ผลงานสร้างสรรค์ เดี่ยวซออู้ เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้น

คลิปการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้น

 

อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์เดี่ยวซออู้ เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้น

            เดี่ยวซออู้ เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้นนี้ ผู้เขียนได้ประพันธ์ขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยทำนองหลักจาก
ครูทัศนัย พิณพาทย์ ในครั้งแรกนั้นได้ประพันธ์และเผยแพร่ในเฟซบุ้ค (Facebook) ของผู้ที่ขอให้ผู้เขียนประพันธ์ทางเดี่ยวนี้ขึ้น คือ นายอนุรักษ์ รักสถิตกุล เพื่อนำไปให้ลูกศิษย์ชื่อนายอนุสิทธิ์ นะโม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจวิทยา โดยเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่นักเรียนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาจึงมีผู้นำทางที่ได้ประพันธ์ขึ้นนี้ไปบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

            สำหรับการประพันธ์ทางเดี่ยวซออู้เพลงพันธุ์ฝรั่งนี้ ผู้เขียนได้รับโจทย์ว่า ผู้ที่จะนำทางเดี่ยว      ไปบรรเลงเป็นผู้ที่มีความมานะ พยายามในการฝึกซ้อม สามารถปฏิบัติกลวิธีพิเศษเบื้องต้น เช่น การพรม การประ การรูดนิ้ว ได้พอสมควรแล้ว แต่ผู้เขียนไม่เคยเห็นฝีมือการบรรเลงของนักเรียนจริงๆ ผู้เขียนจึงประพันธ์โดยมีแนวคิดว่า จะเป็นทางเดี่ยวที่จะแสดงศักยภาพของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยวิธีการเรียบเรียงผลงานนั้น ผู้เขียนจะนำเสนอเป็นอรรถาธิบายประกอบบทวิเคราะห์ดังนี้

           ทำนองขึ้นต้นเพลง ผู้เขียนได้ประพันธ์ให้เริ่มต้นด้วยการทดนิ้ว โดยวางนิ้วชี้ที่เสียงที เนื่องจากบทเพลงนี้ขึ้นด้วยเสียงที่ไม่สะดวดต่อการขึ้นต้นเพลงด้วยซออู้ เพราะมีเสียงมีสูง ผู้เขียนจึงคิดว่า หากพลิกวิกฤตเป็นโอกาสเสีย ก็จะทำให้มีคะแนนเพิ่ม จึงได้ประพันธ์ทางเดี่ยวให้มีการรูดสายขึ้นตั้งแต่
ท่อนแรก ดังทำนองดังนี้ 

 

ทำนองหลัก

– – – ท
– – รํ รํ
– – – มํ
– – รํ รํ
– – – ลท
– รํ – มํ
– มํ – มํ
– รํ – ท
– – – ฟ
– ร – –
– – – ม
– ร – –
– – ซ –
– ร – ม
– ซ – ม
– ร – ทฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ท
รํ รํ รํ รํ
-มํรํท –รํมํ
รํทมํรํ -รํรํรํ
—- -ซลท
– รํ – มํ
ซํ ลํ ซํ มํ
ซํรํมํรํ –รํมํ
 

สำหรับในวรรคต่อไปนั้น ผู้เขียนได้แปลทำนองเป็นทำนองเรียบๆ เพื่อตั้งจังหวะให้โทน รำมะนา สามารถจับจังหวะ และสามารถเข้าจังหวะฉิ่ง จังหวะหน้าทับได้ถูกต้อง แม่นยำ ดังนี้

 

 

 

 

ทำนองหลัก

– ท – –
ล ล – –
ท ท – –
รํ รํ – มํ
– – ท –
ท – ล –
ซ – ล –
ล – ซ –
  – ทฺ – ลฺ
  – – – ทฺ
  – – – ร
  – – – ม
  – – – ล
  – ซ – ม
  – ม – ซ
  – ม – ร
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

—- –รํท
– – – ล
ท ล รํ ม
ซ ล ซ ม
—- –รํล
-ทลซ —ม
—- -ทลซ
ม ซ ม ร
 

ในวรรคต่อไปนั้น เมื่อผู้เขียนได้วิเคราะห์ดูแล้วพบว่า เป็นการแปลงเท่าของผู้ประพันธ์เพลง
พันธุ์ฝรั่งซึ่งมีลักษณะทำนองเหมือนในวรรคขึ้นต้นเพลง ผู้เขียนจึงประพันธ์ทำนองในสำนวนท้าให้
มีโน้ตเสียงยาวๆ นิ่งๆ ส่วนในสำนวนรับนั้น แปลสำนวนเพลงให้ใช้เสียงต่ำ เพื่อให้แตกต่างจากวรรค
ขึ้นเพลง ดังนี้

 

ทำนองหลัก

  ม – ม –
  ม ซ – –
  ม – ม –
  ม ซ – – 
  – – ลฺ ทฺ
  – – ร ม
  – ล – –
  ซ ม – –
  – ทฺ – ร
  – – ม ร
  – ทฺ – ร
  – – ม ร
  – ซฺ – –
  ลฺ ทฺ – –
  – – ซ ม
  – – ร ทฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – –
– – – รํ
-มํรํท –รํมํ
รํทมํรํ – รํรํรํ
ซ ล ซ ม
-รมร –มซ
—- –รํล
-ทลซ –ลท
 

ในวรรคต่อไปนั้น ผู้เขียนได้ประพันธ์ทำนองเป็นทำนองเรียบๆ มีการใช้กลวิธีพิเศษ ซึ่งใน
สายสำนักของครูย้อย เกิดมงคล เรียกว่า “การแทงนิ้ว” ในห้องที่ 2 ในส่วนของสำนวนรับนั้น
ได้ประพันธ์ทำนองเรียบๆ และมีการใช้เสียงเรสูง และลงมาเป็นเสียงต่ำ ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – ม – –
  ร ทฺ – –
  ซ ซ – –
  ล ล – ท
  – ซ – –
  – ลท – รํ
  – มํ – รํ
  – ท – ล
  – – ร ทฺ
  – – ลฺ ซฺ
  – – – ลฺ
  – – – ทฺ
  – ร – –
  – ซ – – ร
  – ม – ร
  – ทฺ – ลฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

—- -ซลท
รํ มํ รํ ซ
—- –รํล
-ทลซ –ลท
– ซ – ล
– ท – รํ
– ร – ม
-ลซม -ซ-ล
 

 

ในวรรคต่อไปนั้น ผู้เขียนได้ประพันธ์ทำนองให้มีความเรียบ แต่มีการใช้กลวิธีรูดสาย เพื่อแสดงศักยภาพของผู้บรรเลง และในสำนวนรับนั้น ได้ดัดแปลงกลอนเพลงที่ปรากฏในเดี่ยวพญาครวญ
ของสำนักหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ซึ่งบรรเลงว่า 

 

—- -ลซม
-ลซม -ซ-ล
-ทลรํ –รํซ
-ทลซ –ลท
 

 

ซึ่งจะเห็นว่าลูกตกไม่ตรงกัน ผู้เขียนจึงได้ทำการดัดแปลง ตกแต่งเพิ่มเติม ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – – – ท
  – – – ลท
  – มํ – รํ
  – ท – ล
  – ร – ซ
  – – ล ท
  – รํ – ท
  – ล – ซ
  – ทฺ – –
   – – ซ –
  – ม – ร
  – ทฺ – ลฺ
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ทฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ท
– ท ท ท
– มํ – รํ
– ท – ล
—- -ลซม
ร ม ซ ท
—- –รํล
ทลซม – – ซ
 

ในวรรคต่อไปนั้น ในสำนวนท้านั้น ผู้เขียนได้แปลงทำนอง ประดุจว่าเป็นเท่าเพลง ซึ่งได้วิเคราะห์ตามทฤษฎีอุตตมะ ของศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ ในส่วนของสำนวนรับนั้น ได้ใช้สำนวน
ซออู้ ที่ปรากฏในเพลงเดี่ยวพญาโศก ของครูย้อย เกิดมงคล มาใส่ไว้ ดังทำนองต่อไปนี้

