ปริทัศน์หนังสือ (Book Review) วรรณวดี ชัยชาญกุล Wanwadee Chaichankul ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2551). อุดมศึกษาโลกาภิวัฒน์ : รายงานการศึกษาดูงานและ การประชุมวิชาการทางการอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2551). อุดมศึกษาโลกาภิวัฒน์ : รายงานการศึกษาดูงานและการประชุมวิชาการทางการอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชีวิตในทางวิชาการของผู้เขียนอาจจะกล่าวได้ว่า มีโอกาสดีพอสมควรที่ได้มีส่วนร่วมในวงวิชาการทางอุดมศึกษาอยู่อย่างสมำา่เสมอทั้งในประเทศและต่างประเทศควบคู่กันไป   หลายครั้งที่ผู้เขียนได้ไปร่วมประชุมและดูงานดังกล่าวแล้วก็ได้กลับมาเขียนเป็นบทความ รายงาน สิ่งที่ได้ร่วมประชุม สิ่งที่ได้ดูงาน และสิ่งที่เป็นข้อคิดข้อสังเกตต่างๆ ไว้ เมื่อประมวลดูแล้ว ก็คิดว่าเนื้อหาสาระต่างๆ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผุ้อ่านในวงกว้าง เพื่อการเรียนรู้โลกที่กว้างขึ้น อันจะนำาไปสู่ความเข้าใจตัวเราที่กว้างขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน   สิ่งที่ใคร่เน้นเป็นพิเศษจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนานาชาติก็คือ ทุกคน และทุกประเทศเขามุ่งมั่นพัฒนาอุดมศึกษาของเขากันอย่างมาก ซึ่งเราจะเรียนรู้ได้อย่างดี เพียงแต่เราให้ความสนใจความเป็นนานาชาติและโลกาภิวัตน์อย่างลึกซึ้ง เข้มข้น และจริงจังน้อยเกินไป”

ข้อความข้างต้น คัดตัดตอนมาจาก “คำนำ” ในการพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2546

บทนำ
ข้าพเจ้าได้เลือกปริทัศน์หนังสือ อุดมศึกษาโลกาภิวัตน์ฯ ดังกล่าว ด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการ
ด้วยว่าการศึกษา คือ การพัฒนามนุษย์ สถานศึกษาจึงเป็นแหล่งสำาคัญที่สามารถจัดการศึกษาตอบสนองวัตถุประสงค์ของการพัฒนามนุษย์ได้ในระดับหนึ่ง   อีกทั้งมนุษย์มีความผูกพันกับสถานศึกษาตั้งแต่เด็กจนโต เกิดจนตาย ไม่ว่า จะเป็นบ้านวัด โรงเรียน และมหาวิทยาลัย ล้วนแต่เป็นภูมิหลังอันสำาคัญที่กำาหนดสิ่งแวดล้อม พัฒนาการ และสังคมของบุคคลนั้นเป็นเหตุผลประการหนึ่ง และในปัจจุบันกระแสการปฏิวัติปฏิรูปการอุดมศึกษาในปัจจุบันกำาลังมาแรง แม้ในทศวรรษที่ผ่านมาการเพิ่มของ
มหาวิทยาลัยนับร้อยแห่ง น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องยินดี และเป็นความหวังของประเทศที่ประชาชนมีภูมิรู้ถึงขั้นบัณฑิตกันถ้วนหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่าจับตาและประหวั่นวิตกถึงทิศทางและคุณภาพการจัดการ อันเป็นเหตุผลสำาคัญอีกประการหนึ่ง
ที่ควรนำา หนังสืออุดมศึกษาโลกาภิวัตน์: รายงานการดูงานและการประชุมวิชาการทางการอุดมศึกษา ของ ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ มาพินิจพิจารณาเป็นแนวทาง(แก้ปัญหา)

ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์
จากที่เคยเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ นอกเหนือจากความเป็น “ครู” ท่านยังเป็นปราชญ์ทางการศึกษา ให้ภาพและวิสัยทัศน์ของนักบริหารการศึกษามืออาชีพที่ – เก่ง – ดี – มีความพร้อม ทุกคราวที่มีการอภิปรายหัวข้อการศึกษาของประเทศ จะต้องปรากฏชื่อนักวิชาการนักบริหารการศึกษาอย่างศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เสมอ ด้วยความคิดเห็นตรงประเด็นอย่างเป็นที่ยอมรับ เช่นท่านได้ให้ความคิดต่อการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยไว้ว่า ต้องเร่งทำความเข้าใจว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยกำาลังปฏิบัติภารกิจใดอยู่หรือรับใช้สังคมได้มากเพียงใด อีกทั้งเป็นผู้นำาของโลกได้หรือไม่ มหาวิทยาลัยต้องสร้างจุดยืนและความเข้าใจในการออกนอกระบบให้ชัดเจนเสียก่อน หลังจากนั้น ตัวระบบ วิธีการและข้อบังคับต่างๆก็จะถูกกำาหนดตามมาเอง ท่านได้ให้ความคิดเห็นนี้ไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว  เป็นวิสัยทัศน์การมองไกล และวิธีคลายปมปัญหาที่ง่ายแต่เฉียบ แต่จนทุกวันนี้ดูเหมือนว่ามหาวิทยาลัยยังตอบคำถามที่ท่านเสนอไว้ไม่ได้

เนื้อหาใน “อุดมศึกษาโลกาภิวัตน์: งานการดูงานและการประชุมวิชาการทางการอุดมศึกษา”
ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้เขียนบทความ และหนังสือนับร้อยเล่มที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา แต่หนังสือ “อุดมศึกษาโลกาภิวัตน์: งานการดูงานและการประชุมวิชาการทางการอุดมศึกษา” มีความแตกต่างจากงานเขียนเล่มอื่นๆ ที่สะท้อนความคิด ประสบการณ์หลากหลายจากการประชุมศึกษาดูงานอุดมศึกษานานาชาติ ซึ่งผู้เขียนตั้งใจจัดลำาดับเรื่องด้วยเส้นทางการเดินทางดังนี้
         1. เน้นประเทศที่ใกล้ตัว คือ ลาว เขมร เวียดนาม แล้วจึงขยายไป จีน อินเดียเกาหลี ญี่ปุ่น แล้วจึงข้ามไป ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาและแคนาดาตามลำาดับ เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของการอุดมศึกษาจากการศึกษาเปรียบเทียบสู่ความเป็น
นานาชาติและสู่โลกาภิวัตน์อย่างชัดเจน
         2. สอดแทรกสถานที่สำาคัญของแต่ละประเทศไว้ ทำาให้การอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นวิชาการผสมผสานกับความรู้ทั่วไป
และ  3. ในจำานวนประเทศที่ผู้เขียนเข้าร่วมประชุม และนำาเสนอเป็นบทความไว้จำานวน 32 เรื่อง ข้าพเจ้าได้จำาแนกบทความรายงานของประเทศต่างๆ ดังนี้ คือ

ประเด็นหลักของอุดมศึกษาโลกาภิวัตน์
จากเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวสามารถสรุปวิเคราะห์และนำาเสนอเป็นประเด็นหลักดังนี้
         1. แนวคิดทฤษฎีหลักต่อสถานการณ์อุดมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงของประเทศในเอเซียน
         2. ผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทยในแต่ละแนวคิด

1. แนวคิดทฤษฎีหลักต่อสถานการณ์อุดมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงของประเทศในเอเซียน
จากการได้เข้าร่วมประชุม ผู้เขียนได้สรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า มหาวิทยาลัยในเอเซียนกำาลังเคลื่อนตัวไปสู่แนวทางใหม่ชัดเจน มีลักษณะของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ คือรูปแบบ โครงสร้าง แนวทางตามทิศทางทฤษฎีหลัก 5 ประการสำาคัญ ซึ่ง
ข้าพเจ้าขอวิเคราะห์สรุปดังนี้คือ
     1.1 แนวคิดของโลกาภิวัตน์ (Globalization)
           1.1.1 มีลักษณะความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากขึ้น

