ศึกษาศึกยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ:กรณีศึกษาตลาดน้ำคลองบางหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบผสานวิธีเรื่อง ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาตลาดน้ำคลองบางหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง และ เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประชาชนในท้องถิ่น (ประชาชนในพื้นที่) จำนวน 139 คนและเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 212 คน  โดยเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้ คือแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว

            จากการศึกษา พบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง โดยรวม มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก

            เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อศักยภาพ ด้านพื้นที่ อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.57) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม และด้านการจัดการ ตามลำดับ

            เมื่อพิจารณาศักยภาพในด้านต่างๆ อันได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรมและกระบวนการ และด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ด้านพื้นที่ กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับเรื่องความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นและดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว มากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.94)  ด้านการจัดการ กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับเรื่องการจัดโซนร้านค้า ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกมีความเหมาะสม มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.92)  ด้านกิจกรรมและกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับเรื่องประโยชน์และความคุ้มค่าในการเดินทางมาท่องเที่ยว มากที่สุด   โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.87) ด้านการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับเรื่องความเป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวของประชาชนในท้องถิ่น มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 3.90)

คำสำคัญ: ศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Abstract

This mixed-method research entitled “The Study of Ecotourism Potentials: A Case Study of Khlong Bang Luang Floating Market, Bangkok” aimed to study the current issues of ecotourism attractions of Khlong Bang Luang Floating Market and to study the ecotourism site potentials of Khlong Bang Luang Floating Market. The sample consisted of 139 local people and 212 tourists which had been selected using accidental sampling method. The instrument used was a tourism potential evaluation form. The process and statistic used to analyze information were content analysis, average, percentage and variance.

The study revealed that the overall ecotourism potential of Khlong Bang Luang Floating Market was high.

The findings, according to each aspect, were at a high level including the area (xˉ = 3.57), the activities (xˉ = 3.51) and the management (xˉ = 3.49) respectively.

The results of different potentials in this study including the management, the activities and processes and the participation of local people showed that local people agreed with the uniqueness of the area and tourist attractions at highest level (xˉ = 3.94). In terms of management, the sample agreed with the appropriate zoning for retails, restaurants and souvenir shops at highest level (xˉ = 3.92).  According to the finding of the activities and processes, the samples agreed with on the benefits and worth travelling at highest level (xˉ = 3.87).  Finally, the finding of participation aspect showed that the sample agreed with the friendliness of the local people at highest level (xˉ = 3.90).

Keywords: Ecotourism Potentials