มุมมอง “จิตสาธารณะ” : ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ

         ความเจริญด้านเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลกระทบต่อบุคคลในสังคมโดยทั่วไปให้มีค่านิยมในการให้ความสำคัญกับการแสวงหาอำนาจบารมีมากกว่าที่จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ เกิดการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองมากกว่าส่วนรวม ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีการกล่าวถึงคำว่า “จิตสาธารณะ” เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะมากกว่าตนเอง โดยการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมหรือสาธารณะ นับเป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับเด็กและเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป การที่สังคมจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนคนในสังคมต้องร่วมมือร่วมใจกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนมีจิตสำนึกที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม รักและหวงแหนทรัพยากรท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของชุมชน ดังจะเห็นได้จากการระบุยุทธศาสตร์การดำเนินการไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในวัตถุประสงค์ข้อ 1.3 (3) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพทั้งความรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะการทำงาน . . . .รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : 109-115) อ่านเพิ่มเติม