พัฒนาการและปัญหาของข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ตามมาตรา 32/3 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกาและไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้บิททอเรนต์โปรโตคอล โดยเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสวีเดน โดยเป็นการศึกษาจากหนังสือ ตำรา และเอกสาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 สามารถกำหนดความรับผิดเกี่ยวกับการใช้งานบิททอเรนต์ได้ในหลายกรณี อย่างไรก็ตาม กลับไม่อาจกำหนดความรับผิดแก่ผู้ให้บริการบิททอเรนต์ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้ ต่างจากกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้หลักการละเมิดโดยการสนับสนุน (Contributory Infringement) หรือความผิดฐานจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิด (Intentional Inducement Theory มาปรับแก่กรณีนี้ได้ และในกรณีของประเทศสวีเดนสามารถนำหลักการสนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้แก่กรณีได้  นอกจากนี้ มาตรา 32/3 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังไม่เป็นไปตามหลัก Safe Harbor หรือหลักการจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต[1]  และเป็นที่ชัดเจนว่ายังมีช่องว่างหลายประการไม่ทันต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการกำหนดความรับผิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านบิททอเรนต์โปรโตคอล โดยผู้ศึกษาเห็นว่า สามารถนำบทบัญญัติมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้กับกรณีความรับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์บิททอเรนต์ได้ และควรมีการแก้ไขมาตรา 32/3 เพื่อให้เป็นไปตามข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ความคุ้มครองผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผู้สุจริตได้อย่างเต็มที่

คำสำคัญ: บิททอเรนต์, ลิขสิทธิ์, ความรับผิด, ผู้ให้บริการ, ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

พัฒนาการและปัญหาของข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ตามมาตรา 32/3 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกาและไทย