บรรณาธิการข่าวออนไลน์ กับกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ .(2563).บรรณาธิการข่าวออนไลน์ กับกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย.วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์,24(3), 238-248. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/245054/166206

 

บรรณาธิการข่าวออนไลน์ กับกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

Online News Editor and Computer Crime Law in Thailand ——————————————————————–

เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ.สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา Saowalak Srisuwan. Department of Mass Communication. Bansomdejchaopraya Rajabhat University.Corresponding author, Email :[email protected]

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “บรรณาธิการข่าวออนไลน์ กับกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย” มุ่งศึกษากรณีการฟ้องร้องบรรณาธิการข่าวออนไลน์ หลังมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2550 เพื่อชี้ให้เห็นถึงการนำเสนอข่าวสาร ที่เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน โดยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัยสรุปเป็น 3 ประเด็น คือ หนึ่งจุดยืนเกี่ยวกับบทบาทในการรายงานข่าวออนไลน์ พบว่าสำนักข่าวออนไลน์มีจุดยืนในการทำงานแตกต่างกัน สอง บรรณาธิการข่าวออนไลน์ที่ตกเป็นจำเลยคดีความเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีทั้งแอดมินเพจ ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าวออนไลน์ ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ส่วนโจทย์ที่ฟ้องบรรณาธิการข่าวออนไลน์มีทั้งบุคคล บริษัท หน่วยงานราชการ รวมทั้งสื่อฟ้องร้องสื่อกันเอง ข้อหาที่ฟ้องร้องคือ หมิ่นประมาท กระทบต่อความมั่นคง เผยแพร่ส่งต่อข้อความละเมิดกฏหมาย จงใจสนับสนุนยินยอมให้เผยแพร่ข้อความละเมิดกฎหมาย และสามมุมมองเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2560 พบว่าแม้จะตัดปัญหาฟ้องหมิ่นประมาท แต่เพิ่มข้อหาใหม่ซึ่งยังเป็นเครื่องมือในการเอาผิดจากการแสดงความคิดเห็น หรือเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะในโลกออนไลน์ คำสำคัญ:  ออนไลน์ บรรณาธิการข่าวออนไลน์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

Abstract This research entitled “Online News Editor and Computer Crime Law in Thailand” aimed to investigate the case study of suing online news editors after the enforcement of Computer Crime Act B.E. 2550 (2007) to indicate the news report within the scope of offences  under Computer Crime Act relating to mass media. This study used qualitative research and in-depth interview as methodology. The results of this study could be summarized into three main issues. Firstly, for the role of online news reporting, news agencies had different working positions. Secondly, online news editors who had been accused of defendants in the cases under Computer Crime Act B.E. 2550 included Facebook page administrators, journalists, online editors, web hosting providers, and webmasters. Online news editors were sued by plaintiffs including individuals, companies, government agencies, and even news agencies. The charges included defamation, security-related offence, publishing and forwarding illegal messages, willful support for publishing illegal messages. Thirdly, for the perspective of Computer Crime Act (No. 2) B.E. 2560 (2017), despite removal of defamation issue, new charges will be added as a tool to punish the offender expressing illegal comment or publishing illegal information to the public via online.

Keywords: Online ,Online news editors, Computer Crime