 

 ทำนองหลัก

  – – ฟม –
  – ม – –
  – ร – ร
  – – – ซ
  – รํ – ท
  – ล – –
  ซ ซ – –
  ล ล – ท
  – – – ร
  – – – รฺ
  – – – ลฺ
  – – – ซฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ลฺ
   – – – ทฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ซ
—- -ซซซ
-ลซฟ –ซล
ซฟลซ -ซซซ
– รํ – ท
-ลทล -รํ-ซ
– ร – ม
ลซฟซ –ลท
 

ในวรรคต่อไปนี้ เป็นทำนองหลักของการขึ้นเพลงเดี่ยว ทยอยเดี่ยว ผู้เขียนจึงได้นำวิธีการ
ขึ้นเพลงเดี่ยวทยอยเดี่ยวของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) มาตกแต่งเพิ่มเติม ซึ่งมีกลวิธีพิเศษคือ การรูดสาย และการแทงนิ้ว ในวรรคนี้จึงเป็นวรรคที่ถือได้ว่ายากที่สุดวรรคหนึ่งของเพลงเดี่ยวนี้ ซึ่ง
ผู้บรรเลงจะต้องตั้งใจซ้อมเป็นอย่างมาก

 

ทำนองหลัก

  – – – ลท
  – รํ – มํ
  – มํ – มํ
  – รํ – ท
  – รํ – มํ
  – รํ – –
  ท ท – –
  ล ล – ซ
  – – ซ –
  – ร – ม
  – ซ – ม
  – ร – ทฺ
  – ร – ม
  – ร – ทฺ
  – – – ล
  – – – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – รํ
–มํรํ —มํ
ซํ ลํ ซํ มํ
ซํรํมํรํ -มํรํท
-ลทล -รํ-ซ
-ทลซ ทลรํท
– รํ – ท
-ลทล ลทลซ
 

ในวรรคต่อไปนี้ เป็นวรรคสุดท้ายของทางโอด ผู้เขียนได้ประพันธ์ทำนองให้มีความเรียบ และสามารถเร่งแนวบรรเลงได้ในสำนวนรับ ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – ซ – –
  – ลท – รํ
  – มํ – รํ
  – ท – ล
  – ท – ล
  – ซ – ม
  – ซ – –
  ล ล – ซ
  – ร – –
  – ซ – – ร
  – ม – ร
  – ทฺ – ลฺ
  – ทฺ – ลฺ
  – ซฺ – ทฺ
  – ซฺ – ลฺ
  – – – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– ซ – ล
– ท – รํ
– ร – ม
– ซ – ล
-ซลท -รํ-ล
-ทลซ —ม
-ซลท -รํ-ร
– ม – ซ
 

สำหรับในทางพันนั้นก็จะมีปัญหาของการขึ้นเพลง คล้ายกับในทางโอดคือ ทำนองหลักนั้น
ไม่เอื้อให้ซออู้สีได้โดยไม่ฟาดเสียงลงมา แต่เนื่องจากเป็นทำนองเดี่ยวจึงสามารถรูดสายได้ ผู้เขียนจึงได้
ใช้กลวิธีรูดสาย และผูกกลอนให้หลีกเลี่ยงเสียงฟาด ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

– – – ท
– – รํ รํ
– – – มํ
– – รํ รํ
– – – ลท
– รํ – มํ
– มํ – มํ
– รํ – ท
– – – ฟ
– ร – –
– – – ม
– ร – –
– – ซ –
– ร – ม
– ซ – ม
– ร – ทฺ
 

– ท – –
ล ล – –
ท ท – –
รํ รํ – มํ
– – ท –
ท – ล –
ซ – ล –
ล – ซ –
  – ทฺ – ลฺ
  – – – ทฺ
  – – – ร
  – – – ม
  – – – ล
  – ซ – ม
  – ม – ซ
  – ม – ร
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ท
รํ รํ รํ รํ
มํ ท รํ มํ
-ท-รํ -รํรํรํ
– ซ ล ท
ล ท รํ ซ
ล ซ ฟ ม
ร ซ ล ท
รํ ล ท ล
รํ ท ล ท
ล ซ ม ร
ม ล ซ ม
รํ ท รํ ล
ท ล ซ ม
ฟ ซ ฟ ล
ซ ฟ ม ร
ในวรรคต่อไปนี้ เป็นวรรคที่แปรทำนองสำหรับซออู้ได้ยากวรรคหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้ใช้แนวคิดการใช้คอร์ดที่ปรากฏในสำนวนเดี่ยวระนาดทุ้มของ ครูพุ่ม บาปุยวาทย์ หรือที่ในวงการเรียกกันว่า
“ครูพุ่ม ทุ้มฝรั่ง” และเมื่อผู้เขียนได้พิจารณาวิธีการบรรเลงซออู้ เพลงทยอยนอก สามชั้น จากแผ่นเสียงโบราณ ซึ่งมี พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) เป็นผู้บรรเลงนั้น จึงได้พบว่า การสีซออู้เป็นคอร์ดอย่างระนาดทุ้มนั้น ก็มีต้นความคิดมาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว อนึ่ง ในบทเพลงนี้มีชื่อว่า “พันธุ์ฝรั่ง” จึงมีความเหมาะสมอีกประการหนึ่ง ในการที่ผู้เขียนจะทำสำนวนให้ออกสำเนียงเป็นฝรั่ง ด้วยมูลเหตุดังกล่าวมานี้ จึงประพันธ์ทำนองได้ดังต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  ม – ม –
  ม ซ – –
  ม – ม –
  ม ซ – – 
  – – ลฺ ทฺ
  – – ร ม
  – ล – –
  ซ ม – –
  – ทฺ – ร
  – – ม ร
  – ทฺ – ร
  – – ม ร
  – ซฺ – –
  ลฺ ทฺ – –
  – – ซ ม
  – – ร ทฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ร ซ ท รํ
-ม-ซ -ซซซ
ม ร ม ซ
ม ซ ม ร
ซ ล ซ ท
ล ท รํ ซ
ล ซ ฟ ม
ร ซ ล ท
 

ในวรรคต่อไปนี้ ผู้เขียนจึงได้ประพันธ์ให้สอดรับกับวรรคก่อนหน้า โดยมีกลวิธีพิเศษที่สายของครูวรยศ ศุขสายชล เรียกว่า “การสะเดาะคันชัก” เข้ามาช่วยในการดำเนินทำนองในสำนวนท้า และ
ผูกกลอนให้สอดคล้อง และหลีกเลี่ยงการฟาดเสียงในสำนวนรับ ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – ม – –
  ร ทฺ – –
  ซ ซ – –
  ล ล – ท
  – ซ – –
  – ลท – รํ
  – มํ – รํ
  – ท – ล
  – – ร ทฺ
  – – ลฺ ซฺ
  – – – ลฺ
  – – – ทฺ
  – ร – –
  – ซ – – ร
  – ม – ร
  – ทฺ – ลฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ร ม ซ ม
-ล-ซ -ซซซ
ท ล ซ ล
-รํ-ท -ททท
รํ ท ล ซ
ม ซ ม ร
ซ ล ท รํ
ซ ดํ ท ล
 

ในวรรคต่อไป ผู้เขียนได้ใช้กลวิธีในการย้อยจังหวะ เพื่อแสดงลีลาที่เรียกว่า “ล้าหลัง” และ
ทำให้เกิดอรรถรสของลีลาซออู้ที่มีหน้าที่หยอกล้อ ยั่วเย้า ดังทำนองต่อไปนี้

 

 

 

