บริการระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า การศึกษาสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กร บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57 มีสถานภาพผู้ใช้งานเป็นอาจารย์ ร้อยละ 62.80 เมื่อพิจารณาในทุกด้านของสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาระหว่างเพศ สถานภาพผู้ใช้งานและระบบสารสนเทศที่เข้าใช้งาน พบว่า มีสภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กรในแต่ละด้าน
ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาระบบทั้งหมดในแต่ละด้าน มีดังนี้
        1) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP, Back office) มีจำนวน 11 ระบบย่อย ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมระบบสารสนเทศและด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระบบจัดการสำหรับส่วนงานเว็บไซต์ (x=4.60,S.D.=0.54) และระบบต้นทุนต่อหน่วย (x=4.50,S.D.=0.74) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการให้บริการระบบสารสนเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระบบต้นทุนต่อหน่วย (x=4.50,S.D.=0.74) อยู่ในระดับมากที่สุด
        2) ระบบแสดงข้อมูลบุคลากรผ่านอินเทอร์เน็ต มีจำนวน 11 ระบบย่อย ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมระบบสารสนเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ประวัติการลาของบุคลากรและหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( x=4.27,S.D.=0.69) อยู่ในระดับมากด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( x=4.32,S.D.=0.64) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการให้บริการระบบสารสนเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รายการขอเบิก (x=4.37,S.D.=0.54) อยู่ในระดับมาก
        3) ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวน 12 ระบบย่อย ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมระบบสารสนเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ Upload/Scan item (x=4.40, S.D.=0.49) อยู่ในระดับมาก ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แสดงตัวอย่าง (x=4.40,S.D.=0.66) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการให้บริการระบบสารสนเทศ
ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แสดงตัวอย่าง (x=4.43,S.D.=0.62) อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ:      ความพึงพอใจ / ระบบสารสนเทศ / บุคลากร