ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ The impact of tourism management  case study In Prapadaeng  district Samut Prakarn Province

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาและผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า และการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้นำชุมชนจำนวน 10 คนใช้การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและ ประชาชนในชุมชน จำนวน 200 คน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามปัญหาและผลกระทบ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการศึกษาพบว่า การบริหารการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ด้านกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมชุมชนมีความพึงพอใจระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านทักษะการบริหาร โดยค่าเฉลี่ย ( = 3.43) ด้านที่ต้องปรับปรุง คือ กลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยค่าเฉลี่ย  (  = 3.10)

คำสำคัญ: ผลกระทบ การบริหารจัดการ

 

Abtract

Research The impact of tourism management in the case of bang krachao subdistrict phra pradaeng district samut prakarn province aims to study 1) problems and impacts of tourism management in bang krachao community and Management of tourism in the community Bangkajao. sample used in this research 10 community leaders use specific sample selection and 200 people in the community, using accidental sample selection the tool used for data collection is questionnaires, problems and impacts questionnaire about administration and statistics used in analyzing data such as frequency, percentage, mean and standard deviation

According to studies, it has been found that tourism management in bang krachao community samut prakan province, the strategy of research results showed that overall, the community has a high level of satisfaction. when considering each aspect, it was found that the community was most satisfied with administrative skills by mean (  = 3.43). the aspect that needs to be improved is the tourism strategy by the average (   = 3.10).

keywords: management  impact

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวและอำนวยประโยชน์ มาสู่ประเทศชาติเป็นอย่างมากโดยจำแนกได้เป็น 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยสามารถสร้าง รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละของรายได้ประชาชาติ (GDP) และเนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องใช้กำลังคน ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพในภาคบริการจำนวนมาก เกิดการกระจายรายได้ให้กับประชาชน ในพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง              2. ด้านสังคม การท่องเที่ยวช่วยสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นจากการแลกเปลี่ยน ความคิด ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามต่อกัน อีกทั้งยังช่วย กระตุ้นการนำประเพณีวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นมาเผยแพร่ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ หวงแหนในมรดกและศิลปวัฒนธรรม ของตน ตลอดจนรักษา สิ่งแวดล้อมและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวให้คงอยู่ตลอดไป 3. ด้านการเมือง การท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อน หย่อนใจ ซึ่งเมื่อได้มาเยือน และเกิดความประทับใจ จะช่วยสร้างไมตรีและความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้โดยง่ายฆนรุจ (มิ่งเมธาพรและคณะ, 2557)   การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยหรือต่ำ หรือไม่มีผลกระทบต่อวิถีทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เพราะฉะนั้นการป้องกันและควบคุมผลกระทบอันเกิดจากการท่องเที่ยว จึงเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ เช่น ไม่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยว ไม่สนับสนุนให้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเกินความจำเป็น เน้นธรรมชาติและองค์ประกอบของธรรมชาติเป็นสิ่งดึงดูด เป็นต้น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีลักษณะที่สำคัญคือ เป็นการท่องเที่ยวที่ดำเนินการภายใต้ขีดจำกัดความสามารถของธรรมชาติ และต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชากร ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่มีต่อขบวนการท่องเที่ยว  อีกทั้งต้องยอมรับให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องชี้นำภายใต้ความปรารถนาของประชาชนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้นๆ อย่างไรก็ตามปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว อาจกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้ความได้เปรียบของประเทศไทยลดลง จากการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยว หรือแสวงหารายได้จากการท่องเที่ยว ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งเกิดความเสื่อมโทรม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และก่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยสาเหตุหนึ่ง คือ การขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของผู้รับผิดชอบดูแล และบริหารแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวทั้งด้านความเสื่อมโทรม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสม เช่น ความเสื่อมโทรมทางด้านขยะ ขยะมูลฝอยนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญปัญหาหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วโลก โดยปัญหาขยะจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาด สวยงามไม่น่าอยู่ บางกระเจ้า ตั้งอยู่ที่ ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ     บางกระเจ้าถือได้ว่าเป็นปอดของกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก การพัฒนาการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่บางกระเจ้า    ที่ขยายตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและขาดการวางแผนอย่างรอบคอบ จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ปัญหา ตัวอย่างที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ ปัญหาสภาพภูมิทัศน์ของคูคลอง แม่น้ำขาดความสวยงาม ปัญหาการเก็บรวบรวมขยะและนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี รวมทั้งปัญหาการขาดระบบการจัดการในรูปแบบของการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือก ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นหน่วยในการศึกษาเนื่องจาก บางกระเจ้า ถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของคนกรุงเทพมหานคร และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ ส่งผลให้บางกระเจ้ามีพลเมืองหลากหลาย  ทั้งพลเมืองในท้องถิ่น พลเมืองแฝงและนักท่องเที่ยว ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจ ศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของ ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง   จ.สมุทรปราการ

 

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า

1.2.2 เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า

 

1.3 ขอบเขตของการวิจัย

13.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาปัญหาและผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า และการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า

1.3.2 ขอบเขตด้านพื้นที่

การศึกษาครั้งนี้มุ่งทำการศึกษาชุมชนบางกระเจ้า ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

1.3.3 ขอบเขตด้านเวลา

การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการระหว่าง เดือน มกราคม – เดือน เมษายน 2562

 

 

1.4 กรอบแนวคิดการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.5.1 สามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการของชุมชน

 

1.6 นิยามศัพท์

          แหล่งท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้าที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว

           การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว หมายถึง การสร้าง ความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ในการจัดสร้าง พัฒนาและปรับปรุงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยว การมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วยแผนงาน แผนการเงิน และแผนบุคลากร เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนา คุณภาพของสินค้าและการบริการด้านการท่องเที่ยว รวมทั้ง แผนการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากร การรักษา ความปลอดภัยหรือการบริหารจัดการนักท่องเที่ยว หรือมาตรการ ควบคุมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้               ผลกระทบจากการบริหารจัดการการท่องเที่ยว หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบางกระเจ้า ทางด้านการบริหารจัดการ ซึ่งก่อให้เกิด ปัญหา และ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยาในชุมชนตามมา โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน

1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 การวิจัยเชิงปริมาณ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากร (Population) ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประชากรในชุมชนบางกระเจ้า จำนวน 200 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Samples)

1.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interview) โดยการคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) กับผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 10 คน ได้แก่ นายก อบต.บางกระเจ้า กำนันหมู่บ้าน ประธานศูนย์วัฒนธรรม เลขานุการศูนย์วัฒนธรรม สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เหรัญญิกหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน

 

2. เครื่องมือและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

2.1 การวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 ประเภท ในการสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อสอบถามข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งลักษณะคำถามเป็นแบบปิด (Close – ended Question) และแบบเปิด (Open – ended Question) ดังนี้

ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้สุทธิต่อเดือน

 ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า โดยใช้องค์ประกอบการท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนบางกะเจ้า เป็นกรอบการสร้างคำถาม ข้อคำถามมีลักษณะเป็นแบบร้อยละ ประมาณค่า 2ระดับ คือ  มีผลกระทบ และไม่มีผลกระทบ  

ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า ข้อคำถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามเกณฑ์ของ ลิเคอร์ท (Likert Scale) คือ  มากที่สุด  มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

ตอนที่ 4 ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้ามีลักษณะคำถามแบบปลายเปิด เพื่อสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบางกระเจ้า

2.2 แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยกับการบริหารการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชน แบบร่างแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก

 

ผลสรุปการวิจัย

          ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ผลการวิเคราะห์ทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแสอบถาม จำนวน 143 ชุด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 45 – 54 ปี มากที่สุด มีสถานภาพ สมรส มากที่สุด อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มากที่สุด สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด และมีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 – 10,000 มากที่สุด

          ตอนที่ 2 ปัญหาและผลกระทบการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

                    2.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 112 เห็นว่า ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดี และกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนเพิ่มมากขึ้น

                   2.2 ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 148 เห็นว่า วัฒนธรรมคนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง

2.3 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 110 เห็นว่า มีขยะมูลฝอยตามแม่น้ำ ลำคลอง เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยว

ตอนที่ 3 การบริหารการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

                   3.1 ด้านกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีการวางแผนกลยุทธ์มีความพึงพอใจในระดับมาก คือ มีการวางแผนตามนโยบาย ( = 3.16)

                   3.2 ด้านโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ คือ มีโครงสร้างการบริหารจัดการและ  มีการจัดการบริหารตามหน้าที่โดยมีค่าเฉลี่ย (  = 3.15) และ   ( = 3.13)

                   3.3 ด้านระบบ ผลการวิจัยพบว่า ระบบของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมาก ( = 3.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ คือ มีระบบในการดำเนินการ โดยมีค่าเฉลี่ย (  = 3.17)

                   3.4 ด้านบุลากร ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย (  = 3.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ คือ บุคลากรมีความอดทนโดยมีค่าเฉลี่ย (  =3.42)

                   3.5 ด้านทักษะ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ คือ มีความรู้ ความสามารถ โดยมีค่าเฉลี่ย (  =3.45)

                   3.6 ด้านรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมาก ( = 3.31) เมื่อพิจารณาเป็นราย คือ มีการจัดรูปแบบในการปฏิบัติงานโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.33)

                   3.7 ด้านการแลกเปลี่ยน ผลการวิจัยพบว่า การแลกเปลี่ยนของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมระดับมาก ( = 3.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ คือ มีการถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชน ( = 3.40)

อภิปรายผล

          จากการวิจัยเรื่อง ผลกระทบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประเด็นที่ควรนำมาอภิปรายดังนี้

จากการศึกษาพบว่า การบริหารการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ด้านกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมชุมชนมีความพึงพอใจระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านทักษะการบริหาร โดยค่าเฉลี่ย ( = 3.43) ด้านที่ต้องปรับปรุง คือ กลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยค่าเฉลี่ย  (  = 3.10) ซึ่งสอดคล้องกับ พูนทรัพย์ สวนเมืองตุลาพันธ์ (2546) ศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีทัศนคติที่ไม่ดีกับการท่องเที่ยวที่ผ่านมา เนื่องจากชุมชนเชื่อว่า การท่องเที่ยวที่ผ่านมาทำลายความเข้มแข็งและวัฒนธรรมของชุมชน นอกจากนี้รัฐยังเข้ามามีบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวแทนประชาชน ชุมชนโดยส่วนใหญ่ไม่รู้จักการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน แต่ก็คาดหวังการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนจะช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้ ถ้าชุมชนจะจัดการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง วัตถุประสงค์อันดับแรกที่ชุมชนต้องการคือการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน อันดับที่สองคือการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ส่วนการเผยแพร่ของดีของชุมชนและการศึกษาร่วมกันของชุมชนเป้าหมายกับ นักท่องเที่ยวเป็นวัตถุประสงค์อันดับรองลงมาและ สุชาดา งวงชัยภูมิ (2551, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า

1. พัฒนาการของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท มีวิวัฒนาการและการสั่งสมประสบการณ์การจัดการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 3ยุคคือ 1) ยุคเริ่มต้นการพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านตัวอย่างซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ไม่มีแบบแผนชัดเจน 2) ช่วงการค้นพบซากโบราณวัตถุและการพัฒนาชุมชนไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว และ 3) ช่วงการเริ่มนำการจัดการมาใช้ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ

2. ลักษณะการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาทในปัจจุบัน ประกอบด้วย องค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานรัฐ และองค์กรการพัฒนา ส่วนที่สองเป็นหน่วยงานภายในชุมชนประกอบด้วย คณะกรรมการ แหล่งที่พักชุมชนบ้านปราสาท และกลุ่มเครือข่ายอาชีพหรือศูนย์การเรียนรู้ซึ่งเป็นบุคคลภายในหมู่บ้าน จะแบ่งแยกหน้าที่รับผิดชอบและการจัดการเป็นกลุ่มทำงานด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนกันและกัน ผลจากการศึกษาพบว่า สามารถจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ดีตามศักยภาพของชุมชน

3. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่าชุมชนสามารถจัดการด้านการท่องเที่ยวชุมชนได้ดีตามศักยภาพชุมชนแต่จะต้องรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีๆและวิถีการดำรงชีวิตในรูปแบบที่ได้สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษให้คงอยู่ มีการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานและต้องการให้มีการพัฒนาปรับปรุงการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

4. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท พบว่า นักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับสูง แต่ยังต้องการที่จะให้มีการปรับปรุงการให้บริการของชุมชนในจุดต่างๆ ให้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

5. แนวทางในการพัฒนาการจัดการที่เหมาะสมคือ ควรจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนการท่องเที่ยวประจำปี ควรจัดทำคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวและคณะกรรมการชุมชน ควรมีการจัดเวทีสัมมนาเพื่อประชุมสรุปผลงานและทำการประเมินผลอย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ควรมีการมอบหมายงานโครงการในด้านประชาสัมพันธ์ และการตลาดให้มีความชัดเจน มีการจัดการแก้ไขปัญหาในระยะยาว รวมทั้งพัฒนาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มต่างๆ และหาตลาดรองรับสินค้าของชุมชนให้เพียงพอและจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านปราสาทให้เป็นลักษณะการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาและควรให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่รุ่นหลัง

          4. ข้อเสนอแนะของชาวบ้านในชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

          ผลการศึกษาพบว่า มีชาวบ้าในชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ เขียนข้อเสนอแนะและแนะนำในการประเมินผลครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ชาวบ้านต้องการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลชาวบ้านให้ทั่วถึง คนในท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีการรองรับต่อนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

          5.ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

          จากผลการศึกษาที่ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปคือ การศึกษาด้านศักยภาพและการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อนำเสนอโปรแกรมการท่องเที่ยวหรือเส้นทางการท่องเที่ยว

เอกสารอ้างอิง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองสถิติและววิจัย. (2526). รายงานวิจัยเรื่องผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อประชนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

กษมา  ประจง. (2546). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : สถาบัน     ราชภัฏเลย.

ฆนรุจ  มิ่งเมธาพรและคณะ. (2557). โครงการวิจัยย่อยที่ 1 เรื่องการศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนและแนวทางในการผลักดันให้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้รับการบรรจุเข้าเป็นมาตรฐานระดับชาติ กรณีศึกษาประเทศไทย. ชุดโครงการวิจัย: การพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับภูมิภาคอาเซียนสู่ความเป็นสากล. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชรินทร์พรรณ  อะสีติรัตน์. (2553). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับวิถีชีวิตชุมชน กรณีศึกษา  ตลาดน้ำอัมพวา : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธันยพร  วณิชฤทธา. (2550). การจัดการความรู้ในชุมชน กรณีศึกษาด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พูนทรัพย์ สวนเมืองตุลาพันธ์ (2546)

พูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ . (2546). รูปแบบในการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

บุษบา  สิทธิการ. (2544). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านแม่กลางหลวง            ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปิยวรรณ  คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยังยืนที่เกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี : สาขาวิชาการวางแผน และการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชาดา งวงชัยภูมิ . (2551). การจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านประสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยังยืนบนเส้นทางสีเขียว กรณีศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

วิภา  ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุทัยวรรณ  ภู่เทศ. (2556). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวบึบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 32(2) : 177 – 185.

 

[1] นักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[2] อาจารย์สาขาการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา