ภาวะผู้นำโทรทัศน์รัฐสภา

ภาวะผู้นำโทรทัศน์รัฐสภา

 

ณิชาภา   แก้วประดับ

 

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการบริหารงานองค์กรของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ในประเด็น 7 ประเด็น  ได้แก่ 1.มีความมั่นใจในตัวเอง 2.เป็นแบบอย่างแก่ลูกน้อง 3.สร้างความประทับใจในความสามารถและความสำเร็จ 4.มีเป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจน 5.มีความคาดหวังสูงและมีความมั่นใจว่าผู้ตามสามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย 6.สร้างแรงจูงใจในการทำให้พันธกิจบรรลุเป้าหมาย  7.มีบทบาทดึงดูดใจผู้ตาม  ดังนี้

1.ทีวีรัฐสภา  อุดมการณ์ต้องมาก่อน (มีเป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจน)

เป้าหมายชัด   พันธกิจชัด  ประชาสัมพันธ์รัฐสภาไทย

ภารกิจหลักของสถานีโทรทัศน์รัฐสภาคือการถ่ายทอดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา รวมถึงการเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ของรัฐสภา  และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา   ได้รับงบประมาณจากรัฐสภาจึงต้องทำงานเพื่อตอบสนองภารกิจหลักของรัฐสภา   

การบริหารงานสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐสภา  ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงถือเป็นผู้นำที่สำคัญ  เพราะต้องมีบทบาทในการบริหารจัดการ  ภายใต้ปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กร  บุคลากร สถานที่หรือเทคโนโลยี  และงบประมาณ  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายสูงสุดขององค์กร

มีข้อน่าสังเกตว่าเป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจนของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กรมากที่สุด เพราะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐสภา ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงเป็นไปในลักษณะยอมรับ  เข้าใจในนโยบายขององค์กรอย่างแข็งขัน รองลงมาคือ 2)ด้านงบประมาณ  เป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจนของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มีผลต่อการปฏิบัติงานตามนโยบาย ส่งผลให้การอนุมัติของบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่มีอุปสรรคจากสมาชิกรัฐสภา   ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงมิได้มีความกังวลกับการอนุมัติงบประมาณประจำปีจากรัฐสภาเลย เนื่องจากการทำงานของสถานีโทรทัศน์รัฐสภามีความใกล้ชิดกับสมาชิกรัฐสภาทั้ง 750 คนอยู่แล้ว จึงมั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภา  ลำดับต่อมาคือ 3)ด้านบุคลากร  เป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจนของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มีผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานีฯ  ลำดับสุดท้ายคือ 4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยี   เป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์อย่างชัดเจนของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมกับการทำงานด้านถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา  โดยการจัดซื้อกล้องติดผนังอัจฉริยะที่สามารถขยับกล้องและจับภาพไปตามสัญญาณไมโครโฟนในห้องประชุมรัฐสภาได้  

2.ผู้นำมั่นใจ  ความสำเร็จอยู่ไม่ไกล   (ความมั่นใจในตัวเอง)

ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภามีความมั่นใจในการทำงานในระบบราชการ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  มีอายุในหน่วยงานราชการมากว่า 20 ปี ทำให้มีความเข้าอกเข้าใจในระบบราชการเป็นอย่างดี  ประกอบกับมีประสบการณ์ในการทำงานด้านข่าวโทรทัศน์มานานกว่า 20 ปีเช่นเดียวกัน ทำให้มีความรู้ ความสามารถในการทำงานข่าวโทรทัศน์เป็นมืออาชีพ

ด้วยประสบการณ์ที่โดดเด่นทั้ง 2 ประการของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลให้มีความมั่นใจในการทำงานในสถานีโทรทัศน์รัฐสภาเป็นอย่างมาก  เช่น ความสามารถในการตัดสินใจจัดระบบในการทำงาน   การจัดสรรกำลังคน  การประเมินผลงานของพนักงาน  การจัดสรรงบประมาณ การคัดเลือกอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการทำงาน ฯลฯ

มีข้อน่าสังเกตว่าความมั่นใจในตัวเองของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  เพียง 2 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กรมากที่สุด เพราะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐสภา ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงเป็นไปในลักษณะยอมรับ  เข้าใจในนโยบายขององค์กรอย่างแข็งขัน และมีความมั่นใจในการทำงานในหน่วยงานในกำกับของรัฐ  แบบไม่มีข้อจำกัด รองลงมาคือ 2)ด้านบุคลากร  ความมั่นใจในตัวเองของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานีฯ  

อย่างไรก็ตามความมั่นใจในตัวเองของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มิได้ส่งผลต่อ 3)ด้านงบประมาณ  และ4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยีเลย  

3.ต้นแบบดี ลูกน้องตาม  ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น (เป็นแบบอย่างแก่ลูกน้อง)

ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภามีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านงานข่าว  งานสื่อสารมวลชนกว่า 20 ปี  จึงมีความสามารถในการทำงานข่าวได้อย่างหลากหลายหน้าที่ อาทิ บรรณาธิการฝ่ายข่าว  เขียนข่าว  ผู้ดำเนินรายการข่าว  จึงสามารถทำงานข่าวได้อย่างมืออาชีพ และครบวงจร     ขณะเดียวกันก็สามารถให้คำปรึกษา  และให้ความช่วยเหลือพนักงานในสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  อาทิ   ด้านการคิดประเด็นข่าว  ด้านการเขียนข่าว  ด้านการเป็นผู้ดำเนินรายการ  ด้านการจัดผังรายการ ด้านการจัดตารางการทำงาน ฯลฯ    ทำให้การทำงานข่าวของสถานีโทรทัศน์รัฐสภาราบรื่นและมีประสิทธิภาพตามพันธกิจของหน่วยงาน

มีข้อน่าสังเกตว่าการเป็นแบบอย่างแก่ลูกน้องของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  เพียง 2 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กรมากที่สุด เพราะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐสภา ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงเป็นไปในลักษณะยอมรับ  และปฏิบัติตาม โดยการทำงานในหลายหน้าที่  ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือ 2)ด้านบุคลากร  การเป็นแบบอย่างแก่ลูกน้องของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ให้ยอมรับการทำงานหลายหน้าที่เหมือนผู้บริหารฯ  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามการเป็นแบบอย่างแก่ลูกน้องของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มิได้ส่งผลต่อ 3)ด้านงบประมาณ  และ4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยีเลย  

4.มนุษย์สัมพันธ์ดี (สร้างความประทับใจในความสามารถและความสำเร็จ)

ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานด้านข่าวอย่างมืออาชีพแล้ว  ในด้านบุคลิกส่วนตัว ยังเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง  สุภาพ  ยิ้มง่าย  พูดเพราะ  มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำให้พนักงานในสถานีฯ อยากเข้ามาขอคำปรึกษา และสนทนาด้วยทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว  ทำให้พนักงานเกิดความประทับใจในความสามารถของผู้บริหาร   อันจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารและพนักงาน  เป็นการลดช่องว่างในการทำงานร่วมกัน ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

มีข้อน่าสังเกตว่าการสร้างความประทับใจในความสามารถและความสำเร็จของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  เพียง 2 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กรมากที่สุด เพราะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐสภา ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงเป็นไปในลักษณะยอมรับ  และปฏิบัติตาม  ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตามครรลองของสถานีโทรทัศน์ในกำกับของหน่วยงานรัฐ รองลงมาคือ 2)ด้านบุคลากร  การสร้างความประทับใจในความสามารถและความสำเร็จของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ให้ปฏิบัติตามแนวทาง  ตามแบบอย่างของผู้บริหารฯ  เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในลักษณะเดียวกัน

อย่างไรก็ตามการสร้างความประทับใจในความสามารถและความสำเร็จของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มิได้ส่งผลต่อ 3)ด้านงบประมาณ  และ4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยีเลย  

5.หมุนเวียนตำแหน่ง  เรียนรู้งานถ้วนทั่ว  (มีความคาดหวังสูงและมีความมั่นใจว่าผู้ตามสามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย)

ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาได้ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของพนักงานภายในสถานีฯ  โดยเฉพาะฝ่ายข่าว ฝ่ายผู้ประกาศข่าว ฝ่ายผู้สื่อข่าว  ฝ่ายช่างภาพ  ฝ่ายตัดต่อ   ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยการหมุนเวียนการทำงานภายในหน่วยงานทั้งในด้านของการเป็นหัวหน้างาน และด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เสมอ

ด้านการเป็นหัวหน้างาน เนื่องจากในฝ่ายต่างๆ ในสถานีโทรทัศน์รัฐสภา อาทิ ฝ่ายข่าว ฝ่ายผู้ประกาศข่าว ฝ่ายผู้สื่อข่าว  ฝ่ายช่างภาพ  ฝ่ายตัดต่อ  จะไม่มีตำแหน่งหัวหน้างานที่ชัดเจน  จึงไม่มีหัวหน้างานอย่างเป็นทางการ  ดังนั้นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา จึงปรับระบบการทำงานให้พนักงานในแต่ละฝ่ายงานได้หมุนเวียนกันทำหน้าที่หัวหน้าฝายคนละ 3 เดือน เพื่อให้เรียนรู้หน้าที่และความรับผิดชอบในการเป็นหัวหน้างานสลับกันไป

ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เสมอ  ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาได้ปรับระบบการทำงานให้พนักงานในฝ่ายช่างภาพ และผู้สื่อข่าว  ได้ทำงานร่วมกันทุกคนอย่างถ้วนหน้า  โดยการจัดให้ช่างภาพสามารถทำงานกับผู้สื่อข่าวทุกคน  ไม่มีช่างภาพประจำ หรือ “ช่างภาพคู่ใจ”  เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการทำงานร่วมกัน  และเพื่อให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพการทำงานของพนักงานทุกคน  ซึ่งจะช่วยให้การทำงานในทีมข่าวมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มีข้อน่าสังเกตว่าความคาดหวังสูงและมีความมั่นใจว่าผู้ตามสามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  เพียงด้านเดียว คือ 1)ด้านบุคลากร  ความคาดหวังสูงและมีความมั่นใจว่าผู้ตามสามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้บริหารฯ คาดหวัง และตั้งเป้าหมายให้พนักงานในแต่ละฝ่ายสามารถทำงานแทนกันได้  และสามารถสลับสับเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้าฝ่ายได้

อย่างไรก็ตามความคาดหวังสูงและมีความมั่นใจว่าผู้ตามสามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มิได้ส่งผลต่อ 2)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กร  3)ด้านงบประมาณ  และ4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยีเลย  

6.ยุติธรรม นำประเมิน (สร้างแรงจูงใจในการทำให้พันธกิจบรรลุเป้าหมาย)

สถานีโทรทัศน์รัฐสภาเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐสภา  ระบบการทำงานเป็นระบบราชการ  แต่เนื่องจากการทำงานของสถานีโทรทัศน์ เป็นงานด้านสื่อสารมวลชน ที่เน้นการทำงานกระชับ ฉับไว และคล่องตัว  ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภาจึงได้ปรับเปลี่ยนระบบการประเมินผลงานของพนักงานในองค์กรจากเดิมที่เป็นการประเมินปีละ 1 ครั้ง  เป็นการประเมินผลการทำงานทุก 1 เดือน  และมีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดส่งผลงานของพนักงานได้อย่างสะดวกและเป็นระบบ  ขณะที่ผู้บริหารสถานีฯ เองก็สามารถตรวจสอบผลงานของพนักงานได้อย่างเป็นระบบ และตรวจสอบได้ตลอดเวลา  ส่งผลให้การประเมินผลงานมีความน่าเชื่อถือ เพราะทั้งพนักงานและผู้บริหารสถานีฯ สามารถแจงนับผลงานได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดปัญหาการประเมินแบบลักษณะ  “เลือกที่รัก มักที่ชัง”

มีข้อน่าสังเกตว่าการสร้างแรงจูงใจในการทำให้พันธกิจบรรลุเป้าหมายของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  เพียงด้านเดียว คือ 1)ด้านบุคลากร  การสร้างแรงจูงใจในการทำให้พันธกิจบรรลุเป้าหมายของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้บริหารฯ คาดหวัง โดยการกำหนดให้พนักงานส่งภาระงานและผลงานให้ผู้บริหารฯ ประเมินผลทุก 1 เดือน ซึ่งเป็นการประเมินผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ช่วยสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการผลิตผลงานมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการสร้างแรงจูงใจในการทำให้พันธกิจบรรลุเป้าหมายของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มิได้ส่งผลต่อ 2)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กร  3)ด้านงบประมาณ  และ4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยีเลย  

7.ทัศนคติดี   ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้  (มีบทบาทดึงดูดใจผู้ตาม)

ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภามีจิตวิทยาในการเป็นผู้นำที่สามารถดึงดูดใจพนักงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี  ด้วยบุคลิกส่วนตัวที่มีทัศนคติที่ดี  ใจกว้าง  มีความเข้าอกเข้าใจคน  ทำให้เมื่อผู้บริหารต้องการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงาน และระบบในการประเมินผลงาน  จึงทำให้พนักงานในองค์กรยอมทำตามได้อย่างง่ายดาย โดยไม่มีเงื่อนไข

มีข้อน่าสังเกตว่าการมีบทบาทดึงดูดใจผู้ตามของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ส่งผลต่อการบริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา  เพียงด้านเดียว คือ 1)ด้านบุคลากร  การมีบทบาทดึงดูดใจผู้ตามของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา เช่น การที่ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภามีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ทั้งในเรื่องของนโยบาย  ภารกิจขององค์กร  บทบาทการทำงานที่ทุ่มเทของผู้บริหารฯ  ส่งผลต่อการปฎิบัติงานของบุคลากรในสถานีฯ ซึมซับและปฏิบัติงานตามแนวทางเดียวกับผู้บริหารฯ ทั้งด้านทัศนคติ  นโยบาย ภารกิจ และการทุ่มเทกับการทำงาน

คาดหวัง โดยการกำหนดให้พนักงานส่งภาระงานและผลงานให้ผู้บริหารฯ ประเมินผลทุก 1 เดือน ซึ่งเป็นการประเมินผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ช่วยสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการผลิตผลงานมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการมีบทบาทดึงดูดใจผู้ตามของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์รัฐสภา มิได้ส่งผลต่อ 2)ด้านวัตถุประสงค์หรือนโยบายองค์กร  3)ด้านงบประมาณ  และ4)ด้านสถานที่หรือเทคโนโลยีเลย  

 

 

รายการอ้างอิง

 

ภาษาไทย

ชมพูนุช ภัทรขจี. (2550). การรายงานข่าวการเมืองทางโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชวลิต ประภวานนท์. (2542). องค์การและการจัดการ ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 : กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น.

กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ณัฐาศิริ สุขภาพ. (2551). การบริหารการจัดการสถานีโทรทัศน์รัฐสภาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง

ของประชาชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงชัย สันติวงศ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

เบญจวรรณ จำเริญพร . (2552). การศึกษาและวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาผ่าน

ดาวเทียม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรจิต สมบัติพานิช. (2550). โฆษณาในทศวรรษที่ 2000-2010: การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อรูปแบบโฆษณา.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพียงพิศ จิระพรพงศ์. (2550). กระบวนการบริหารจัดการการจัดทำสัญลักษณ์เพื่อการคัดกรองรายการ

โทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณรัตน์ นาที. (2545). กระบวนการรายงานสดของข่าวโทรทัศน์ไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สมคิด  บางโม. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

อริสา แดงเอียด.  (2552). การบริหารเพื่อการพัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาผ่านดาวเทียม. รายงานโครงการ

เฉพาะบุคคล ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

 

ภาษาอังกฤษ

Albarran, A.B. (2006). Management of electronic media. Wadsworth:  Thomson.