ทำนองหลัก

  – – – ท
  – – – ลท
  – มํ – รํ
  – ท – ล
  – ร – ซ
  – – ล ท
  – รํ – ท
  – ล – ซ
  – ทฺ – –
   – – ซ –
  – ม – ร
  – ทฺ – ลฺ
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ทฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ซ ท ล ซ
ร ซ ล ท
รํ ท ล ซ
ร ม ซ –
ล – รํ ม
ร ม ซ ล
ท ล ซ ม
รํ ท ล ซ
 

ในวรรคต่อไป เป็นวรรคที่ตั้งเรื่อง เพื่อที่จะส่งเข้าสู่วรรคที่จะใช้แสดงศักยภาพของผู้ประพันธ์ทางเดี่ยว และผู้บรรเลงตามวัตถุประสงค์ของเพลงเดี่ยว ซึ่งในวรรคที่จะแสดงศักยภาพนั้น ผู้เขียนได้ประพันธ์ให้ทำนองใช้เสียงซ้ำ และมีการโดดเสียง ซึ่งวิธีการสีนั้นจะต้องสีสายในสองครั้ง สายนอก
สองครั้ง ทำเช่นนี้อยู่ 4 ห้องเพลง ซึ่งผู้บรรเลงนั้นจะต้องมีทักษะที่ดีมากพอสมควร มิฉะนั้นจะเกิดเสียงโขยก

 

ทำนองหลัก

  – – ฟม –
  – ม – –
  – ร – ร
  – – – ซ
  – รํ – ท
  – ล – –
  ซ ซ – –
  ล ล – ท
  – – – ร
  – – – รฺ
  – – – ลฺ
  – – – ซฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ลฺ
   – – – ทฺ

  – – – ลท
  – รํ – มํ
  – มํ – มํ
  – รํ – ท
  – รํ – มํ
  – รํ – –
  ท ท – –
  ล ล – ซ
  – – ซ –
  – ร – ม
  – ซ – ม
  – ร – ทฺ
  – ร – ม
  – ร – ทฺ
  – – – ลฺ
  – – – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ล ล ท ล
ซ ล ท รํ
ร ม ซ ม
-ล-ซ -ซซซ
ร ม ซ ม
รํ ท ล ซ
ร ม ล ซ
ร ซ ล ท
ร ร ซ ซ
ร ร ล ล
ร ร ซ ซ
ร ร ท ท
ร ม ซ ม
ร ม ซ ม
ร ม ซ ม
ล ซ ร ซ
 

สำหรับในวรรคจบนั้น ผู้เขียนได้คลี่คลายสำนวนจากวรรคก่อน และได้ประพันธ์ทำนอง
ในช่วงจบให้มีการใช้เสียงโดด และการเอื้อนเสียง ดังทำนองต่อไปนี้

 

 

 

 

 

ทำนองหลัก

  – ซ – –
  – ลท – รํ
  – มํ – รํ
  – ท – ล
  – ท – ล
  – ซ – ม
  – ซ – –
  ล ล – ซ
  – ร – –
  – ซ – – ร
  – ม – ร
  – ทฺ – ลฺ
  – ทฺ – ลฺ
  – ซฺ – ทฺ
  – ซฺ – ลฺ
  – – – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

-ทลซ -รํ-ซ
ล ท ดํ รํ
ซ ร ซ ดํ
รํ ดํ ท ล
-ซลท -รํ-ล
-ทลซ —ม
  -ซลท -รํ-ร
—ม ลซฟซ
 

           ทางเดี่ยวซออู้ เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้นที่ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่นี้ ผู้เขียนได้ประพันธ์โดย
การใช้แนวคิดจากทฤษฎีต่างๆ ทางดุริยางคศิลป์ รวมถึงคัดเลือกทำนองเพลงจากสำนวนของ
เครื่องดนตรีต่างๆ เพื่อดำเนินกลอนให้หลีกเลี่ยงการฟาดเสียง ให้ทำนองมีความต่อเนื่อง เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้นนี้ ใช้วิธีการประพันธ์ตามแบบนักประพันธ์ประเภทขนบภักดิ์สบสมัย ซึ่งอาศัยบริบทของการประกวดระดับมัธยมศึกษา ผลของการประพันธ์นี้จึงได้ทางเดี่ยวซออู้ สำนวนใหม่ มีทำนองหลายทำนองที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะผู้เขียน ซึ่งมีความแตกต่างจากทางเดี่ยวของนักประพันธ์ท่านอื่นๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เดี่ยวซออู้ เพลงพันธุ์ฝรั่ง สามชั้น

ประพันธ์ทางเดี่ยว โดย อาจารย์สุรพงษ์ บ้านไกรทอง

 

เที่ยวโอด

– – – ท
รํ รํ รํ รํ
-มํรํท –รํมํ
รํทมํรํ -รํรํรํ
—- -ซลท
– รํ – มํ
ซํ ลํ ซํ มํ
ซํรํมํรํ –รํมํ
—- –รํท
– – – ล
ท ล รํ ม
ซ ล ซ ม
—- –รํล
-ทลซ —ม
—- -ทลซ
ม ซ ม ร
– – – –
– – – รํ
-มํรํท –รํมํ
รํทมํรํ – รํรํรํ
ซ ล ซ ม
-รมร –มซ
—- –รํล
-ทลซ –ลท
—- -ซลท
รํ มํ รํ ซ
—- –รํล
-ทลซ –ลท
– ซ – ล
– ท – รํ
– ร – ม
-ลซม -ซ-ล
– – – ท
– ท ท ท
– มํ – รํ
– ท – ล
—- -ลซม
ร ม ซ ท
—- –รํล
ทลซม – – ซ
– – – ซ
—- -ซซซ
-ลซฟ –ซล
ซฟลซ -ซซซ
– รํ – ท
-ลทล -รํ-ซ
– ร – ม
ลซฟซ –ลท
– – – รํ
–มํรํ —มํ
ซํ ลํ ซํ มํ
ซํรํมํรํ -มํรํท
-ลทล -รํ-ซ
-ทลซ ทลรํท
– รํ – ท
-ลทล ลทลซ
– ซ – ล
– ท – รํ
– ร – ม
– ซ – ล
-ซลท -รํ-ล
-ทลซ —ม
-ซลท -รํ-ร
– ม – ซ
 

เที่ยวพัน

– – – ท
รํ รํ รํ รํ
มํ ท รํ มํ
-ท-รํ -รํรํรํ
– ซ ล ท
ล ท รํ ซ
ล ซ ฟ ม
ร ซ ล ท
รํ ล ท ล
รํ ท ล ท
ล ซ ม ร
ม ล ซ ม
รํ ท รํ ล
ท ล ซ ม
ฟ ซ ฟ ล
ซ ฟ ม ร
ร ซ ท รํ
-ม-ซ -ซซซ
ม ร ม ซ
ม ซ ม ร
ซ ล ซ ท
ล ท รํ ซ
ล ซ ฟ ม
ร ซ ล ท
ร ม ซ ม
-ล-ซ -ซซซ
ท ล ซ ล
-รํ-ท -ททท
รํ ท ล ซ
ม ซ ม ร
ซ ล ท รํ
ซ ดํ ท ล
ซ ท ล ซ
ร ซ ล ท
รํ ท ล ซ
ร ม ซ –
ล – รํ ม
ร ม ซ ล
ท ล ซ ม
รํ ท ล ซ
ล ล ท ล
ซ ล ท รํ
ร ม ซ ม
-ล-ซ -ซซซ
ร ม ซ ม
รํ ท ล ซ
ร ม ล ซ
ร ซ ล ท
ร ร ซ ซ
ร ร ล ล
ร ร ซ ซ
ร ร ท ท
ร ม ซ ม
ร ม ซ ม
ร ม ซ ม
ล ซ ร ซ
-ทลซ -รํ-ซ
ล ท ดํ รํ
ซ ร ซ ดํ
รํ ดํ ท ล
-ซลท -รํ-ล
-ทลซ —ม
  -ซลท -รํ-ร
—ม ลซฟซ