ความเชื่อในอำนาจแห่งตนของนักศึกษาฝึกสอน Sef-Efficacy Beliefs for Preservice Teacher

ในการผลิตบัณฑิตครูการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนับกระบวนการที่สำคัญที่ทำให้นักศึกษารอบรู้ในหน้าที่การงานของการเป็นครู และในส่วนของนักศึกษาเองก็ถือเป็นก้าวแรกของการทำหน้าที่ครูอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหากนักศึกษาสามารถทำหน้าที่ได้ดีก็จะส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจ เกิดความรักในอาชีพการงานของตน และมีแรงผลักดันที่จะพัฒนาตนให้ดียิ่งขึ้น ผลลัพธ์คือบัณฑิตครูที่มีคุณภาพตามที่หลักสูตรผลิตครูตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาฝึกสอนปฏิบัติหน้าที่ได้ดีคือความเชื่อในความสามารถแห่งตน (self-efficacy beliefs) (Bundura, 1997) ซึ่งคือความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถปฏิบัติหน้าที่ครูตามที่ได้รับมอบหมายลุล่วงได้ด้วยดี

 

มีหลักฐานชัดเจนว่าความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนของนักศึกษาครูยังส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ครู ในหลายมิติ เช่นในด้านของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน Morre และ Esselman (1992) และ Ross (1992) รายงานว่าความเชื่อในความสามารถแห่งตนของผู้สอนส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน Capara et.al. (2003) พบว่าผู้ที่มีความสามารถแห่งตนสูงจะมีแนวโน้มที่จะพึงพอใจต่อหน้าที่การงานของตนเองมากกว่า ซึ่งตามหลักอิทธิบาท 4 แล้วเมื่อเกิดฉันทะ ก็จะเกิดวิริยะ จิตตะ วิมังสา ตามมา สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Coladarci (1992) ที่พบว่าครูที่มีความเชื่อในความสามารถแห่งตนจะมีความมุ่งมั่นในการสอนมากกว่า Allinder (1994) รายงานว่าผู้ที่มีความเชื่อในความสามารถแห่งตนจะมีการวางแผนและการจัดการงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดี และ Gibson และ Demmo (1984) กล่าวว่าครูที่มีความเชื่อในความสามารถแห่งตนจะมีความอดทนในการพยายามอบรมสั่งสอนมากกว่าเมื่อต้องเผชิญกับนักเรียนที่มีแนวโน้มที่จะมีปัญหา

 

ความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัย 4 ปัจจัยได้แก่ 1) ประสบการณ์จากความสำเร็จ (mastery experience) กล่าวคือหากนักศึกษาฝึกสอนทำภารกิจได้สำเร็จลุล่วงก็จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น แต่ถ้าล้มเหลวจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลง เช่นนักศึกษาฝึกสอนที่พยายามจะควบคุมชั้นเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ หากทำแล้วได้ผลนักศึกษาฝึกสอนก็จะมีความมั่นใจในการควบคุมชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น 2) ประสบการณ์จากการเห็นแบบอย่างที่สำเร็จ (vicarious experience) คือนักศึกษาฝึกสอนจะมีความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนมากขึ้นหากเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เคยเห็นแบบอย่างมาก่อนหน้า เช่นนักเรียนที่เคยเข้าร่วมค่ายวิชาการที่จัดแล้วประสบความสำเร็จ ต่อมากนักเรียนคนนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องจัดค่ายวิชาการในลักษณะที่คล้ายคลึงกันก็จะมีความเชื่อมั่นมากกว่าคนที่ไม่มีประสบการณ์เลย และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่จะต้องมีการสังเกตการสอนก่อนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3) การชักนำทางคำพูด (verbal persuasion) เกิดจากการกระตุ้นให้กำลังใจว่าจะสามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสำเร็จลุล่วง เช่นอาจารย์นิเทศก์ที่ไปนิเทศนักศึกษาฝึกสอนหากมีการพูดโน้มน้าวให้กำลังใจนักศึกษามักทำการสอนได้ดีกว่านักศึกษาฝึกสอนที่กังวลว่าจะเกิดความผิดพลาดในการสอนเมื่ออาจารย์นิเทศก์ที่เข้มงวดเข้ามาสังเกตการสอน อย่างไรก็ดีการชักนำทางคำพูดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วยจึงจะเกิดความมั่นใจได้ หากอาจารย์นิเทศก์ให้กำลังใจนักศึกษาแต่ถ้านักศึกษาเคยสอนพลาดมาหลายครั้งคือขาดประสบการณ์จากความสำเร็จ การโน้มน้าวด้วยคำพูดก็อาจจะไม่ส่งผลเท่าใดนัก 4) สภาพร่างกายและจิตใจ (physical and affective states) แน่นอนว่าสภาพร่างกายและจิตใจย่อมส่งผลอย่างมากต่อความมั่นใจ แม้นักศึกษาฝึกสอนจะเคยประสบความสำเร็จในการสอนหลายครั้งแต่ถ้าโดยพื้นฐานแล้วเป็นคนวิตกกังวลก็อาจจะไม่ส่งผลบวกต่อความเชื่อมั่นในตนเองเท่าที่ควร หรือนักศึกษาฝึกสอนที่ควบคุมชั้นเรียนเก่ง ๆ ถ้ามีอุปสรรคด้านร่างกายเช่นมีอาการเจ็บคอก็จะส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นในการควบคุมชั้นเรียน

 

ในการวัดระดับของความเชื่อมั่นในอำนาจแห่งตนของนักศึกษาฝึกสอนอาจแบ่งออกเป็น 3 มิติได้แก่ ด้านการสอน ด้านการควบคุมชั้นเรียน ด้านการดูแลนักเรียน โดยอาจจะใช้ข้อคำถามในลักษณะดังนี้
ด้านการสอน:
–        คุณสามารถหาตัวอย่างที่หลากหลายหรือหาคำอธิบายอย่างอื่นในกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจในคำสอน
–        คุณสามารถดำเนินการสอนได้อย่างราบลื่น
ด้านการควบคุมชั้นเรียน
–        คุณสามารถรับมือกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
–        คุณสามารถรับมือกับนักเรียนที่ส่งเสียงดังรบกวนการเรียนได้
ด้านการดูแลนักเรียน
–        คุณมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดูแลนักเรียนที่ไม่ส่งการบ้าน
–        คุณสามารถกระตุ้นในนักเรียนทบทวนบทเรียนได้
โดยอาจจะให้ผู้ตอบแบบสอบถามว่าเห็นด้วยในระดับใด
            จะเห็นได้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อในอำนาจแห่งตนของนักศึกษาฝึกสอนมีความสำคัญอย่างมากในหลักสูตรที่ทำการผลิตบัณฑิตครู ในหลักสูตรจึงควรมีการออกแบบกิจกรรมให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์จากความสำเร็จ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเห็นตัวอย่างการสอนที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการให้กำลังใจมีการวิจารณ์เพื่อการปรับปรุงอย่างสร้างสรรค์ และใส่ใจความเป็นอยู่ของนักศึกษาพอสมควร เพื่อให้นักศึกษามีความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการพัฒนาตนให้เป็นครูที่มีคุณภาพ ซึ่งความสำเร็จของนักศึกษาก็คือความสำเร็จของคณาจารย์ในหลักสูตรนั้นเอง

 

เอกสารอ้างอิง
Allinder, R. M. (1994). The relationship between efficacy and the instructional practices of
special education teachers and consultants. Teacher Education and Special Education,
17, 86-95.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.   
Bandura, A. (2006). Adolescent Development from an Agentic Perspective. In F. Pajares &
T. Urdan (Eds.), Self-efficacy beliefs of Adolescents (pp.1- 44). Connecticut:
Information Age Publishing.
Burke-Spero, R., & Woolfolk Hoy, A. (2003). Thick Description: A qualitative investigation
of Developing Teachers’ Perceived Efficacy. Unpublished manuscript, Ohio State
University.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2000). Research methods in education(5
th
 ed.).
London: Routledge/Falmer.
Caprara, G.V., Barbaranelli, C., Borgogni, L., & Steca, P. (2003). Efficacy beliefs as
determinants of teachers’ job satisfaction. Journal of Educational Psychology, 95,
821-832.
Commonwealth of Australia. (2007). Top of the Class: Report on the Inquiry Into Teacher
Education. Canberra: Commonwealth Government of Australia. 
Australian Journal of Teacher Education
Vol 36, 12, December 2011    57
 
Department  of  Education,  Science  and  Training  (DEST)  (2003).  Australia’s  Teachers:
Australia’s  future:  Advancing  innovation,  science,  technology  and  mathematics.
Canberra: DEST. 
Gibson,  S.,  &  Dembo,  M.  (1984).  Teacher  efficacy:  A  construct  validation.  Journal  of
Educational Psychology, 76(4), 569-582.
Gravetter, F. J., & Forzano, L-A, B. (2009). Research methods for the behavioural sciences.
Belmont, CA: Wadsworth Cengage.  
Hoy,  W.K.,  &  Woolfolk,  A.E.  (1990).  Socialization  of  student  teachers.  American
Educational Research Journal, 93, 279- 300.
Lortie,  D.C.  (1975).  Schoolteacher:  A  sociological  study.  Chicago:  University  of  Chicago
Press.
Moore, W., & Esselman, M. (1992). Teacher efficacy, power, school climate and
achievement: A desegregating district’s experience. Paper presented at the Annual
Meeting of the American Educational Research Association, San Francisco. 
Moseley, C., Reinke, K., & Bookour, V. (2003). The effect of teaching outdoor environment
education on elementary pre-service teachers’ self-efficacy. Journal of Elementary
Science, 15(1), 1–14.
Mulholland, J., & Wallace, J. (2001). Teacher induction and elementary science teaching:
Enhancing self-efficacy. Teaching and Teacher Education, 17, 243- 261.
Ross, J.A. (1992). Teacher efficacy and the effects of coaching on student achievement.
Canadian Journal of Education, 17(1), 51-65.
Smith,  T.  W.,  &  Strahan,  S.  (2004).  Toward  a  prototype  of  expertise  in  teaching:  A
descriptive Case study. Journal of Teacher Education, 55(4), 357–371.
Tschannen-Moran, M., Woolfolk Hoy, A., & Hoy, W.K. (1998). Teacher efficacy: its
meaning and measure. Review of Educational Research, 68, 202-248.
Tschannen-Moran, M., & Woolfolk Hoy, A.W. (2001). Teacher efficacy: Capturing an
elusive construct. Teaching and Teacher Education, 17(7), 783-805. 
Tschannen-Moran, M., & Woolfolk Hoy, A. (2007). The differential antecedents of self-
efficacy beliefs of novice and experienced teachers. Teaching and Teacher Education,
23, 944-956.
Wenner, G. (2001). Science and mathematics efficacy beliefs held by practicing and
prospective teachers: a five year perspective. Journal of Science Education and
Technology, 10, 181-187. 
Wheatley, K.F. (2002). The potential benefits of teacher efficacy doubts for educational
reform. Teaching and Teacher Education, 18, 5-22.
Woolfolk Hoy, A.E. (2000). Changes in teacher efficacy during the early years of teaching.
Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research
Association, New Orleans. 
Woolfolk Hoy, A., & Burke-Spero, R. (2005). Changes in teacher efficacy during the early
years of teaching: A Comparison of four measures. Teaching and Teacher Education,
21, 343-356.
Worthy,  J.  (2005).  It  didn’t  have  to  be  so  hard:  The  first  years  of  teaching  in  an  urban
school. International Journal of Qualitative Studies in Education, 18(3),379–398.
Allinder, R. M. (1994). The relationship between efficacy and the instructional practices of special education teachers and consultants. Teacher Education and Special Education, 17, 86-95.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.   
Caprara, G.V., Barbaranelli, C., Borgogni, L., & Steca, P. (2003). Efficacy beliefs as determinants of teachers’ job satisfaction. Journal of Educational Psychology, 95, 821-832.
Gibson,  S.,  &  Dembo,  M.  (1984).  Teacher  efficacy:  A  construct  validation.  Journal  of Educational Psychology, 76(4), 569-582.
Moore, W., & Esselman, M. (1992). Teacher efficacy, power, school climate and achievement: A desegregating district’s experience. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association, San Francisco. 
Ross, J.A. (1992). Teacher efficacy and the effects of coaching on student achievement. Canadian Journal of Education, 17(1), 51-65