บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review): ราชันผู้พลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง

เป็นหนังสือที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์พม่า เล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์พม่าสมัยหลังในยุคของพระเจ้ามินโดง (Mindon, ค.ศ.1853-1875/พ.ศ.2396-2418) และพระเจ้าธีบอ (Thibaw, ค.ศ. 1875-1885/พ.ศ.2418-2428) ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งสองกษัตริย์ผู้ครองกรุงมัณฑะเลย์นี้ เป็นยุคสุดท้ายของการปกครองโดยระบอบกษัตริย์ ก่อนที่พม่าจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอินเดีย (British India Empire) เมื่อ ค.ศ.1885 ยังผลให้พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต กษัตริย์และราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองของพม่าสูญสิ้นพระราชอำนาจลงพร้อมกับการเข้ายึดครองของอังกฤษ กษัตริย์ผู้เยาว์ชันษาและครอบครัวถูกส่งไปพำนักยังชนบทอันห่างไกลในอินเดีย เพื่อตัดโอกาสฟื้นราชบัลลังก์ หลายทศวรรษผ่านไป ทายาทราชนิกุลรุ่นต่อๆ มารับรู้เรื่องชาติกำเนิดของตนต่างกันออกไป บ้างโหยหาความรุ่งโรจน์ของวันวาน บ้างปล่อยวางไปตามวิถีของผู้แพ้ บ้างขมขื่นจากสถานะและข้อผูกมัดที่จำกัดเสรีภาพแห่งชีวิตและจิตใจ  เขียนโดย สุดาห์ ซาห์ (Sudha Shah) เธอเป็นนักวิชาการอิสระที่สนใจประเด็นความเป็นมนุษย์ และเป็นชาวอินเดีย อดีตอาณานิคมอังกฤษเช่นเดียวกัน จึงนับว่า ราชันผู้พลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง เล่มนี้ เป็นแหล่งข้อมูลที่เข้มข้นเจาะลึก ละเอียดรอบคอบ และวางตัวเป็นกลาง เพราะถ่ายทอดโดย “คนนอก” ของเหตุการณ์  

อ่านต่อ…