รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ สำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

                                                                           วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล*

                             * สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                                          * Corresponding author. E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ สำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา  2) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ โดย             (1) เปรียบเทียบเจตคติของอาจารย์ผู้รับการดูแลที่มีต่อการทำผลงานทางวิชาการ ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ  (2) เปรียบเทียบร้อยละของจำนวนอาจารย์ผู้รับการดูแลที่มีผลสำเร็จในการทำผลงานทางวิชาการหลังการทดลองใช้รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการกับเกณฑ์ร้อยละ 80  3) ประเมินการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์ผู้รับการดูแลโดยอาจารย์พี่เลี้ยง 4) ประเมินการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์พี่เลี้ยงโดยอาจารย์ผู้รับการดูแล  5) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้รับการดูแลเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับ ใช้ระยะเวลาในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2558  ระยะที่ 2 ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2559  และระยะที่ 3 ระหว่างเดือนเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2560  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำแนกเป็นระยะ ที่ 1 จำนวน 128 คน ระยะที่ 2 จำนวน 121 คน และระยะที่ 3 จำนวน 98 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย   1) แบบสอบถามเจตคติของอาจารย์ผู้รับการดูแลที่มีต่อการทำผลงานทางวิชาการ  2) แบบประเมินผลสำเร็จของอาจารย์ผู้รับการดูแลในการทำผลงานทางวิชาการ 3) แบบประเมินการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์ผู้รับการดูแลโดยอาจารย์พี่เลี้ยง 4) แบบประเมินการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์พี่เลี้ยงโดยอาจารย์ผู้รับการดูแล  5) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่อาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้รับการดูแลได้รับจากรูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ และ     6) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่    ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติที(t-test) และสถิติซี(Z-test)

            ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

            1. รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ สำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ  ขั้นที่ 2 การจัดทำโครงร่างผลงานทางวิชาการและแผนปฏิบัติการเฉพาะตัว  ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการเฉพาะตัวและการเรียนรู้  ขั้นที่ 4 การปรับแผนปฏิบัติการเฉพาะตัวและการเรียนรู้  ขั้นที่ 5 การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเฉพาะตัว

            2. รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการสำหรับอาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษา โดย (1) อาจารย์ผู้รับการดูแลมีเจตคติต่อการทำผลงานทางวิชาการหลังการทดลองสูงกว่าก่อน        การทดลองใช้รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) อาจารย์ผู้รับการดูแล ร้อยละ 88.68 มีผลสำเร็จในการทำผลงานทางวิชาการสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            3. อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์ผู้รับการดูแลว่าอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ระยะของการทดลอง

            4. อาจารย์ผู้รับการดูแลประเมินการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์พี่เลี้ยงว่าอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ระยะของการทดลอง

            5. อาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้รับการดูแล มีความคิดเห็นว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากรูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง  3 ระยะของการทดลอง

คำสำคัญ:  รูปแบบพี่เลี้ยงวิชาการ  ศักยภาพทางวิชาการ  อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

Abstract

            The purposes of this research were 1) to develop academic mentoring model to enhance academic competency of higher education teaching staff and 2) to assess the efficiency of the developed model through (1) comparing the attitude regarding academic work productivity before the implementation of the model and that after the implementation and (2) comparing the percentage of mentees who achieved academic work productivity after the implementation of academic mentoring model with criteria 80%  3) to assess mentees’ roles according to mentors’ attitude  4) to assess mentors’ roles according to mentees’ attitude and  5) to examine mentors and mentees’ attitude regarding the obtained benefits. The research timeline was divided into 3 phases: phase 1 – May-September 2015, phase 2 – May-September 2016, and phase 3 April-August 2017. The sample group included teaching staff of Bansomdejchaopraya Rajabhat University who attended the program, i.e., 128 staff from phase 1, 121 staff from phase 2, and 98 staff from phase 3. Data were collected using 1) a set of questionnaire regarding academic work productivity 2) an evaluation form of achievement in academic work productivity 3) an evaluation form for mentors regarding mentees’ roles 4) an valuation form for mentees regarding mentors’ roles 5) a set of questionnaire regarding the benefits mentors and mentees obtained from academic mentoring model and 6) an interview regarding academic mentoring model. Data were statistically analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. Hypotheses were tested by t-test and Z-test.

            The findings were revealed as follows.

            1. The academic mentoring model delineated 5 stages, i.e., stage 1 preparation, stage 2 writing proposal of academic work and individual operational plan, stage 3 implementation and learning, stage 4 improvement of individual operational plan and learning, and stage 5 assessment of the outcome after the individual operational plan.

            2. The efficiency of academic mentoring model on enhancing academic competency was confirmed by (1) mentees’ higher positive attitude regarding academic work productivity after the implementation of the academic mentoring model at .01 level of statistical significance and (2) 88.68% of mentees who achieved academic work productivity after the implementation of academic mentoring model which was higher than the criteria 80% at .01 level of statistical significance.

            3. According to mentors’ attitude, the action in compliance with the roles of mentees in all 3 phases were found at the high level.

            4. According to mentees’ attitude, the action in compliance with the roles of mentors in all 3 phases were found at the high level.

            5. According to mentors and mentees’ attitude, the benefits obtained from the developed model were generally found at the high level through the whole 3 phases.

Keywords: Academic Mentoring Model, Academic Competency, Higher Education Teaching Staff