พฤติกรรมเนือยนิ่ง ปัจจัยเสี่ยงต่อเด็กปฐมวัย

วิถีชีวิตปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้คนเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเนื่องจากต้องกักตัวอยู่ในพื้นที่จำกัด รูปแบบและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตติดที่-ติดโต๊ะ-ติดจอ ทั้งนั่งเรียนและนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง”

พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะเป็นเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases; NCDs) ที่จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนองค์การอนามัยโลกออกมารณรงค์แนะนำให้คนรักสุขภาพทั้งหลายขยับร่างกายให้มากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าการนั่งระยะเวลานานเพียงใดถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่งานวิจัยเชิงการทดลองมีแนวโน้มที่จะให้คำแนะนำว่าไม่ควรนั่งนานต่อเนื่องมากกว่า 30–60 นาที เพื่อสุขภาพที่ดี ซึ่งพฤติกรรมเนือยนิ่งนั้นสามารถมีได้ทั้งคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำและคนที่ขาดกิจกรรมทางกาย แต่คนที่ขาดกิจกรรมทางกายจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงที่สุด จากผลสำรวจสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของประชาชนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ประชาชน 1 ใน 3 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นจำนวนถึง 2 ใน 3 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอแต่กลับมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือการนั่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและสมอง (สุรเดช พันธุ์ลี, 2565, น. ออนไลน์)  อ่านต่อ……