ภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ The Leadership of Administrators of Hua Hin Municipality, Prachuap Khiri Khan Province

, 2547)

4. การกระตุ้นปัญญา (Intellectual Stimulation) หมายถึง การทำให้ผู้ตามตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงในการตระหนักถึงปัญหาและวิธีการแก้ไข เกิดความคิด จินตนาการ ความเชื่อและค่านิยมมากกว่าที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติในทันทีทันใด การกระตุ้นปัญญานั้นทำให้ผู้ตามเกิดมโนทัศน์ เกิดความเข้าใจและสามารถใช้ดุลยพินิจในการมองปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาโดยผู้ตามจะเกิดความคิดก่อนการลงมือปฏิบัติ

5.  การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational) หมายถึง การที่ผู้นำใช้คำพูดและการกระทำที่ปลุกปลอบใจ ให้กำลังใจ เร้าอารมณ์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความร่าเริง มีชีวิตชีวา กระตือรือร้น และทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุ่มเทความพยายามมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และจะทำเพื่อกลุ่มและผูกพันอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้นำ บาส (Bass,1985. อ้างถึงในอัญชัญ เค็มกระโทก, 2547) การเน้นการปฏิบัติ การกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทดลองปฏิบัติโครงการใหม่ ๆ หรือทำงานที่ท้าทายความสามารถ ให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาอาสาสมัครทำงานการได้อาสาสมัครทำงานเป็นโอกาสที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความสามารถและความรับผิดชอบและเมื่อปฏิบัติงานสำเร็จจะเกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นตนเอง มีนโยบายเสริมการทดลอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาของหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศการติดต่อสื่อสารแบบเปิดเผยและเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในหน่วยงาน ใช้ระบบการบันทึกสั้นๆแทนการรายงานหรือการบันทึกแบบยาว

 

5.วิธีการดำเนินการวิจัย

5.1 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่สังกัดอยู่ในเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 156 คน

5.2 กลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง

บุคลากรที่สังกัดอยู่ในเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการคำนวณหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการวิจัยโดยใช้หลักการคำนวณของยามาเน  (Yamane, 1973 อ้างถึงในสุพัตรา จุณณะปิยะ,    2546)ได้ขนาดตัวอย่างในการวิจัย  จำนวน 113 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  (Simple Random Sampling)  

5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

            ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถาม ที่ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบจำนวน 6 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประเภทพนักงาน

    ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามปัจจัยภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า (Rating Scale)             5 ระดับ จำนวน 5 ด้าน รวม 25 ข้อ

    ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า (Rating Scale)     5 ระดับ จำนวน 4 ด้าน รวม 20 ข้อ  

 

6.ผลการวิจัย

            1. ข้อมูลทั่วไป พบว่ากลุ่มตัวอย่าง เพศหญิงร้อยละ 54.0 รองลงมาเพศชายร้อยละ 46.0 มีอายุส่วนใหญ่ อายุ 30-40 ปี ร้อยละ 38.9 รองลงมา คือ มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 27.5 น้อยที่สุด อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ11.5 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 60.2 รองลงมาเป็นปริญญาตรีร้อยละ 15.0 น้อยที่สุด มัธยมตอนต้น ร้อยละ 4.4 ประสบการณ์ทำงาน ส่วนใหญ่ มีประสบการณ์ 1-5 ปี รองลงมา 6-10 ปี น้อยที่สุดมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี ประเภทพนักงาน ส่วนใหญ่ เป็นพนักงานเทศบาล ร้อยละ45.2 รองลงมาเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจร้อยละ 33.6 น้อยที่สุดคือลูกจ้างประจำร้อยละ 8.8 

2. สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้มีการตั้งสมมติฐานในการวิจัยไว้ 2 ข้อ คือ

ข้อที่ 1 พนักงานที่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประเภทของพนักงาน ต่างกันจะมีความเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลวิจัยพบว่าพนักงานที่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประเภทของพนักงาน ต่างกันจะมีความเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ข้อที่ 2 ปัจจัยด้าน การสร้างวิสัยทัศน์ การสร้างบารมี การคำนึงถึงเอกบุคคล การกระตุ้นปัญญา และการสร้างแรงบันดาลใจ มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผลวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระ 4 ตัว มีผลเชิงบวกต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นปัญญา การสร้างบารมี การคำนึงถึงเอกบุคคล ตัวแปรทั้ง 4 ตัวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามคือภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ถึงร้อยละ 80.70

 

7.อภิปรายผลการวิจัย

จากผลวิจัยพบว่าพนักงานที่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประเภทของพนักงาน ต่างกันจะมีความเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้สอดคล้องกับงานวิจัยของสาโรจน์  ธีรจารุกุล (2552) ได้ศึกษาเรื่อง ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีในประเด็นที่ว่าประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา  ที่แตกต่าง มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีไม่แตกต่างกันและสอดคล้องกับงานวิจัยของกิติ พัฒนนิติศักดิ์. (2557) ได้ทำการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ตำแหน่ง ต่างกันมีความเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

บุคลากรของเทศบาลเมืองหัวหิน มีความเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน ไม่แตกต่างกันแม้จะจะมีความแตกต่างในเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประเภทของพนักงาน แสดงว่าบุคลากรในเทศบาลเมืองหัวหินมีความรู้ความเข้าใจในภาวะผู้นำของผู้บริหารอย่างดีและได้มีการประชุม อบรมกันสม่ำเสมอจึงสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน มีการสื่อสารที่ดีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจึงทำให้ทัศนคติที่พนักงานมีต่อผู้บริหารไม่แตกต่างกัน 

และจากผลวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระ 4 ตัว มีผลเชิงบวกต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นปัญญา การสร้างบารมี การคำนึงถึงเอกบุคคล ตัวแปรทั้ง 4 ตัวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามคือภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ถึงร้อยละ 80.70 สอดคล้องกับงานวิจัยของสาโรจน์  ธีรจารุกุล (2552) ได้ศึกษาเรื่อง ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีในประเด็นที่ว่า ตัวแปรอิสระ 4 ตัว คือ การสร้างวิสัยทัศน์  การสร้างบารมี  การกระตุ้นปัญญา และการสร้างแรงบันดาลใจ มีผลเชิงบวกต่อภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม  อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามและสอดคล้องกับงานวิจัยของกิติ พัฒนนิติศักดิ์.(2557) ได้ทำการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเด็นที่ว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว มีผลเชิงบวกต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเรียงตามค่าสัมประสิทธิ์จากมากไปหาน้อย คือ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นปัญญา การคำนึงถึงเอกบุคคล การสร้างบารมี การสร้างวิสัยทัศน์ ตัวแปรทั้ง 5 ตัวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามคือภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านมาประกอบกันและภาวะผู้นำนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ผู้บริหารต้องนำมาใช้ในการบริหารงานเพื่อให้งานเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เพราะการจัดการที่ดีและมีผู้นำที่มีทักษะ ทางความคิดดีเยี่ยมสามารถกำหนดแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมขององค์กร การมีทักษะ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ คือ การมีความสามารถปฏิบัติงานกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บริหารระดับสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ สามารถคาดคะเนเหตุการณ์และควบคุมพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรโดยมีเทคนิค วิธีการที่เหมาะสมอีกทั้งแบบการเป็นผู้นำไม่สามารถยึดแบบใดแบบหนึ่งตายตัวได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ดังนั้นแบบของการเป็นผู้นำจึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเป็นผู้นำ เช่น ตัวผู้นำ กลุ่มผู้ตามและสถานการณ์ การเปรียบเทียบคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นผู้นำและที่ไม่เป็นผู้นำและเปรียบเทียบลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิภาพพบว่าไม่ประสบผลสำเร็จ ในระยะหลังจึงต้องมีการศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ จึงได้ข้อสรุปว่า บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมทางพฤติกรรมของความเป็นผู้นำที่เหมาะสมแล้ว สามารถเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้ แต่พฤติกรรมความเป็นผู้นำ ที่เหมาะสมต้องเป็นไปตามสถานการณ์ตามหน้าที่ของความเป็นผู้นำ และแบบของความเป็นผู้นำ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของอัญชัญ เค็มกระโทก, (2547). ในประเด็นที่ว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ ผู้นำที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตาม ค้นหาแรงจูงใจของผู้ตาม กระตุ้นให้ผู้ตามเกิดความสำนึก (Conscious) พยายามให้ผู้ตามได้รับการตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้น และหาทางที่จะพัฒนาผู้ตาม ผู้ตามได้รับการพัฒนาจนสามารถบรรลุศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

 

บรรณานุกรม

ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2541). ทางเลือก ทางรอด. กรุงเทพมหานคร : เอเอาร์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์  พับบลิเคชั่น.

สถิต  วงศ์สวรรค์. (2529). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : บำรุงสาส์น.

สิปนันท์ เกตุทัต. (2545).“จากอดีตและปัจจุบันสู่อนาคตของการปฏิรูปการศึกษาไทย:สู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้” คำบรรยายเนื่องในการสัมมนาวิชาการ5ทศวรรษ สกศ.กับการพัฒนาการศึกษาไทย (16 กุมภาพันธ์ 2545) ณ ห้องประชุม เอส แคปฮอลล์ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ.

สุพัตรา  จุณณะปิยะ. (2546). คู่มือการวิจัยทางรัฐศาสตร์และประศาสนศาสตร์. นครปฐม :

โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและการฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ. 

อานันท์ ปันยารชุน. (2546). แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วย “ธรรมรัฐแห่งชาติ”. ในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี คณะรัฐศาสตร์             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชัญ  เค็มกระโทก. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเปลี่ยนแปลงกับการปฏิบัติตน  หน้าที่การบริหารงานของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Smelser. Neil J. (1963). Theory of Collective Behavior. American Political Science Review, Volume 57, Issue 4, December 1963, pp.957-958.