ภาพยนตร์ “ชีวิตอัศจรรย์ของเบนจามิน บัตตัน” บทเรียนจากความเจ็บป่วยสู่ความตาย โรควัยชราในเด็กและโรคฟาร์ซินโดรมกับหลักการมรณานุสติ (การระลึกถึงความตาย)

วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 (มกราคม – กรกฎาคม 2563) เผยแพร่แล้ว
.
ภาพยนตร์ “ชีวิตอัศจรรย์ของเบนจามิน บัตตัน” บทเรียนจากความเจ็บป่วยสู่ความตาย โรควัยชราในเด็กและโรคฟาร์ซินโดรมกับหลักการมรณานุสติ (การระลึกถึงความตาย)
โดย พัชนี แสนไชย
.
บทคัดย่อ
โลกของภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นมาทำหน้าที่ของมันในหลากหลายมิติ อีกหนึ่งมิติ คือ การเชื่อมโลกของภาพยนตร์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง โดยมนุษย์สามารถได้รับบทเรียนเหล่านั้นได้จากภาพยนตร์ อย่างเรื่อง The Curious Case of Benjamin Button: ชีวิตอัศจรรย์ของเบนจามิน บัตตัน เป็นภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลออสการ์ถึง 3 รางวัล ภาพยนตร์ได้สะท้อนเรื่องราวและการตระหนักเห็นถึงคุณค่าของชีวิต การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แค่เปลี่ยนมุมมองจากวัยชราสู่วัยทารก และมุ่งหน้าสู่ความตายได้เช่นเดียวกันทุกวัย โครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ (Narration of film) มีการวางโครงเรื่องและวิธีคิด ทั้งการออกแบบตัวละคร แก่นเรื่อง (Theme) ความขัดแย้ง (Conflict) ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของหลักคำสอนศาสนา เช่น ความเชื่อและศรัทธา ความรักแบบไม่ต้องครอบครอง การปล่อยวาง การเข้าใจสัจธรรมของโลกใบนี้ ดังเช่น ประโยคที่ว่า We all die in diaper (เราทุกคนก็ตายในผ้าอ้อมกันทั้งนั้น) โรคที่ตัวละครเบนจามิน บัตตัน ป่วย คือ โรควัยชราในเด็ก (Progeria) ส่งผลทำให้เด็กคนดังกล่าวมีสภาพคล้ายคนแก่
จากโรคที่ป่วยในภาพยนตร์สู่โรคแห่งความเป็นจริงโดยมีผู้ป่วยมีลักษณะอาการคล้าย ๆ ที่ตัวละครป่วยโดยโรคดังกล่าวสามารถหาข้อมูลและสืบค้นข้อมูลได้หลากหลายและมีข้อมูลที่เป็นภาษาไทย แต่ยังมีอีกหนึ่งโรคที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันแต่เกิดขึ้นทางสมองของมนุษย์และไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง คือ โรคฟาร์ซินโดรม (Fahr Syndrome) ความไม่รู้เกี่ยวกับโรค คือ ความน่ากลัวรูปแบบหนึ่ง สิ่งเดียวที่จะทำได้ คือ การยอมรับในความเป็นจริงและใช้วิธีคิดแบบในแก่นภาพยนตร์ (Theme) การเห็นคุณค่าของชีวิต การเผชิญหน้ากับความจริง สุดท้ายมนุษย์ทุกคนต้องพลัดพรากและต้องตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะป่วยหรือไม่ป่วย เด็กหรือผู้ใหญ่ทุกคนย่อมเดินทางสู่สนามแห่งความตายเช่นเดียวกันทุกคน โดยใช้หลักการคิดแบบมรณานุสติ (การระลึกถึงความตาย) เป็นเครื่องมือช่วยนำทางสู่ความตาย

อ่านฉบับออนไลน์: so04.tci-thaijo.org/index.php/socku
ติดต่อรับซื้อตัวเล่มหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: [email protected]