ประเด็นท้าทายในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรกรรมวิธีทางการแพทย์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันที่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การประดิษฐ์ที่เป็นผลลัพธ์การการวิจัยและพัฒนาเหล่านี้ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ กอปรกับอุตสาหกรรมการแพทย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินได้จำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่เคยปฏิเสธการให้ความคุ้มครองแก่กรรมวิธีทางการแพทย์จึงได้ปรับเปลี่ยนท่าทีที่มีต่อการประดิษฐ์ดังกล่าวและกำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อผ่อนปรนความเคร่งครัดของกฎหมายให้สามารถขอรับสิทธิบัตรกรรมวิธีทางการแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม แม้การให้ความคุ้มครองแก่กรรมวิธีทางการแพทย์จะส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการให้สิทธิบัตรแก่กรรมวิธีทางการแพทย์ย่อมนำมาซึ่งอำนาจผูกขาดที่อาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการรักษาโรคของประชาชน และสร้างภาระค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขให้แก่ประเทศ
ได้เช่นกัน ทั้งนี้ หากพิจารณาการแนวทางการให้ความคุ้มครองกรรมวิธีทางการแพทย์ภายใต้ระบบสิทธิบัตรของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองแก่การคิดค้นที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคในมนุษย์และสัตว์ ทั้งยังปฏิเสธการให้ความคุ้มครองแก่การใช้วิธีใหม่ของสารประกอบทางเคมีหรือผลิตภัณฑ์ยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ บทความฉบับจึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอประเด็นท้าทายและแนวทางที่เป็นไปได้ในการให้ความคุ้มครองกรรมวิธีทางการแพทย์ โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่ข้อสรุปในการการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 รวมทั้งคู่มือพิจารณา
คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร ฉบับปี พ.ศ. 2562 ที่จะกำหนดขอบเขตการให้ความคุ้มครองกรรมวิธีทางการแพทย์อย่างชัดเจนภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมที่จะสร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของผู้ประดิษฐ์และประโยชน์สาธารณะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : สิทธิบัตร, การประดิษฐ์, กรรมวิธีทางการแพทย์, นวัตกรรมทางการแพทย์

ประเด็นท้าทายในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรกรรมวิธีทางการแพทย์