รำหน้าพาทย์สาธุการในบริบทของสังคมไทย

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา ความสำคัญ และองค์ประกอบของการรำ
หน้าพาทย์สาธุการ และศึกษาวิเคราะห์การร าหน้าพาทย์สาธุการในบริบทของสังคมไทย รวมถึงวิเคราะห์
กลวิธีในการรำหน้าพาทย์สาธุการตามจังหวะหน้าทับตะโพน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการ
วิเคราะห์จากวรรณกรรม ตำรา หนังสือ บทโขน – ละครที่ใช้ในการแสดง การสัมภาษณ์และการ
สังเกตการณ์ผลการวิจัยพบว่า การรำหน้าพาทย์สาธุการในหลักสูตรการเรียนการสอนและในการแสดงจะมี
โครงสร้างท่ารำในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่ในการแสดงนั้นจะต้องมีการปรับท่ารำให้เข้ากับการดำเนิน
เรื่องในละครแต่ยังคงยึดโครงสร้างท่าร าเดิม ซึ่งหลักการร าสามารถรำได้ 2 แบบ คือ 1. วิธีการแจก
แจงความถี่ของเพลงและท่ารำ 2. ร าตามจังหวะหน้าทับตะโพน ซึ่งในแต่ละท่วงท่านั้นจะมีความสั้นหรือ
ยาวของจังหวะที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสั้นหรือยาวของทำนองหน้าทับตะโพน
บทบาทของการรำหน้าพาทย์สาธุการนั้นมีความสำคัญในการรับใช้สังคมในด้านศิลปวัฒนธรรมที่
ปรากฏในรูปแบบการแสดง ด้านศาสนา ด้านการเมือง-การปกครอง ด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา
ควรแก่การอนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ ให้คงอยู่เพื่อรับใช้สังคมไทยสืบต่อไป