           1.1.2 มีการเปรียบเทียบแข่งขัน ยกฐานะเป็น World Class U  iversity มากขึ้น
     1.2 แนวคิดของระบบเศรษฐกิจโลก (World Trade Organization)
           1.2.1 มีลักษณะเศรษฐกิจตลาดเสรี (Market Economy)
           1.2.2 มีการตอบสนองเปิดสาขาตามที่ตลาดต้องการ (Training Needs)
     1.3 แนวคิดการบริหารจัดการระบบธุรกิจ (Business Management)
           1.3.1 มองการคุ้มทุนเป็นธุรกิจศึกษา
           1.3.2 ประเมินประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์วัด ISO
     1.4 แนวคิดความเป็นอิสระ (Autonomous University)
           1.4.1 มีการดำาเนินการตามแนวทางธุรกิจ มีอิสระในการดำาเนินงาน(Autonomy)
           1.4.2 มีการบริหารจัดการกันเองภายใน (Corporate Organization)
     1.5 แนวคิดของความเท่าเทียมกัน (Equalization)
           1.5.1 มีการขยายตัวทางอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง (Mass Education)
           1.5.2 มีการขยายสาขาวิชา และมหาวิทยาลัย (Campus Organization)

จากแนวคิดหลักของการเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาในเอเซียนนี้ ผู้เขียนได้เน้นว่าญี่ปุ่น จีน เกาหลี เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเชีย ไปได้ไกลแล้ว โดยเฉพาะประเทศจีนและเวียดนามแม้จะนำาการศึกษาของประเทศสู่แนวคิดสากลแต่ก็ยังรักษาวัฒนธรรม
ของตนไว้อย่างน่าชื่นชม (ซึ่งผู้เขียน คือศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เขียนหนังสือนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546) ไว้ว่า
“ ตอนนี้ เวียดนาม จีน ดูเหมือนกระโจน สู่ระบบฝรั่งเลย แต่เมื่อมีผู้ถามเขาว่า คิดอย่างไรเกี่ยวกับ Traditional Culture and Value เขาบอกว่าไม่ห่วง เขามีวัฒนธรรมและค่านิยมของเขานานพอ แข็งพอ 5,000 – 6,000 ปี มาแล้ว ที่จะรองรับการปะทะทางสังคม และเชื่อว่าถ้ารับสิ่งเหล่านั้นเข้า อย่างไรก็ยังเป็นจีนอยู่ ……. จีนเขาจะมีวิธีคิด และวิธีรักษาวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา มีการ
เจรจาต่อรอง จะสะท้อนออกมา เขามีความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมของเขา เขามีความแข็งแก่งพอ จีนไปอยู่ China Townที่ไหน ยังไงก็เป็นจีน จีนเขาทำได้เพราะวัฒนธรรมเขาแข็งพออย่างที่กล่าวมา แต่วัฒนธรรมไทยเรา คนไทยเรา และการศึกษาไทยเราแข็งพอหรือไม่ ตรงนี้ยังน่าเป็นห่วงแต่สิ่งที่จะขาดและละเลยเสียไม่ได้ คือการที่ไทยเราต้องศึกษาโลกอย่างจริงจังควบคู่กับการศึกษาของเราเอง นั่นแหละทางเลือกใหม่จึงจะเกิดได้”

2. ผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทยในแต่ละแนวคิด
ผู้เขียนได้สรุปแนวคิดหลักของโลกาภิวัตน์ที่มามีอิทธิพลต่อการดำาเนินงานในเรื่องอุดมศึกษาของไทย ดังนี้
      2.1 Managerialism คือการบริหารจัดการแนวใหม่ เน้น Strong Executive ที่ต้องมีผู้บริหารจัดการเต็มที่
      2.2 Stake Holder คือ Customer Oriented ลูกค้าเป็นสำาคัญ ถ้าขายแล้วไม่มีคนซื้อ อาจารย์ก็ปิดหลักสูตรไป ดูที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ
      2.3 Market Lead คือต้องเอาตลาด เศรษฐกิจเป็นตัวนำา
      2.4 Profit Driven คือ มีผลกำาไรเป็นแรงผลักดัน
      2.5 User Paid คือผู้เรียนเป็นผู้จ่าย
โดยได้สรุปประเด็นผลกระทบดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง กล่าวคือ
1. ความเปลี่ยนแปลงกำาลังเกิดขึ้น หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว อยู่ที่ว่าสังคมไทยได้ทำาความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเพียงพอหรือไม่ หรือเพียงแต่สนใจบางด้านซึ่งทำาให้มองไม่เห็นภาพรวม
2. ประเทศไทยสนใจการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งหรือไม่ ได้คำานึงถึงข้อดี ข้อเสียข้อจำากัดหรือผลกระทบชัดเจนหรือไม่ เช่น การทำ contract กับอุดมศึกษาต่างประเทศ ทำาให้อุดมศึกษาไทยมีชื่อเสียงขึ้นจริงหรือไม่
3. วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไป ทำาให้วัฒนธรรมของคนเปลี่ยน ทำาให้วัฒนธรรมนักศึกษาเปลี่ยน และทำให้วัฒนธรรมของสังคมเปลี่ยนไป ตัวเหล่านี้ประเทศไทยคำนึงถึงผลกระทบมากน้อยแค่ไหน

ผู้เขียนเสนอทุกมุมมองอย่างตรงประเด็นปัญหาของ “การจะรับมา” ทั้งทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมความเป็นอยู่จากแนวคิดโลกาภิวัตน์พร้อมทั้งเปรียบเทียบอดีตของสังคมไทยและอดีตของมหาวิทยาลัย ไทยไว้ว่า “เราเติบโตพัฒนามาด้วยความรอบคอบ รอบด้าน มองประเด็นอย่างลึกซึ้งพอสมควร และใช้traditional Style คือ กลั่นกรอง เลือกสรร ประยุกต์ทั้งแนวคิดและแนวทางเพื่อมหาวิทยาลัยไทยพอสมควรทีเดียว….เราได้ทำาอย่างนี้อยู่หรือเปล่า ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้อย่างจริงจัง เราจะเข้าสู่อาณานิคมทางปัญญา อาณานิคมทางวัฒนธรรมอาณานิคมทางการศึกษา…ซึ่งรุนแรง รุกเร้าและเร่งรัดเราอย่างมาก และถ้าเราเข้าสู่อาณานิคมเหล่านี้โดยไม่รอบคอบในที่สุดกว่าจะรู้ตัวก็จะสาย” อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ กล่าวประโลมว่า คนไทยและนักวิชาการของไทยมีความตื่นตัวในบทบาทนานาชาติ นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีเพราะโดยพื้นฐานของอุดมศึกษามีความเป็นนานาชาติในตัวอยู่แล้ว นอกจากนี้มหาวิทยาลัยล้วนแต่ทำาหน้าที่หลัก 3 ประการเสมอคือการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การสอนด้วยความรู้ที่วิจัยนั้น และการบริการวิชาการด้วยความรู้ที่วิจัยพบและผ่านการทดสอบในห้องเรียนมาแล้ว ซึ่งประเด็นปัญหา และแนวทางออกของปัญหา ที่ ผู้เขียนระดับปราชญ์ ได้ปุจฉาวิสัชนาไว้อย่างแยบยลนั้น ทำาให้หนังสือ “อุดมศึกษาโลกาภิวัตน์” ไม่ตกยุค

เอกสารอ้างอิง
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2546). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย.
กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำาราและเอกสาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
_____________. (2546). อุดมศึกษาโลกาภิวัตน์: รายงานการดูงานและประชุม
วิชาการทางการอุดม ศึกษาในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำาราและ
เอกสาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_____________. (2551). อุดมศึกษาโลกาภิวัตน์: รายงานการดูงานและประชุม
วิชาการทางการอุดม ศึกษาในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำาราและ
เอกสาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย